dbcorp https://dbcorp.co.th/ dbcorp WordPress Theme Fri, 26 Apr 2024 04:04:54 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.2 https://dbcorp.co.th/wp-content/uploads/2023/04/cropped-logo-32x32.png dbcorp https://dbcorp.co.th/ 32 32 วีธีการทวงหนี้ของเรา https://dbcorp.co.th/%e0%b8%a7%e0%b8%b5%e0%b8%98%e0%b8%b5%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%97%e0%b8%a7%e0%b8%87%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b8%b5%e0%b9%89%e0%b8%82%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b9%80%e0%b8%a3%e0%b8%b2/ https://dbcorp.co.th/%e0%b8%a7%e0%b8%b5%e0%b8%98%e0%b8%b5%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%97%e0%b8%a7%e0%b8%87%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b8%b5%e0%b9%89%e0%b8%82%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b9%80%e0%b8%a3%e0%b8%b2/#respond Fri, 26 Apr 2024 04:04:54 +0000 https://dbcorp.co.th/?p=16274 วีธีการทวงหนี้ของเรา   เราจะบอกเลยว่าเราไม่เลือกวิธีฟ้องศาลเป็นทางเลือกแรก ถ้าฟ้องศาลเนี่ยเราจะมาเส้นทางนี้ทำไม ไปดูกฎหมายกัน ด้วยอำนาจแห่งมูลหนี้ เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิจะเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์) เราไม่ได้คุกคาม หรือข่มขู่ลูกหนี้ เราเป็นเพียงแค่พนักงานรับจ้างทวงหนี้ บริการของเราคือลงพื้นที่ เรียกลูกหนี้มาเจรจา แทนท่านเจ้าหนี้ว่าให้จ่ายหนี้ อย่าหนี ทุกอย่าง พูดคุยกันได้ครับ  หากเรียกแล้ว หรือ โทรแล้ว ลูกหนี้ไม่รับสาย  เราจะไม่โทรล่ะ  เพราะกฎหมายการควบคุมการทวงหนี้ มีใจความสำคัญ คือ การทวงหนี้วันธรรมดา โทรทวงได้เพียงแค่ 1 ครั้งก็คือ 8:00 น ถึง 20:00 น เสาร์อาทิตย์โทรได้ 8:00 น ถึง 18:00 น …

The post วีธีการทวงหนี้ของเรา appeared first on dbcorp.

]]>
วีธีการทวงหนี้ของเรา

 

เราจะบอกเลยว่าเราไม่เลือกวิธีฟ้องศาลเป็นทางเลือกแรก ถ้าฟ้องศาลเนี่ยเราจะมาเส้นทางนี้ทำไม ไปดูกฎหมายกัน ด้วยอำนาจแห่งมูลหนี้ เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิจะเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์)

เราไม่ได้คุกคาม หรือข่มขู่ลูกหนี้ เราเป็นเพียงแค่พนักงานรับจ้างทวงหนี้ บริการของเราคือลงพื้นที่ เรียกลูกหนี้มาเจรจา แทนท่านเจ้าหนี้ว่าให้จ่ายหนี้ อย่าหนี ทุกอย่าง พูดคุยกันได้ครับ  หากเรียกแล้ว หรือ โทรแล้ว ลูกหนี้ไม่รับสาย  เราจะไม่โทรล่ะ  เพราะกฎหมายการควบคุมการทวงหนี้ มีใจความสำคัญ คือ การทวงหนี้วันธรรมดา โทรทวงได้เพียงแค่ 1 ครั้งก็คือ 8:00 น ถึง 20:00 น เสาร์อาทิตย์โทรได้ 8:00 น ถึง 18:00 น ลูกหนี้ก็หลบไปเรื่อย ยิ่งเบอร์แปลกๆ หรือเทคโนโลยีสมัยนี้ แจ้งเตือนได้หมด

แต่เราเรียกตามกฎหมายโดยใช้วิธี่ติดตามล่ะ  หรือเรียกว่า การที่ทวงหนี้ต่อหน้า (ต้องยื่นเอกสารที่เกี่ยวข้องว่าได้รับมอบอำนาจ) ถ้าเราสืบรู้ว่าลูกหนี้มีตังค์  ไม่จ่าย เราจะตามลูกหนี้ไป จะแจ้งตำรวจก็ได้ครับ  จะแจ้งเจ้าหน้าที่ก็ได้ครับไม่เป็นไร กฎหมายให้นาจในติดตามเอาทรัพย์สินคืนอย่างที่บอกข้างต้น

 

เราจะตามคุณไป  กินข้าวร้านไหน  เราก็ไปกินข้าวร้านนั้น  ขับรถไปไหน ไปเที่ยวที่ไหน เราก็ไปเที่ยวที่เดียวกัน อยากกินข้าวแกง หมูแดง ผัดไทย ข้าวมันไก่  ก็อยากกิน ร้านเดียวกัน เที่ยวด้วยกัน และอื่นๆ จนกว่าลูกหนี้จะยอมพูดคุย

 

หากไม่คุยแต่ส่งตัวแทนมา ห้ามเอายอดหนี้ไปบอกคนภายนอกที่ไม่ใช่ครอบครัวลูกหนี้ ถ้าไปบอกกับคนข้างบ้านเป็นหนี้เท่านั้นเท่านี้คือผิดกฎหมายแล้ว แต่ถ้าเราไปบอกกับสามี ภรรยา พ่อ แม่ ลูกของลูกหนี้ สามารถบอกได้

 

ต้องมีคำตอบ ว่าตัดสินใจว่าจะจ่าย หากตกลงจ่าย

ก็ตอบมาว่าไหวเท่าไหร่ สมมุติกันเป็นหนี้ 1 ล้าน  ผ่อนได้เดือนละเท่าไหร่  50,000 บาท ทำสัญญากันเป็นหลักฐานให้เจ้าหนี้ไว้ภายใต้ความเห็นชอบร่วมกันไม่ตึงไม่หย่อนต่อกัน สัญญาใจ ไม่ฟ้องศาลให้มีประวัติ ขอให้ผ่อนตรงตามที่สัญญาก็พอ

 

หากไม่จ่าย ก็ไปทางเลือกอื่น

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

หากท่านเจ้าหนี้จ้างเราแล้ว แต่ทว่า เมื่อสอบสวน ลูกหนี้ ว่าไม่มีแม้จะกิน ไม่มีแม้กระทั่งหาเงินให้ลูกไปเรียน เราจะกลับมาบอกกับท่านเจ้าหนี้  ว่าอย่าเพิ่งเก็บเขาเลยเพราะว่าเขาก็ไม่มีจะกิน ก็รอให้เขามีก่อนเมื่อไหร่ที่เขามีเดี๋ยวเขาก็จ่ายเอง ถ้าเขาไม่จ่ายเราก็ค่อยลงพื้นที่ติดตามต่อ ให้แค่นั้นเอง

เจ้าหนี้สามารถติดตาม จากที่เราบันทึกภาพนิ่ง หรือ วีดีโอ จัดทำรายงานไว้ให้ เป็นหลักฐานการรับจ้างทวงหนี้

The post วีธีการทวงหนี้ของเรา appeared first on dbcorp.

]]>
https://dbcorp.co.th/%e0%b8%a7%e0%b8%b5%e0%b8%98%e0%b8%b5%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%97%e0%b8%a7%e0%b8%87%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b8%b5%e0%b9%89%e0%b8%82%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b9%80%e0%b8%a3%e0%b8%b2/feed/ 0
การอายัดเงินเดือนคืออะไร https://dbcorp.co.th/%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%ad%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b9%80%e0%b8%87%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%94%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b8%84%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%ad%e0%b8%b0/ https://dbcorp.co.th/%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%ad%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b9%80%e0%b8%87%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%94%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b8%84%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%ad%e0%b8%b0/#respond Thu, 01 Feb 2024 07:00:12 +0000 https://dbcorp.co.th/?p=16270 อายัดเงินเดือน คืออะไร ท่านอาจจะเคยได้ยินคำว่า “อายัดเงินเดือน” กันมาบ้าง ยกตัวอย่างเช่นหลายๆบทความที่ผ่านมาของเราก็คงสงสัยกันใช่ไหมคะว่าต้องทำอย่างไรและมีข้อจำกัดอย่างไรบ้าง ซึ่งการอายัดเงินเดือนนั้นเป็นหนึ่งในทางเลือกที่เจ้าหนี้หลายๆท่านใช้ในการเรียกเงินคืนจากลูกหนี้ มาดูกันดีกว่าค่ะว่า “การอายัดเงินเดือนคืออะไร” การอายัดเงินเดือน เมื่อศาลมีคำพิพากษาให้เจ้าหนี้ชนะคดี หากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษาภายใน 30 วัน เจ้าหนี้มีสิทธิอายัดสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ได้ โดยตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อออกหมายอายัดต่อไป การอายัดเงินเดือน โบนัส ค่าตอบแทนต่างๆ หากเจ้าหนี้รายแรกขออายัดเงินเดือนแล้ว เจ้าหนี้รายอื่นจะทำเรื่องขออายัดซ้ำไม่ได้ ต้องรอคิวให้รายแรกอายัดครบก่อน หรืออาจจะขอหารส่วนแบ่งเงินที่ถูกอายัดจากเจ้าหนี้รายแรกก็ได้ ถ้ารอก็จะรอได้ไม่เกิน 10 ปี หากเกิน 10 ปีก็จะหมดอายุความ หลักเกณฑ์ในการอายัดเงินเดือน เงินเดือน ค้าจ้าง บำเหน็จ บำนาญ ของ “ข้าราชการ” ไม่สามารอายัดได้ ลูกหนี้ที่เป็นพนักงานสามรถยาอัดได้ แต่ต้องมีเงินเดือนมากกว่า 20,000 …

The post การอายัดเงินเดือนคืออะไร appeared first on dbcorp.

