PDPA คืออะไร และสำคัญอย่างไร
PDPA คืออะไร และสำคัญอย่างไร
PDPA ย่อมาจาก Personal Data Protection Act
ในปัจจุบันมนุษย์เราให้ความสำคัญกับข้อมูลส่วนบุคคล และความเป็นส่วนตัวกันมากขึ้นเลื่อยๆ แต่ว่าตั้งแต่มีโซเชียลมีเดียต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Line, Facebook, Instagram, twitter ที่ในปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น X, Tiktok และแอพพลิเคชั่นอื่นๆ ตัวท่านเองก็คงจะรู้สึกได้ว่าความเป็นส่วนตัวค่อยๆลดลงไป ท่านก็คงจะเห็นได้บ่อยๆในโซเชียลว่ามีการคอมเมนท์พาดพิง, การบูลลี่รูปร่างหน้าตา และอีกมากมายที่ล้ำเส้นความเป็นส่วนตัว
บริษัท ดี.บี.คอร์ปอร์เรชั่น จึงอยากจะชวนท่านมาทำความรู้จักกับ PDPA กฎหมายเกี่ยวกับสิทธิส่วนบุคคลที่ทุกท่านควรทราบและให้ความสำคัญ
PDPA คืออะไร
PDPA ย่อมาจาก Personal Data Protection Act
PDPA คือ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งเป็นพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลไม่ให้ถูกจัดเก็บ หรือนำไปใช้โดยไม่ได้แจ้งให้ทราบ หรือได้รับความยินยอมในฐานะเจ้าของข้อมูลก่อน โดยที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต้องตระหนักถึงความสำคัญของการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้มีความปลอดภัยมากขึ้น และหากนำข้อมูลส่วนบุคคลไปประมวลผลก่อนได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลอาจมีความผิดได้ โดยมีผลบังคับใช้วันที่ 1 มิถุนายน 2565
เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิในส่วนใดบ้าง
การให้สิทธิเจ้าของข้อมูลนับเป็นส่วนสำคัญของตัวพรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่มีสิทธิดังต่อไปนี้
– สิทธิในการแก้ไขข้อมูล
– สิทธิในการขอรับข้อมูล
– สิทธิในการที่จะได้รับแจ้ง
– สิทธิในการถอนความยินยอม
– สิทธิในการขอระงับการใช้ข้อมูล
– สิทธิในการให้โอนย้ายข้อมูลส่วนบุคคล
– สิทธิในการเข้าถึง ขอสำเนา หรือให้เปิดเผยถึงการได้มาของข้อมูลส่วนบุคคล
– สิทธิในการขอคัดค้านการเก็บรวบรวมใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
– สิทธิในการร้องเรียนกรณีที่ผู้ควบคุม หรือผู้ประมวลผลไม่ได้ปฏิบัติตามพรบ. นี้
– สิทธิในการไม่ตกอยู่ภายใต้การตัดสินใจอัตโนมัติเพียงอย่างเดียว
– สิทธิในการขอให้ลบ หรือทำลายข้อมูลส่วนบุคคลเมื่อข้อมูลส่วนบุคคลหมดความจำเป็นในการเก็บรักษาไว้ตามวัตถุประสงค์
– สิทธิในการร้องเรียน เจ้าของข้อมูลมีสิทธิร้องเรียนในกรณีผู้ควบคุม ผู้ประมวลผล รวมทั้งลูกจ้างหรือผู้รับจ้างของผู้คุม ผู้ประมวลผล ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย
พ.ร.บ. PDPA ได้กำหนดระยะในการทำตามคำร้องขอให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน
มี PDPA แล้ว ชีวิตดียังไง?
