ผู้ค้ำประกันมีสิทธิ์อะไรบ้าง หากถูกบังคับคดี? เวลามนุษย์เรามีปัญหาเรื่องเงินทองเดือดร้อนต้องใช้เงินจริงๆ ก็คงไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากการหยิบยืมจาก สถาบันการเงินบ้าง เพื่อนบ้าง ครอบครัว หรือการกูเงินนอกระบบ ถ้าหากเรากู้จากสถาบันการเงินหรือกู้เงินนอกระบบ ก็อาจจะไม่ให้กู้เพราะไม่มีอะไรเป็นหลักประกันได้ว่าคุณจะมีเงินมาคืนเขาก็ทองเรียกทรัพย์มาเป็นหลักประกันเพื่อความให้เกิดความมั่นใจว่าเราจะสามารชำระหนี้ให้เขาได้ แต่ถ้าหากท่านไม่มีทรัพย์หล่ะ จะต้องทำอย่างไร ก็ต้องหาผู้ค้ำประกันไม่ว่าจะเป็นเพื่อน พี่น้อง พ่อแม่หรือบุคคลอื่นๆ ในครอบครัว ค้ำประกันคือการใครคนหนึ่งทำสัญญากับเจ้าหนี้ว่าถ้าลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ผู้ค้ำประกันจะชำระหนี้นั้นแทนเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้เจ้าหนี้ก็ย่อมมีสิทธิรียกร้องหรือฟ้องให้ค้ำประกันรับผิดได้ ดังนั้นในฐานะผู้ค้ำประกันจะมีสิทธิ์ปกป้องตัวเองได้อย่างไรบ้าง วันนี้ ธรรมนิติ จะพาไปหาคำตอบกันได้เลยค่ะ การค้ำประกันคือ การค้ำประกันเป็นการทำสัญญา ซึ่งต้องมีบุคคลภายนอก หรือที่เรียกว่า ผู้ค้ำประกัน โดยต้องเข้ามาผูกพันทางกฎหมายต่อเจ้าหนี้ เพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้กรณีลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามสัญญา ในการทำสัญญาค้ำประกันนี้ จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใด พร้อมกับลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันไว้ด้วย มิฉะนั้นจะฟ้องบังคับคดีกันไม่ได้ สัญญาค้ำประกันจะต้องระบุหนี้หรือสัญญาค้ำประกันไว้โดยชัดแจ้ง และ ผู้ค้ำประกันย่อมรับผิดเฉพาะหนี้หรือสัญญาที่ระบุไว้เท่านั้น กรณีเมื่อลูกหนี้ผิดนัด เมื่อถึงกำหนดวันเวลาที่ต้องชำระหนี้ตามที่ได้ตกลงกับเจ้าหนี้แล้ว กฎหมายกำหนดให้เจ้าหนี้มีหนังสือบอกกล่าวไปยังผู้ค้ำประกันภายในหกสิบวัน นับแต่วันที่ลูกหนี้ผิดนัด ในระหว่างนี้ห้ามเจ้าหนี้เรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ก่อนที่หนังสือบอกกล่าวจะไปถึงผู้ค้ำประกัน …