]]>
อายัดเงินเดือน คืออะไร

ท่านอาจจะเคยได้ยินคำว่า “อายัดเงินเดือน” กันมาบ้าง ยกตัวอย่างเช่นหลายๆบทความที่ผ่านมาของเราก็คงสงสัยกันใช่ไหมคะว่าต้องทำอย่างไรและมีข้อจำกัดอย่างไรบ้าง ซึ่งการอายัดเงินเดือนนั้นเป็นหนึ่งในทางเลือกที่เจ้าหนี้หลายๆท่านใช้ในการเรียกเงินคืนจากลูกหนี้ มาดูกันดีกว่าค่ะว่า “การอายัดเงินเดือนคืออะไร”

การอายัดเงินเดือน

เมื่อศาลมีคำพิพากษาให้เจ้าหนี้ชนะคดี หากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษาภายใน 30 วัน เจ้าหนี้มีสิทธิอายัดสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ได้ โดยตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อออกหมายอายัดต่อไป

การอายัดเงินเดือน โบนัส ค่าตอบแทนต่างๆ หากเจ้าหนี้รายแรกขออายัดเงินเดือนแล้ว เจ้าหนี้รายอื่นจะทำเรื่องขออายัดซ้ำไม่ได้ ต้องรอคิวให้รายแรกอายัดครบก่อน หรืออาจจะขอหารส่วนแบ่งเงินที่ถูกอายัดจากเจ้าหนี้รายแรกก็ได้ ถ้ารอก็จะรอได้ไม่เกิน 10 ปี หากเกิน 10 ปีก็จะหมดอายุความ

หลักเกณฑ์ในการอายัดเงินเดือน

  • เงินเดือน ค้าจ้าง บำเหน็จ บำนาญ ของ “ข้าราชการ” ไม่สามารอายัดได้
  • ลูกหนี้ที่เป็นพนักงานสามรถยาอัดได้ แต่ต้องมีเงินเดือนมากกว่า 20,000 บาท จะสามารถยึดได้ทั้งหมดแต่ต้องเหลือไม่น้อยกว่า 20,000 บาท
  • เงินโบนัส อายัดได้ไม่เกิน 50%
  • เบี้ยขยัน, เงินโอที อายัดได้ไม่เกิน 30%
  • เงินตอบแทนกรณีออกจากงาน บำเหน็จ ค่าชดเชย อายัดได้ แต่จำนวนต้องไม่เกิน 300,000 บาท หรือตามจำนวนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นสมควร
  • บัญชีเงินฝากธนาคาร สามารถอายัดได้ทั้งหมด แต่ก็ต้องไม่เกินจำนวนหนี้ตามหมายบังคับคดี
  • หุ้น สามารถอายัดได้ โดยสามารถยึดใบหุ้นเพื่อขายทอดตลาดได้ หรือถ้ามีเงินปันผล ก็จะทำเรื่องอายัดเงินปันผลได้
  • ค่าเช่ารายเดือน เจ้าพนักงานบังคับคดีสามารถอายัดเงินค่าเช่าได้

 

เพียงเท่านี้หลายๆท่าน ก็คงจะหายสงสัยแล้วใช่ไหมคะว่าการอายัดเงินเดือนคืออะไร ถ้าหากท่านสนใจความรู้ดีๆแบบนี้ สามารถติดตามได้ที่

Facebook : https://www.facebook.com/dbcorpthailand

Facebook : https://www.facebook.com/profile.php?id=100094929334117

Youtibe : https://www.youtube.com/@dbcorporation635

The post การอายัดเงินเดือนคืออะไร appeared first on dbcorp.

]]>
https://dbcorp.co.th/%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%ad%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b9%80%e0%b8%87%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%94%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b8%84%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%ad%e0%b8%b0/feed/ 0
หนี้นอกระบบ ไม่มีสัญญาสามารถฟ้องร้องได้ไหม? https://dbcorp.co.th/%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b8%b5%e0%b9%89%e0%b8%99%e0%b8%ad%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%9a%e0%b8%9a-%e0%b9%84%e0%b8%a1%e0%b9%88%e0%b8%a1%e0%b8%b5%e0%b8%aa%e0%b8%b1%e0%b8%8d%e0%b8%8d%e0%b8%b2%e0%b8%aa/ https://dbcorp.co.th/%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b8%b5%e0%b9%89%e0%b8%99%e0%b8%ad%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%9a%e0%b8%9a-%e0%b9%84%e0%b8%a1%e0%b9%88%e0%b8%a1%e0%b8%b5%e0%b8%aa%e0%b8%b1%e0%b8%8d%e0%b8%8d%e0%b8%b2%e0%b8%aa/#respond Wed, 24 Jan 2024 12:26:43 +0000 https://dbcorp.co.th/?p=16266 หนี้นอกระบบ ไม่มีสัญญาสามารถฟ้องร้องได้ไหม?           เมื่อประสบปัญหาด้านการเงิน การกู้เงินก็คงจะเป็นทางออกที่หลายๆท่านเลือกที่จะใช้เป็นทางเลือกแรกๆ แต่จะไปกู้จากธนาคารก็เครดิตไม่ดีพอที่จะกู้ ก็เลยต้องยอมกู้เงินดิกระบบที่ดอกเบี้ยแสนแพงทำให้ในบางงวดอาจไม่สามารถจ่ายไหว แล้วถ้าเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นจริงๆ จะโดนเจ้าหนี้ฟ้องได้หรือไม่?   หนี้นอกระบบ คืออะไร? มีกี่ประเภท?             เงินกู้ที่มีลักษณะตรงข้ามกับเงินกู้ในระบบทุกอย่าง กล่าวคือ เป็นการกู้เงินที่ไม่มีการรับรองจากกฎหมาย มีลักษณะเป็นการยืมเงินปากเปล่า หรือมีการบันทึกข้อความ สัญญาไว้เป็นหลักฐานก็ได้ ตัวอย่างของเงินกู้นอกระบบ เช่น พวกเงินด่วนทั้งหลายที่มีการแปะประกาศตามรั้ว ตามเสาไฟฟ้า หรือมีการบอกต่อกันแบบปากต่อปาก หรือเป็นการปล่อยกู้กันเองในกลุ่มคนรู้จัก  รวมถึงสื่อตามอินเทอร์เน็ตต่างๆ ที่ไม่ได้มีการรับรองตามกฎหมาย หนี้นอกระบบแบบรายวัน : เป็นหนี้ที่ให้ผู้กู้ยืมเงินจำนวนหนึ่งโดยคิดดอกเบี้ยรายวัน อัตราดอกเบี้ยมักจะสูงมาก เช่น ดอกเบี้ย 30% ต่อเดือน หนี้นอกระบบแบบรายเดือน : เป็นหนี้ที่ให้ผู้กู้ยืมเงินจำนวนหนึ่งโดยคิดดอกเบี้ยรายเดือน อัตราดอกเบี้ยมักจะต่ำกว่าหนี้นอกระบบแบบรายวัน …

The post หนี้นอกระบบ ไม่มีสัญญาสามารถฟ้องร้องได้ไหม? appeared first on dbcorp.

]]>
หนี้นอกระบบ ไม่มีสัญญาสามารถฟ้องร้องได้ไหม?

          เมื่อประสบปัญหาด้านการเงิน การกู้เงินก็คงจะเป็นทางออกที่หลายๆท่านเลือกที่จะใช้เป็นทางเลือกแรกๆ แต่จะไปกู้จากธนาคารก็เครดิตไม่ดีพอที่จะกู้ ก็เลยต้องยอมกู้เงินดิกระบบที่ดอกเบี้ยแสนแพงทำให้ในบางงวดอาจไม่สามารถจ่ายไหว แล้วถ้าเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นจริงๆ จะโดนเจ้าหนี้ฟ้องได้หรือไม่?

 

หนี้นอกระบบ คืออะไร? มีกี่ประเภท?