หลายคนอาจสงสัยว่า แล้วมันจะทำให้ชีวิตเราดีขึ้นอย่างไร จริง ๆ แล้วการมี พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล จะช่วยให้เจ้าของข้อมูลส่วนตัวรู้ และสามารถจัดการ ข้อมูลส่วนบุคคลของคุณได้มากขึ้น
ยกตัวอย่างง่าย ๆ ให้สมมุติว่า “ข้อมูลส่วนบุคคลของคุณเป็นรถยนต์” เวลาเพื่อนของคุณจะขอยืมรถ หรือถ้าจะเอารถไปที่ไหนจะต้องขออนุญาตกับคุณก่อน จะส่งให้ใครต่อก็ต้องบอกให้คุณรู้ และแน่นอนคุณมีสิทธิในการขอรถคืน หรือกำหนดเงื่อนไขในการใช้รถได้ตามข้อตกลงกับเพื่อนของคุณ ได้ทุกเมื่อ นอกจากจะสามารถจัดการข้อมูลส่วนบุคคลของคุณที่เพิ่มขึ้นแล้ว คุณจะมีความมั่นใจมากขึ้นว่า ข้อมูลของคุณจะปลอดภัย, ถูกนำไปใช้อย่างถูกต้อง และเป็นประโยชน์สูงสุดกับตัวคุณเอง
โทษของ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) สามารถแบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้
โทษทางแพ่ง
ค่าสินไหมทดแทนจากความเสียหายที่ได้รับจริง และศาลสั่งลงโทษเพิ่มขึ้นได้ไม่เกิน 2 เท่าของสินไหมทดแทน
คำนวณง่ายๆ ก็คือ ค่าปรับจริง + 2 เท่าของค่าปรับ = เงินค่าสินไหมทดแทนที่ต้องจ่าย
โทษทางอาญา
กฎหมาย PDPA กำหนดโทษอาญาไว้ 2 ลักษณะ คือ ปรับเงิน กับ จำคุก หรืออาจจะโดนทั้งคู่ ดังนี้ :
- เก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล เก็บข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหว ส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปยังต่างประเทศ โดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- เก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล เก็บข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหว ส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปยังต่างประเทศ โดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อแสวงหาประโยชน์ มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
โทษทางปกครอง
- เก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยปราศจากฐานทางกฎหมาย ปรับไม่เกิน 3,000,000 บาท
- เก็บรวบรวม ใช้ เปิดเผยหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหว โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปรับไม่เกิน 5,000,000 บาท
- ไม่ขอความยินยอมให้ถูกต้อง ไม่แจ้งรายละเอียดให้เจ้าของข้อมูลทราบ ไม่ให้เจ้าขอข้อมูลเข้าถึง- ตามสิทธิ ฯลฯ ปรับไม่เกิน 1,000,000 บาท
PDPA สำคัญอย่างไร ?
- สิทธิที่เพิ่มขึ้นของเจ้าของข้อมูล ทำให้ผู้ประกอบการขององค์กรและบริษัทต่าง ๆ ต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการเก็บรวบรวมและนำข้อมูลส่วนตัวของเจ้าของข้อมูลไม่ว่าจะเป็นลูกค้า พนักงานในองค์กร หรือบุคคลใด ๆ ที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามหลักปฏิบัติของ PDPA พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
- โดยหากคุณเป็นผู้ประกอบการ หรือเป็นตัวแทนองค์กรที่ดำเนินการเรื่อง PDPA วันนี้เราจะช่วยคุณเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงานเพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมาย PDPA กัน
สรุป
สิทธิในข้อมูลส่วนบุคคลเป็นเรื่องที่เราทุกคนต้องตระหนัก เพื่อประโยชน์สูงสุดและความปลอดภัยในข้อมูลของตัวคุณ การมี พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือ PDPA ทำให้หลายธุรกิจเริ่มให้ความสำคัญในสิทธิด้านข้อมูลส่วนตัวของผู้บริโภคมากขึ้น และเงินติดล้อก็เป็นหนึ่งในสถาบันการเงินที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก ๆ เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อผู้ใช้บริการ