            เงินกู้ที่มีลักษณะตรงข้ามกับเงินกู้ในระบบทุกอย่าง กล่าวคือ เป็นการกู้เงินที่ไม่มีการรับรองจากกฎหมาย มีลักษณะเป็นการยืมเงินปากเปล่า หรือมีการบันทึกข้อความ สัญญาไว้เป็นหลักฐานก็ได้ ตัวอย่างของเงินกู้นอกระบบ เช่น พวกเงินด่วนทั้งหลายที่มีการแปะประกาศตามรั้ว ตามเสาไฟฟ้า หรือมีการบอกต่อกันแบบปากต่อปาก หรือเป็นการปล่อยกู้กันเองในกลุ่มคนรู้จัก  รวมถึงสื่อตามอินเทอร์เน็ตต่างๆ ที่ไม่ได้มีการรับรองตามกฎหมาย

  • หนี้นอกระบบแบบรายวัน : เป็นหนี้ที่ให้ผู้กู้ยืมเงินจำนวนหนึ่งโดยคิดดอกเบี้ยรายวัน อัตราดอกเบี้ยมักจะสูงมาก เช่น ดอกเบี้ย 30% ต่อเดือน
  • หนี้นอกระบบแบบรายเดือน : เป็นหนี้ที่ให้ผู้กู้ยืมเงินจำนวนหนึ่งโดยคิดดอกเบี้ยรายเดือน อัตราดอกเบี้ยมักจะต่ำกว่าหนี้นอกระบบแบบรายวัน แต่ก็ยังถือว่าสูง
  • หนี้นอกระบบแบบแชร์ลูกโซ่ : เป็นหนี้ที่ให้ผู้กู้ยืมเงินจำนวนหนึ่งโดยต้องหาผู้กู้รายใหม่มาแทนที่ เมื่อผู้กู้รายใหม่ไม่สามารถชำระหนี้ได้ หนี้ก็จะตกอยู่ที่ผู้กู้รายแรก

จะมีผลเสียอย่างไรบ้าง?

ในกรณีที่คุณไม่สามารถจ่ายหนี้นอกระบบได้จนโดนฟ้องร้องนั้น จะส่งผลเสียอย่างไรบ้าง

ประการแรกเลยก็คือ หากอยู่ในขั้นตอนฟ้องร้อง เจ้าหนี้และลูกหนี้ยังสามารถตกลงและทำการประนีประนอมกันได้ในเบื้องต้น จริงๆ แล้วเจ้าหนี้หลายๆ คนก็ไม่ได้อยากใจยักษ์ใจมารขนาดต้องมาฟ้องร้องลูกหนี้หรอกครับ เขาเพียงต้องการเงินคืนเท่านั้นเอง

แต่ถ้าหากว่าลูกหนี้ไม่สามารถประนีประนอม หรือเจรจากับเจ้าหนี้ได้ในชั้นศาล และศาลได้มีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ชำระหนี้แต่ลูกหนี้ไม่ชำระ สิ่งที่ลูกหนี้อาจจะต้องโดนก็คือการถูกยึด หรือถูกอายัดทรัพย์

 

ทรัพย์สินที่สามารถถูกยึดหรือถูกอายัดยึดได้

  • ของมีค่า เครื่องประดับทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น เพชร พลอย นาฬิกาและของสะสมที่มีมูลค่า
  • บ้าน ที่ดิน และถึงแม้ว่าจะยังติดจำนองอยู่ก็สามารถที่จะยึดได้เช่นกัน
  • รถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของลูกหนี้ และไม่ได้เป็นเครื่องมือในการประกอบอาชีพ
  • เงินในบัญชีเงินฝาก หรือเงินปันผลจากการลงทุนๆ
  • ทรัพย์สินที่เป็นการลงทุน อาทิ หุ้น ทองคำ เป็นต้น

ทรัพย์สินที่ไม่สามารถถูกยึดหรือถูกอายัดได้

  • ข้าวของเครื่องใช้ส่วนตัวที่มีมูลค่าไม่เกิน 20,000 บาท เช่นโต๊ะ เก้าอี้ เสื้อผ้า
  • เครื่องมือที่ใช้ในการประกอบอาชีพของลูกหนี้ที่มีมูลค่าไม่เกิน 100,000 บาท (หากเกินสามารถยึดได้)
  • เงินเดือน หรือค่าจ้างของผู้ที่ทำงานราชการ
  • เงินเบี้ยเลี้ยงชีพ เช่น เบี้ยเลี้ยงผู้สูงอายุ เบี้ยเลี้ยงคนพิการ

สามารอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการยึดหรืออายัดได้ที่ : dbcorp.co.th/เจ้าหนี้สามารถยึดอะไร/

 

หนี้นอกระบบ ฟ้องร้องได้มั้ย แจ้งความได้หรือเปล่า?

คำตอบของคำถามก็คือเจ้าหนี้ไม่สามารถที่จะฟ้องหรือแจ้งความดำเนินคดีได้ค่ะ เนื่องจากเป็นเพียงคดีแพ่ง ไม่ใช่ความผิดคดีอาญา แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่โดนอะไรเลยสะที่เดียวนะคะ เพราะลูกหนี้จาถูกดำเนินคดีอาญาฐานฉ้อโกงหรือยักยอกทรัพย์ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หากเจ้าหนี้สามารถพิสูจน์ได้ว่ามีหลักฐานการกู้ยืมกันจริง เช่น สัญญาการกู้ยืมเงิน

แต่ถ้าหากไม่มีสัญญากู้ยืมเงินล่ะ สามารใช้อย่างอื่นในการฟ้องร้องดำเนินคดีได้ค่ะ

ตัวอย่างเช่น หลักฐานการโอนเงิน (สลิปการโอนจากแอพพลิเคชั่นธนาคารต่างๆ), หลักฐานการสนทนาขอยืมเงิน เป็นต้น แต่ก็อาจจะมีสิทธิที่จะแพ้คดีได้เนื่องจากหลักฐานไม่เพียงพอ

 

*ถ้าหากจำเป็นต้องใช้เงินจริงๆ เราแนะนำให้กู้เงินในระบบ ด้วยความปรารถนาดีจาก บริษัท ดี.บี.คอร์ปอร์เรชั่น จำกัด

The post หนี้นอกระบบ ไม่มีสัญญาสามารถฟ้องร้องได้ไหม? appeared first on dbcorp.

]]>
https://dbcorp.co.th/%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b8%b5%e0%b9%89%e0%b8%99%e0%b8%ad%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%9a%e0%b8%9a-%e0%b9%84%e0%b8%a1%e0%b9%88%e0%b8%a1%e0%b8%b5%e0%b8%aa%e0%b8%b1%e0%b8%8d%e0%b8%8d%e0%b8%b2%e0%b8%aa/feed/ 0
สิ่งที่ลูกหนี้ต้องรู้! ก่อนตกลงทำ ‘สัญญากู้ยืมเงิน’ https://dbcorp.co.th/%e0%b8%aa%e0%b8%b4%e0%b9%88%e0%b8%87%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b8%a5%e0%b8%b9%e0%b8%81%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b8%b5%e0%b9%89%e0%b8%95%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%a3%e0%b8%b9%e0%b9%89-%e0%b8%81/ https://dbcorp.co.th/%e0%b8%aa%e0%b8%b4%e0%b9%88%e0%b8%87%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b8%a5%e0%b8%b9%e0%b8%81%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b8%b5%e0%b9%89%e0%b8%95%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%a3%e0%b8%b9%e0%b9%89-%e0%b8%81/#respond Fri, 19 Jan 2024 02:42:35 +0000 https://dbcorp.co.th/?p=16262 สิ่งที่ลูกหนี้ต้องรู้! ก่อนตกลงทำ ‘สัญญากู้ยืมเงิน’           หลายๆท่านคงจะเคยเจอปัญหาด้านการเงินยิ่งเป็นยุคสมัยนี้ที่ค่าใช้จ่ายต่างๆ มูลค่าค่อนข้างสูง บางท่านก็แก้ปัญหาด้วยการหยิบยืมจากเพื่อนพี่น้อง หรือสถาบันการเงินต่างๆ แต่การกู้เงินไม่ใช่แค่การได้เงินมาแล้วจ่ายคืน ไม่ใช่เพียงได้เงินมาแล้วจ่ายคืน เพราะยังมีรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ที่ผู้กู้ควรรู้ก่อนทำการกู้ยืม แล้วรายละเอียดเหล่านั้น มีอะไรบ้าง ไปดูกันค่ะ   กฎหมายการกู้ยืมเงิน กู้ยืมเงินเกิน 2,000 บาทขึ้นไป ต้องมีสัญญาการกู้ยืมเงินเป็นลายลักษณ์อักษร และต้องมีลายเซ็นผู้กู้ในสัญญา หากไม่มีหลักฐานหรือสัญญา จะไม่สามารถฟ้องร้องบังคับคดีได้ แม้ว่าหนี้นั้นจะชอบด้วยกฎหมายก็ตาม อัตราดอกเบี้ยการกู้ยืมห้ามเกิน 15% ต่อปี ถ้าหากกำหนดอัตราดอกเบี้ยเกิน ระวังโทษ จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ อายุความของคดีกู้ยืมเงิน หากมีการผิดสัญญาชำระเงิน …

The post สิ่งที่ลูกหนี้ต้องรู้! ก่อนตกลงทำ ‘สัญญากู้ยืมเงิน’ appeared first on dbcorp.

]]>
สิ่งที่ลูกหนี้ต้องรู้! ก่อนตกลงทำ ‘สัญญากู้ยืมเงิน’

          หลายๆท่านคงจะเคยเจอปัญหาด้านการเงินยิ่งเป็นยุคสมัยนี้ที่ค่าใช้จ่ายต่างๆ มูลค่าค่อนข้างสูง บางท่านก็แก้ปัญหาด้วยการหยิบยืมจากเพื่อนพี่น้อง หรือสถาบันการเงินต่างๆ แต่การกู้เงินไม่ใช่แค่การได้เงินมาแล้วจ่ายคืน ไม่ใช่เพียงได้เงินมาแล้วจ่ายคืน เพราะยังมีรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ที่ผู้กู้ควรรู้ก่อนทำการกู้ยืม แล้วรายละเอียดเหล่านั้น มีอะไรบ้าง ไปดูกันค่ะ

 

กฎหมายการกู้ยืมเงิน

  • กู้ยืมเงินเกิน 2,000 บาทขึ้นไป ต้องมีสัญญาการกู้ยืมเงินเป็นลายลักษณ์อักษร และต้องมีลายเซ็นผู้กู้ในสัญญา หากไม่มีหลักฐานหรือสัญญา จะไม่สามารถฟ้องร้องบังคับคดีได้ แม้ว่าหนี้นั้นจะชอบด้วยกฎหมายก็ตาม
  • อัตราดอกเบี้ยการกู้ยืมห้ามเกิน 15% ต่อปี ถ้าหากกำหนดอัตราดอกเบี้ยเกิน ระวังโทษ จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • อายุความของคดีกู้ยืมเงิน หากมีการผิดสัญญาชำระเงิน ต้องฟ้องภายในระยะเวลา 10 ปี แต่ถ้ามีข้อตกลงชำระผ่อนทุนคืนเป็นงวด ๆ มีอายุความ 5 ปี (ผ่อนลดต้นและดอกเบี้ย)

สิ่งที่ต้องมีอยู่ในสัญญากู้ยืมเงิน

สัญญากู้ยืมเงินหรือหลักฐานการกู้ยืมจะอยู่ในรูปของหนังสือ จดหมาย หรือเอกสารใดๆ ที่เขียนขึ้นเอง หรือจะอยู่ในรูปของแบบฟอร์มทางการก็้ได้ แต่จำเป็นต้องมีองค์ประกอบในสัญญา ดังนี้

  • วันที่ทำสัญญากู้เงิน
  • ชื่อผู้กู้, ชื่อผู้ให้กู้
  • จำนวนเงินที่กู้
  • กำหนดการชำระคืน
  • ดอกเบี้ยต่อเดือน/ต่อปี (ถ้ามี)
  • ลายเซ็นต์ผู้กู้
  • ลายเซ็นต์ผู้ให้กู้ (มีหรือไม่มีก็ได้)

 

วิธีทำสัญญากู้เงิน

  • ประกันด้วยตัวบุคคล

คือ มีผู้ค้ำประกัน การค้ำประกันคือการที่คนอื่นที่ไม่ใช่ผู้กู้ยอมเอาตนเข้าประกันหนี้เงินกู้ หากลูกหนี้ไม่ยอมชำระหนี้ผู้ค้ำประกันจะยอมชำระหนี้แทน ผู้ให้กู้ก็สามารถเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้ การทำสัญญาค้ำประกันนั้นก็ง่ายๆ แค่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันไว้ก็เพียงพอ

  • ประกันด้วยทรัพย์

คือ จำนอง คือการประกันด้วยทรัพย์สินไม่ว่าทรัพย์สินของผู้จำนองหรือทรัพย์สินของผู้อื่น หากลูกหนี้ไม่ยอมชำระหนี้ก็สามารถนำทรัพย์จำนองนั้นไปขายทอดตลาดเพื่อบังคับจำนองเอาเงินมาชำระหนี้กู้ยืมเงินได้ สำหรับสัญญาจำนองนั้นต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

  • เมื่อครบกำหนดคืนเงินแล้วผู้กู้ไม่ยอมคืนเงินจะทำอย่างไร

เมื่อผู้กู้ไม่ยอมคืนเงินตามที่กำหนดไว้ผู้ให้กู้สามารถทวงถามได้โดยการบอกกล่าวทวงถาม (โดยทำเป็นหนังสือบอกกล่าวทวงถาม หรือตามภาษาที่ทนายเรียกกันติดปากว่า โนติส (Notice)) ให้ผู้กู้คืนเงินโดยการทำหนังสือบอกกล่าวทวงถามกำหนดระยะเวลาพอสมควรให้ผู้กู้คืนเงิน เช่น ระยะเวลา 15วัน , 30 วัน หรือ 1 เดือน หากผู้กู้ไม่ยอมคืนย่อมถือว่าผิดนัดสามารถฟ้องคดีต่อเพื่อให้ศาลบังคับตามสัญญาต่อไป

 

ข้อควรระวังเกี่ยวกับการกู้ยืมเงิน

  • ตรวจสอบจำนวนเงิน, อัตราดอกเบี้ย และทำความเข้าใจเนื้อหาในสัญญาก่อนเซ็นสัญญาทุกครั้ง
  • ห้ามลงลายมือชื่อในกระดาษเปล่าเด็ดขาด หรือสัญญาที่มีการเว้นเว้นช่องว่างผิดปกติ
  • ไม่ควรนำโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับการทำประโยชน์ในที่ดิน ไปให้เจ้าหนี้ยึดถือไว้เป็นหลักประกันการกู้ยืมเงิน
  • สัญญาต้องทำอย่างน้อย 2 ฉบับ โดยให้ผู้กู้ยืมถือไว้ด้วย 1 ฉบับ
  • ในสัญญาควรมีลายเซ็นพยานฝ่ายผู้กู้ยืมอย่างน้อย 1 คน
  • การชำระหนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ต้องขอรับใบเสร็จรับเงินหรือหลักฐานการรับเงินซึ่งมีลายมือชื่อผู้ให้กู้ยืมลงกำกับด้วยทุกครั้ง เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันว่าได้ชำระหนี้แล้ว
  • เมื่อชำระหนี้ทั้งหมดควรขอสัญญากู้คืนจากผู้ให้กู้ยืม

The post สิ่งที่ลูกหนี้ต้องรู้! ก่อนตกลงทำ ‘สัญญากู้ยืมเงิน’ appeared first on dbcorp.

]]>
https://dbcorp.co.th/%e0%b8%aa%e0%b8%b4%e0%b9%88%e0%b8%87%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b8%a5%e0%b8%b9%e0%b8%81%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b8%b5%e0%b9%89%e0%b8%95%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%a3%e0%b8%b9%e0%b9%89-%e0%b8%81/feed/ 0
ค้างค่างวดรถได้นานเท่าไหร่? จ่ายไม่ทันควรทำอย่างไร? https://dbcorp.co.th/%e0%b8%84%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%84%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%a7%e0%b8%94%e0%b8%a3%e0%b8%96%e0%b9%84%e0%b8%94%e0%b9%89%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%97%e0%b9%88%e0%b8%b2/ https://dbcorp.co.th/%e0%b8%84%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%84%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%a7%e0%b8%94%e0%b8%a3%e0%b8%96%e0%b9%84%e0%b8%94%e0%b9%89%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%97%e0%b9%88%e0%b8%b2/#respond Thu, 11 Jan 2024 06:05:36 +0000 https://dbcorp.co.th/?p=16245 ค้างค่างวดรถได้นานเท่าไหร่? จ่ายไม่ทันควรทำอย่างไร? เรื่องเงินไม่พอใช้ ค่าใช้จ่ายต่างๆที่เข้ามาจนการเงินของเราถึงขั้นสดุด ทำให้เกิดการค้างชำระค่าใช้จ่ายบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นค่าบ้าน ค่าไฟ ค่าน้ำ ค่าบัตรเครดิต หรือแม้แต่ ค่างวดรถ หลายๆท่านก็คงจะเข้าใจว่าถ้าหากเราค้างชำระช้ากว่าที่กำหนดท่านอาจจะโดนบริษัทติดต่อทวงถามหนี้ ซึ่งท่านสามารถผิดนัดชำระได้นานเท่าไหร่สามารถหาคำตอบได้ในบทความนี้เลยค่ะ ค้างค่างวดรถ นานเท่าไรถึงจะโดนยึดรถ การค้างค่างวดรถ กี่เดือน ถึงจะโดนยึด คำตอบก็คือ โดยทั่วไปแล้วเราจะต้องค้างค่างวดรถติดต่อกันเป็นเวลา 3 เดือน จากนั้นเค้าก็จะติดตามถามทวงอีก 30 วัน หากเกินจากนี้แล้วไม่ได้ไปชำระเงิน เราก็จะถูกยึดรถโดยปริยาย เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญที่คนที่มายึดมักจะไม่มาบอกเรา แต่หากของใครค้างนานกว่านี้แล้วไม่มีการแจ้งมาว่าจะยึดละก็ อย่าเพิ่งคิดว่าตัวเองโชคดีไป ขอให้เตรียมตัวไว้ว่า เค้าอาจจะมาแบบกองโจร เจอแล้วยึดเลย หมดสิทธิ์ต่อรองทั้งนั้น แต่ถ้ายังพอไหวในชำระค่างวดได้ในช่วง 1-2 งวดที่ขาดส่ง ให้พยายามชำระค่างวดเพื่อไม่ให้ค้างติดกัน 3 เดือน …

The post ค้างค่างวดรถได้นานเท่าไหร่? จ่ายไม่ทันควรทำอย่างไร? appeared first on dbcorp.

]]>
ค้างค่างวดรถได้นานเท่าไหร่? จ่ายไม่ทันควรทำอย่างไร?

เรื่องเงินไม่พอใช้ ค่าใช้จ่ายต่างๆที่เข้ามาจนการเงินของเราถึงขั้นสดุด ทำให้เกิดการค้างชำระค่าใช้จ่ายบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นค่าบ้าน ค่าไฟ ค่าน้ำ ค่าบัตรเครดิต หรือแม้แต่ ค่างวดรถ หลายๆท่านก็คงจะเข้าใจว่าถ้าหากเราค้างชำระช้ากว่าที่กำหนดท่านอาจจะโดนบริษัทติดต่อทวงถามหนี้ ซึ่งท่านสามารถผิดนัดชำระได้นานเท่าไหร่สามารถหาคำตอบได้ในบทความนี้เลยค่ะ

ค้างค่างวดรถ นานเท่าไรถึงจะโดนยึดรถ

การค้างค่างวดรถ กี่เดือน ถึงจะโดนยึด คำตอบก็คือ โดยทั่วไปแล้วเราจะต้องค้างค่างวดรถติดต่อกันเป็นเวลา 3 เดือน จากนั้นเค้าก็จะติดตามถามทวงอีก 30 วัน หากเกินจากนี้แล้วไม่ได้ไปชำระเงิน เราก็จะถูกยึดรถโดยปริยาย เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญที่คนที่มายึดมักจะไม่มาบอกเรา แต่หากของใครค้างนานกว่านี้แล้วไม่มีการแจ้งมาว่าจะยึดละก็ อย่าเพิ่งคิดว่าตัวเองโชคดีไป ขอให้เตรียมตัวไว้ว่า เค้าอาจจะมาแบบกองโจร เจอแล้วยึดเลย หมดสิทธิ์ต่อรองทั้งนั้น แต่ถ้ายังพอไหวในชำระค่างวดได้ในช่วง 1-2 งวดที่ขาดส่ง ให้พยายามชำระค่างวดเพื่อไม่ให้ค้างติดกัน 3 เดือน เพื่อไม่เปิดทางให้ไฟแนนซ์มายึดรถ

ในกรณีที่ผ่อนชำระไม่ไหว

– เจรจาขอผ่อนผัน แนะนำว่า ควรเข้าไปเจรจากับไฟแนนซ์เพื่อทำการผ่อนผัน ขอผ่อนแต่ดอกเบี้ยไปก่อน เงินต้นยังไม่ถูกหัก เผื่ออนาคตคุณจะสามารถหาเงินมาผ่อนชำระหนี้ได้ ในรายละเอียดอยู่ที่การเจรจากับไฟแนนซ์ว่าเงื่อนไขเป็นอย่างไร

– การรีไฟแนนซ์ คือการกู้เงินก้อนใหม่มาปิดหนี้ก้อนเดิม เรียกได้ว่าเป็นการเป็นหนี้ที่ได้สิทธิประโยชน์ใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นจากหนี้ก้อนเก่า เมื่อผ่อนรถยนต์ไม่ไหว แต่พร้อมสู้ต่อไปให้รถยนต์ยังคงอยู่กับเรา การรีไฟแนนซ์เลยเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในบรรดาตัวเลือกทั้งหมด ซึ่งสิทธิประโยชน์จากหนี้ก้อนใหม่ที่คุณจะได้ คือ

  • ยืดระยะเวลาในการผ่อนนานขึ้นไป
  • ได้ดอกเบี้ยในการผ่อนที่ถูกลงกว่ายอดหนี้อันเก่า
  • ผ่อนต่อเดือนในจำนวนเงินที่น้อยลง
  • มีเงินก้อนจากส่วนต่างที่เหลือมาหมุนเวียนให้เกิดสภาพคล่องทางการเงิน

 

คำถามที่หลายๆคนนั้นเป๋นกังวล ‘ถ้าไม่มีเงินจ่ายไฟแนนซ์จะติดคุกหรือไม่’ คำตอบคือ “ไม่” เพราะเป็นคดีแพ่งไม่ใช่คดีอาญา และที่สำคัญ การเป็นหนี้ไฟแนนซ์ ไม่ต้องลาออกจากงาน เพราะไม่มีผลกระทบต่อหน้าที่การงาน การเป็นหนี้สินถือเป็นเรื่องส่วนตัว

The post ค้างค่างวดรถได้นานเท่าไหร่? จ่ายไม่ทันควรทำอย่างไร? appeared first on dbcorp.

]]>
https://dbcorp.co.th/%e0%b8%84%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%84%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%a7%e0%b8%94%e0%b8%a3%e0%b8%96%e0%b9%84%e0%b8%94%e0%b9%89%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%97%e0%b9%88%e0%b8%b2/feed/ 0
ทวงถามหนี้อย่างไรไม่ผิดกฎหมาย? https://dbcorp.co.th/%e0%b8%97%e0%b8%a7%e0%b8%87%e0%b8%96%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b8%b5%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%a2%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b9%84%e0%b8%a3%e0%b9%84%e0%b8%a1%e0%b9%88%e0%b8%9c%e0%b8%b4/ https://dbcorp.co.th/%e0%b8%97%e0%b8%a7%e0%b8%87%e0%b8%96%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b8%b5%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%a2%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b9%84%e0%b8%a3%e0%b9%84%e0%b8%a1%e0%b9%88%e0%b8%9c%e0%b8%b4/#respond Fri, 05 Jan 2024 04:09:55 +0000 https://dbcorp.co.th/?p=16242 ทวงถามหนี้อย่างไรไม่ผิดกฎหมาย?           ใครที่เคยเป็นเจ้าหนี้ก็คงเข้าใจความรู้สึกที่ต้องมาทวงหนี้กันใช่มั้ยคะ บางทีก็ไม่ได้อยากทวงบ่อยๆ แต่ลูกหนี้ไม่ยอมคืน ก็ไม่รู้ควรต้องทำอย่างไร ผู้ทวงถามหนี้ คือ  เจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้ให้สินเชื่อ ผู้ประกอบธุรกิจตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค ผู้จัดให้มีการเล่นการพนันเป็นปกติธุระตามกฎหมายว่าด้วยการพนัน และเจ้าหนี้อื่นๆ ไม่ว่าหนี้ดังกล่าวจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ก็ตาม ธุรกิจทวงถามหนี้ คือ ผู้ประกอบธุรกิจรับจ้างทวงหนี้ ซึ่งต้องได้รับการจดทะเบียนทวงถามหนี้ต่อนายทะเบียน กรณีผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้เป็นทนายความ ให้จดทะเบียนกับสภาทนายความ ผู้ฝ่าฝืนไม่ไปจดทะเบียนมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท ใครมีสิทธิทวงหนี้ ? คือ เจ้าหนี้โดยตรง อาจเป็นสถาบันการเงิน ผู้ให้บริการสินเชื่อ/บัตรเครดิต/เช่าซื้อ ซึ่งครอบคลุมเจ้าหนี้นอกระบบ และเจ้าหนี้ในกิจกรรมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วย (เช่น หนี้การพนัน) รวมถึงผู้รับมอบอำนาจจากเจ้าหนี้ตามกฎหมาย ผู้รับมอบอำนาจช่วง (ผู้ได้รับมอบอำนาจ จากผู้รับมอบอำนาจอีกทอดหนึ่ง) ผู้ประกอบธุรกิจทวงหนี้ …

The post ทวงถามหนี้อย่างไรไม่ผิดกฎหมาย? appeared first on dbcorp.

]]>
ทวงถามหนี้อย่างไรไม่ผิดกฎหมาย?

          ใครที่เคยเป็นเจ้าหนี้ก็คงเข้าใจความรู้สึกที่ต้องมาทวงหนี้กันใช่มั้ยคะ บางทีก็ไม่ได้อยากทวงบ่อยๆ แต่ลูกหนี้ไม่ยอมคืน ก็ไม่รู้ควรต้องทำอย่างไร

ผู้ทวงถามหนี้ คือ  เจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้ให้สินเชื่อ ผู้ประกอบธุรกิจตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค ผู้จัดให้มีการเล่นการพนันเป็นปกติธุระตามกฎหมายว่าด้วยการพนัน และเจ้าหนี้อื่นๆ ไม่ว่าหนี้ดังกล่าวจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ก็ตาม

ธุรกิจทวงถามหนี้ คือ ผู้ประกอบธุรกิจรับจ้างทวงหนี้ ซึ่งต้องได้รับการจดทะเบียนทวงถามหนี้ต่อนายทะเบียน กรณีผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้เป็นทนายความ ให้จดทะเบียนกับสภาทนายความ ผู้ฝ่าฝืนไม่ไปจดทะเบียนมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท
ใครมีสิทธิทวงหนี้ ? คือ เจ้าหนี้โดยตรง อาจเป็นสถาบันการเงิน ผู้ให้บริการสินเชื่อ/บัตรเครดิต/เช่าซื้อ ซึ่งครอบคลุมเจ้าหนี้นอกระบบ และเจ้าหนี้ในกิจกรรมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วย (เช่น หนี้การพนัน) รวมถึงผู้รับมอบอำนาจจากเจ้าหนี้ตามกฎหมาย ผู้รับมอบอำนาจช่วง (ผู้ได้รับมอบอำนาจ จากผู้รับมอบอำนาจอีกทอดหนึ่ง) ผู้ประกอบธุรกิจทวงหนี้ และผู้รับมอบอำนาจจากผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ด้วย ซึ่งในกรณีผู้รับมอบอำนาจมาทุกกรณี หากลูกหนี้ทวงถามต่อหน้าต้องนำหลักฐานการมอบอำนาจมาแสดงด้วย

ห้ามเจ้าหน้าที่ของรัฐ เช่น ทหาร ตำรวจ ประกอบธุรกิจรับทวงหนี้ หรือไปช่วยคนอื่นทวงหนี้ที่ไม่ใช่หนี้ของตัวเอง เว้นแต่เป็นหนี้ของสามีภรรยา พ่อแม่ หรือลูก ให้สามารถทำได้ภายใต้กรอบของกฎหมาย ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจําคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
ทวงหนี้อย่างไร ไม่ผิดกฎหมาย

  • จำนวนในการทวงหนี้ 1 ครั้ง / วัน
  • ช่วงเวลาในการทวงหนี้
  • จันทร์ – ศุกร์ เวลา 00 – 20.00 น.
  • วันหยุดราชการ เวลา 00 – 18.00 น.

นับเป็นการทวงถามหนี้ 1 ครั้ง

  • ส่งข้อความทางไลน์ และมีการเปิดอ่าน
  • โทรศัพท์หาลูกหนี้ และทวงหนี้อย่างชัดเจน

ไม่นับเป็นการทวงหนี้

  • ส่งข้อความทางไลน์ แต่ลูกหนี้ไม่ได้เปิดอ่าน
  • โทรศัพท์ไปหา แต่ลูกหนี้ยังไม่รับโทรศัพท์
  • ลูกหนี้รับโทรศัพท์แล้ว แต่วางสายก่อนจะพูดคุยเรื่องโทรถามหนี้

การทวงหนี้แบบใด ที่ห้ามทำโดยเด็ดขาด?

  • ห้ามพูดจาดูหมิ่น
  • ห้ามประจาน
  • ห้ามข่มขู่
  • ห้ามใช้ความรุนแรง
  • ห้ามทำร้ายร่างกาย
  • ห้ามทำลายทรัพย์สินของลูกหนี้ให้เกิดความเสียหาย
  • ห้ามเปิดเผยเรื่องหนี้ของลูกหนี้ ต่อผู้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง
  • ห้ามส่งเอกสารเปิดผนึกทางไปรษณีย์ ที่แสดงให้เห็นว่าเป็นการทวงถามหนี้อย่างชัดเจน

หากทวงถามหนี้อย่างไม่เป็นธรรม มีโทษอย่างไร?

ถ้าทวงถามหนี้โดยไม่เป็นไปตามขั้นตอนที่กฎหมายบัญญัติไว้ ฝ่ายลูกหนี้สามารถไปแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ และผู้ทวงถามหนี้จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 1-5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000-500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

กฎหมายที่ควรรู้เราจะได้ไม่เผลอกระทำผิดกฎหมาย ก็จะได้รู้รายละเอียดเวลาทวงหนี้และข้อห้ามต่างๆ ซึ่งเรื่องเหล่านี้นับเป็นกฎหมายพื้นฐานในชีวิตประจำวันที่เราควรรู้ไว้

The post ทวงถามหนี้อย่างไรไม่ผิดกฎหมาย? appeared first on dbcorp.

]]>
https://dbcorp.co.th/%e0%b8%97%e0%b8%a7%e0%b8%87%e0%b8%96%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b8%b5%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%a2%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b9%84%e0%b8%a3%e0%b9%84%e0%b8%a1%e0%b9%88%e0%b8%9c%e0%b8%b4/feed/ 0
บุคคลล้มละลายคืออะไร เพราะอะไรถึงเป็นบุคคลล้มละลาย https://dbcorp.co.th/%e0%b8%9a%e0%b8%b8%e0%b8%84%e0%b8%84%e0%b8%a5%e0%b8%a5%e0%b9%89%e0%b8%a1%e0%b8%a5%e0%b8%b0%e0%b8%a5%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%84%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%ad%e0%b8%b0%e0%b9%84%e0%b8%a3-%e0%b9%80%e0%b8%9e/ https://dbcorp.co.th/%e0%b8%9a%e0%b8%b8%e0%b8%84%e0%b8%84%e0%b8%a5%e0%b8%a5%e0%b9%89%e0%b8%a1%e0%b8%a5%e0%b8%b0%e0%b8%a5%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%84%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%ad%e0%b8%b0%e0%b9%84%e0%b8%a3-%e0%b9%80%e0%b8%9e/#respond Thu, 28 Dec 2023 04:12:34 +0000 https://dbcorp.co.th/?p=16238 บุคคลล้มละลายคืออะไร เพราะอะไรถึงเป็นบุคคลล้มละลาย การตกเป็นบุคคลล้มละลายคืออะไร ? บุคคลคลล้มละลาย ส่วนใหญ่แล้วเกิดจากมีหนี้สินเกินกว่าที่จะชำระหนี้ได้ จึงถูกเจ้าหนี้ฟ้องล้มละลาย โดยการจะถูกฟ้องล้มละลายนั้นมีสาเหตุมาจาก บุคคลธรรมดา มีหนี้สินมากกว่า 1 ล้านบาท นิติบุคคล มีหนี้สินมากกว่า 2 ล้านบาท ผู้ที่มีแนวโน้ม มีหนี้สินล้นพ้นตัว หรือ ไม่มีความสามารถที่จะชำาระหนี้ได้ การตกเป็นบุคคลล้มละลายส่งผลอะไรต่อชีวิตบ้าง ? หลายท่านอาจเกิดความสงสัยว่าการตกเป็นบุคคลล้มละลายจะทำให้ชีวิตเราเปลี่ยนไปอย่างไร ซึ่งอาจสรุปได้ ดังนี้ ไม่สามารถทำนิติกรรมใด ๆ ได้ทั้งสิ้น รวมไปถึงธุรกรรมการเงินต่าง ๆ เช่น การเปิดบัญชีธนาคาร การโอนเงิน การถอนเงิน เป็นต้น ไม่สามารถสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือดำรงตำแหน่งทางการเมือง รวมถึงไม่สามารถรับราชการ หรือถ้ากรณีรับราชการอยู่แล้วก็จะต้องออกจากราชการ หรือกรณีที่เป็นพนักงานบริษัทเอกชนก็จะต้องออกจากงานในกรณีที่บริษัทนั้นกำหนดว่าพนักงานของตนต้องไม่เป็นบุคคลล้มละลาย …

The post บุคคลล้มละลายคืออะไร เพราะอะไรถึงเป็นบุคคลล้มละลาย appeared first on dbcorp.

]]>
บุคคลล้มละลายคืออะไร เพราะอะไรถึงเป็นบุคคลล้มละลาย

การตกเป็นบุคคลล้มละลายคืออะไร ?
บุคคลคลล้มละลาย ส่วนใหญ่แล้วเกิดจากมีหนี้สินเกินกว่าที่จะชำระหนี้ได้ จึงถูกเจ้าหนี้ฟ้องล้มละลาย โดยการจะถูกฟ้องล้มละลายนั้นมีสาเหตุมาจาก

  • บุคคลธรรมดา มีหนี้สินมากกว่า 1 ล้านบาท
  • นิติบุคคล มีหนี้สินมากกว่า 2 ล้านบาท
  • ผู้ที่มีแนวโน้ม มีหนี้สินล้นพ้นตัว หรือ ไม่มีความสามารถที่จะชำาระหนี้ได้

การตกเป็นบุคคลล้มละลายส่งผลอะไรต่อชีวิตบ้าง ?
หลายท่านอาจเกิดความสงสัยว่าการตกเป็นบุคคลล้มละลายจะทำให้ชีวิตเราเปลี่ยนไปอย่างไร ซึ่งอาจสรุปได้ ดังนี้

  • ไม่สามารถทำนิติกรรมใด ๆ ได้ทั้งสิ้น รวมไปถึงธุรกรรมการเงินต่าง ๆ เช่น การเปิดบัญชีธนาคาร การโอนเงิน การถอนเงิน เป็นต้น
  • ไม่สามารถสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือดำรงตำแหน่งทางการเมือง รวมถึงไม่สามารถรับราชการ หรือถ้ากรณีรับราชการอยู่แล้วก็จะต้องออกจากราชการ หรือกรณีที่เป็นพนักงานบริษัทเอกชนก็จะต้องออกจากงานในกรณีที่บริษัทนั้นกำหนดว่าพนักงานของตนต้องไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
  • ไม่สามารถดำรงตำแหน่งในบริษัท หากมีความจำเป็นจะต้องได้รับอนุญาตจากศาลเสียก่อนจึงจะดำรงตำแหน่งได้
  • ไม่สามารถเดินทางไปต่างประเทศได้ หรือหากมีความจำเป็นจริงๆ จะต้องขออนุญาตจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก่อน โดยแจ้งต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่าจะเดินทางไปที่ไหน กี่วัน และบุคคลที่สามารถติดต่อได้ในขณะที่อยู่ต่างประเทศ อย่างไรก็ดี การอนุญาตให้เดินทางไปต่างประเทศได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์

ระยะเวลาเท่าใดจึงจะพ้นสภาพการเป็นบุคคลล้มละลาย ?

การถูกสั่งให้เป็นบุคคลล้มละลายนั้น จะมีระยะเวลา 3 ปี เมื่อครบกำหนดก็จะถูกปลดจากการเป็นบุคคลล้มละลาย ยกเว้นกรณีที่ไม่ให้ความร่วมมือกับเจ้าหนี้ ก็อาจจะมีการขยายเวลาเป็น 5 หรือ 10 ปีก็ได้ เมื่อครบกำหนดระยะเวลา 3 ปี ก็ให้บุคคลล้มละลายติดต่อกับเจ้าหน้าที่พิทักษ์ทรัพย์สินเพื่อขอปลดจากการเป็นบุคคลล้มละลาย หลังจากปลดจากการเป็นบุคคลล้มลายแล้ว ก็จะสามารถทำงานและทำธุรกรรมต่างๆ ได้ตามปกติ

 

การปลดหนี้ แบบอื่น ๆ สำหรับบุคคล หรือธุรกิจใกล้ล้มละลาย

  • การฟื้นฟูกิจการ

การฟื้นฟูกิจการ คือกระบวนการทางศาล เป็นวิธีการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ และปัญหาทางการเงินของลูกหนี้ เพื่อให้ลูกหนี้กลับมาบริหารกิจการได้อีกครั้งและเป็นการเริ่มต้นใหม่โดยปราศจากหนี้สินทั้งปวง ซึ่งจะไม่ถือว่าเป็นคดีแพ่ง และไม่ใช่คดีล้มละลายธรรมดาด้วยเช่นกัน

  • การประนอมหนี้

การประนอมหนี้ คือข้อตกลงที่ลูกหนี้ กับเจ้าหนี้สามารถตกลงกันได้ทั้งก่อนที่จะอยู่ในสภาวะล้มละลาย และหลังจากล้มละลายแล้ว เป็นข้อตกลงที่สามารถทำร่วมกันกับผู้ใกล้เกลี่ย โดยสามารถตกลงว่าจะชำระหนี้บางส่วน หรือโอนถ่ายสินทรัพย์ หรือหุ้นบางส่วนให้กับเจ้าหนี้

การพ้นจากสภาพการเป็นบุคคลล้มละลาย

การถูกศาลสั่งให้เป็นบุคคลล้มละลายนั้นจะมีกำหนดระยะเวลา 3 ปี ซึ่งเมื่อครบกำหนดก็จะถูกปลดจากการเป็นบุคคลล้มละลาย  โดยให้บุคคลล้มละลายติดต่อกับเจ้าหน้าที่พิทักษ์ทรัพย์ เพื่อขอปลดจากการเป็นบุคคลล้มละลาย และภายหลังจากที่มีคำสั่งปลดจากการเป็นบุคคลล้มละลายแล้ว ก็จะสามารถทำงานและทำธุรกรรมต่าง ๆ ได้ตามปกติ อย่างไรก็ดีคำสั่งปลดจากการล้มละลายนี้ จะส่งผลให้บุคคลล้มละลายนั้นหลุดพ้นจากหนี้สินทั้งปวงด้วย ยกเว้นแต่หนี้สินที่เกี่ยวข้องกับภาษีอากร หรือหนี้สินที่เกิดขึ้นจากการทุจริต ฉ้อโกงของบุคคลล้มละลาย

The post บุคคลล้มละลายคืออะไร เพราะอะไรถึงเป็นบุคคลล้มละลาย appeared first on dbcorp.

]]>
https://dbcorp.co.th/%e0%b8%9a%e0%b8%b8%e0%b8%84%e0%b8%84%e0%b8%a5%e0%b8%a5%e0%b9%89%e0%b8%a1%e0%b8%a5%e0%b8%b0%e0%b8%a5%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%84%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%ad%e0%b8%b0%e0%b9%84%e0%b8%a3-%e0%b9%80%e0%b8%9e/feed/ 0
เมื่อเจ้าหนี้ยื่นฟ้องแล้ว ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ โอนย้ายทรัพย์สิน มีความผิดฐานใด? https://dbcorp.co.th/%e0%b9%80%e0%b8%a1%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b9%80%e0%b8%88%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b8%b5%e0%b9%89%e0%b8%a2%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%99%e0%b8%9f%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b9%81/ https://dbcorp.co.th/%e0%b9%80%e0%b8%a1%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b9%80%e0%b8%88%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b8%b5%e0%b9%89%e0%b8%a2%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%99%e0%b8%9f%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b9%81/#respond Wed, 20 Dec 2023 08:09:23 +0000 https://dbcorp.co.th/?p=16235 เมื่อเจ้าหนี้ยื่นฟ้องแล้ว ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ โอนย้ายทรัพย์สิน มีความผิดฐานใด? โดยปกติแล้วหากเป็นหนี้ก็ต้องชำระต่อกันถูกต้องมั้ยคะ โดยปกติแล้วเจ้าหนี้ทุกท่านก็ต้องการเงินที่ถูกยืมคืน แต่ในกรณีที่ลูกหนี้ไม่ยอมชำระหนี้ ลูกหนี้บางรายอาจมีพฤติกรรมที่เกินเลยถึงขั้นไม่ต้องให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้อีกด้วย ซึ่งลูกหนี้มีพฤติกรรมที่ไม่ต้องการชำระหนี้ในทางกฎหมายแล้วมีความผิดฐานโกงเจ้าหนี้นั่นเอง ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 350 กำหนดไว้ว่า “ผู้ใดเพื่อมิให้เจ้าหนี้ของตนหรือของผู้อื่นได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ซึ่งได้ใช้หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้ ย้ายไปเสีย ซ่อนเร้น หรือโอนไปให้แก่ผู้อื่นซึ่งทรัพย์ใดก็ดี แกล้งให้ตนเองเป็นหนี้จำนวนใดอันไม่เป็นความจริงก็ดี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” สรุปง่ายๆก็คือ ภายหลังจากเจ้าหนี้ได้ส่งหนังสือบอกกล่าวทวงถามหนี้ (Notice) แล้ว ลูกหนี้มีทรัพย์สินไม่ว่าจะเป็น ทรัพย์สินอะไรก็ตาม ลูกหนี้อาจจะถูกเจ้าหนี้บังคับคดีเพื่อเอาทรัพย์สินลูกหนี้มาชำระหนี้ได้ แต่ถ้าลูกหนี้ไปโอนเปลี่ยนชื่อทรัพย์สินไปให้แก่ผู้อื่น หรือแกล้งให้ตนเป็นหนี้จำนวนใดอันไม่เป็นความจริง ทำให้เจ้าหนี้ได้รับความสียหาย เจ้าหนี้มีสิทธิฟ้องลูกหนี้เป็นคดีอาญา โดยเจ้าหนี้สามารถฟ้องทั้งตัวลูกหนี้และตัวผู้รับโอนทรัพย์สินจากลูกหนี้ให้เป็นเป็นจำเลยร่วมกับลูกหนี้ได้ โดนโทษอะไรบ้างหากทำผิดมาตรา 350 “ …

The post เมื่อเจ้าหนี้ยื่นฟ้องแล้ว ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ โอนย้ายทรัพย์สิน มีความผิดฐานใด? appeared first on dbcorp.

]]>
เมื่อเจ้าหนี้ยื่นฟ้องแล้ว ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ โอนย้ายทรัพย์สิน มีความผิดฐานใด?

โดยปกติแล้วหากเป็นหนี้ก็ต้องชำระต่อกันถูกต้องมั้ยคะ โดยปกติแล้วเจ้าหนี้ทุกท่านก็ต้องการเงินที่ถูกยืมคืน แต่ในกรณีที่ลูกหนี้ไม่ยอมชำระหนี้ ลูกหนี้บางรายอาจมีพฤติกรรมที่เกินเลยถึงขั้นไม่ต้องให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้อีกด้วย ซึ่งลูกหนี้มีพฤติกรรมที่ไม่ต้องการชำระหนี้ในทางกฎหมายแล้วมีความผิดฐานโกงเจ้าหนี้นั่นเอง

ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 350 กำหนดไว้ว่า
ผู้ใดเพื่อมิให้เจ้าหนี้ของตนหรือของผู้อื่นได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ซึ่งได้ใช้หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้ ย้ายไปเสีย ซ่อนเร้น หรือโอนไปให้แก่ผู้อื่นซึ่งทรัพย์ใดก็ดี แกล้งให้ตนเองเป็นหนี้จำนวนใดอันไม่เป็นความจริงก็ดี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”

สรุปง่ายๆก็คือ ภายหลังจากเจ้าหนี้ได้ส่งหนังสือบอกกล่าวทวงถามหนี้ (Notice) แล้ว ลูกหนี้มีทรัพย์สินไม่ว่าจะเป็น ทรัพย์สินอะไรก็ตาม ลูกหนี้อาจจะถูกเจ้าหนี้บังคับคดีเพื่อเอาทรัพย์สินลูกหนี้มาชำระหนี้ได้ แต่ถ้าลูกหนี้ไปโอนเปลี่ยนชื่อทรัพย์สินไปให้แก่ผู้อื่น หรือแกล้งให้ตนเป็นหนี้จำนวนใดอันไม่เป็นความจริง ทำให้เจ้าหนี้ได้รับความสียหาย เจ้าหนี้มีสิทธิฟ้องลูกหนี้เป็นคดีอาญา โดยเจ้าหนี้สามารถฟ้องทั้งตัวลูกหนี้และตัวผู้รับโอนทรัพย์สินจากลูกหนี้ให้เป็นเป็นจำเลยร่วมกับลูกหนี้ได้

โดนโทษอะไรบ้างหากทำผิดมาตรา 350
“ ผู้ใดเพื่อมิให้เจ้าหนี้ของตนหรือของผู้อื่นได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ซึ่งได้ใช้หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้ ย้ายไปเสีย ซ่อนเร้น หรือโอนไปให้แก่ผู้อื่นซึ่งทรัพย์ใดก็ดี แกล้งให้ตนเองเป็นหนี้จำนวนใดอันไม่เป็นความจริงก็ดี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ”

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4135/2563

โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 350 ประกอบมาตรา 83 ศาลชั้นต้นยกฟ้องในชั้นไต่สวนมูลฟ้องโดยวินิจฉัยว่าศาลชั้นต้นในคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองฐานผิดสัญญาจะซื้อจะขายนั้นมีคำพิพากษายกฟ้อง มิได้พิพากษาให้จำเลยทั้งสองต้องโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินให้โจทก์ ขณะจำเลยทั้งสองโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินตามฟ้องให้แก่บุคคลภายนอก จำเลยทั้งสองจึงมิได้เป็นลูกหนี้ของโจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น คดีจึงไม่มีมูล ที่โจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์กับจำเลยทั้งสองเป็นเจ้าหนี้ลูกหนี้กันนับแต่ขณะทำสัญญาจะซื้อจะขายตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคสอง และเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2550 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองให้ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขาย โจทก์จึงมีหนี้อันสมบูรณ์ที่ได้ใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้อยู่แล้วในขณะที่จำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำความผิด การกระทำของจำเลยทั้งสองครบองค์ประกอบความผิดฐานร่วมกันโกงเจ้าหนี้นั้น เป็นอุทธรณ์ที่โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่วินิจฉัยปรับข้อเท็จจริงที่รับฟังได้แล้วว่าครบองค์ประกอบความผิดฐานร่วมกันโกงเจ้าหนี้ตามฟ้องหรือไม่ โดยโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์รับฟังข้อเท็จจริงใหม่ให้ผิดไปจากที่ศาลชั้นต้นรับฟังมาแต่อย่างใด อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมาย มิใช่อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ว่าเป็นอุทธรณ์ต้องห้ามในปัญหาข้อเท็จจริงแล้วพิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์นั้น เป็นการไม่ชอบ

The post เมื่อเจ้าหนี้ยื่นฟ้องแล้ว ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ โอนย้ายทรัพย์สิน มีความผิดฐานใด? appeared first on dbcorp.

]]>
https://dbcorp.co.th/%e0%b9%80%e0%b8%a1%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b9%80%e0%b8%88%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b8%b5%e0%b9%89%e0%b8%a2%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%99%e0%b8%9f%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b9%81/feed/ 0
ผู้ค้ำประกันมีสิทธิ์อะไรบ้าง หากถูกบังคับคดี https://dbcorp.co.th/%e0%b8%aa%e0%b8%b4%e0%b8%97%e0%b8%98%e0%b8%b4%e0%b9%8c%e0%b8%82%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%9c%e0%b8%b9%e0%b9%89%e0%b8%84%e0%b9%89%e0%b8%b3%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%81%e0%b8%b1%e0%b8%99/ https://dbcorp.co.th/%e0%b8%aa%e0%b8%b4%e0%b8%97%e0%b8%98%e0%b8%b4%e0%b9%8c%e0%b8%82%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%9c%e0%b8%b9%e0%b9%89%e0%b8%84%e0%b9%89%e0%b8%b3%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%81%e0%b8%b1%e0%b8%99/#respond Fri, 08 Dec 2023 02:54:57 +0000 https://dbcorp.co.th/?p=16231 ผู้ค้ำประกันมีสิทธิ์อะไรบ้าง หากถูกบังคับคดี?           เวลามนุษย์เรามีปัญหาเรื่องเงินทองเดือดร้อนต้องใช้เงินจริงๆ ก็คงไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากการหยิบยืมจาก สถาบันการเงินบ้าง เพื่อนบ้าง ครอบครัว หรือการกูเงินนอกระบบ ถ้าหากเรากู้จากสถาบันการเงินหรือกู้เงินนอกระบบ ก็อาจจะไม่ให้กู้เพราะไม่มีอะไรเป็นหลักประกันได้ว่าคุณจะมีเงินมาคืนเขาก็ทองเรียกทรัพย์มาเป็นหลักประกันเพื่อความให้เกิดความมั่นใจว่าเราจะสามารชำระหนี้ให้เขาได้ แต่ถ้าหากท่านไม่มีทรัพย์หล่ะ จะต้องทำอย่างไร ก็ต้องหาผู้ค้ำประกันไม่ว่าจะเป็นเพื่อน พี่น้อง พ่อแม่หรือบุคคลอื่นๆ ในครอบครัว  ค้ำประกันคือการใครคนหนึ่งทำสัญญากับเจ้าหนี้ว่าถ้าลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ผู้ค้ำประกันจะชำระหนี้นั้นแทนเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้เจ้าหนี้ก็ย่อมมีสิทธิรียกร้องหรือฟ้องให้ค้ำประกันรับผิดได้ ดังนั้นในฐานะผู้ค้ำประกันจะมีสิทธิ์ปกป้องตัวเองได้อย่างไรบ้าง วันนี้ ธรรมนิติ จะพาไปหาคำตอบกันได้เลยค่ะ การค้ำประกันคือ การค้ำประกันเป็นการทำสัญญา ซึ่งต้องมีบุคคลภายนอก หรือที่เรียกว่า ผู้ค้ำประกัน โดยต้องเข้ามาผูกพันทางกฎหมายต่อเจ้าหนี้ เพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้กรณีลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามสัญญา ในการทำสัญญาค้ำประกันนี้ จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใด พร้อมกับลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันไว้ด้วย มิฉะนั้นจะฟ้องบังคับคดีกันไม่ได้ สัญญาค้ำประกันจะต้องระบุหนี้หรือสัญญาค้ำประกันไว้โดยชัดแจ้ง และ ผู้ค้ำประกันย่อมรับผิดเฉพาะหนี้หรือสัญญาที่ระบุไว้เท่านั้น กรณีเมื่อลูกหนี้ผิดนัด เมื่อถึงกำหนดวันเวลาที่ต้องชำระหนี้ตามที่ได้ตกลงกับเจ้าหนี้แล้ว กฎหมายกำหนดให้เจ้าหนี้มีหนังสือบอกกล่าวไปยังผู้ค้ำประกันภายในหกสิบวัน นับแต่วันที่ลูกหนี้ผิดนัด ในระหว่างนี้ห้ามเจ้าหนี้เรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ก่อนที่หนังสือบอกกล่าวจะไปถึงผู้ค้ำประกัน …

The post ผู้ค้ำประกันมีสิทธิ์อะไรบ้าง หากถูกบังคับคดี appeared first on dbcorp.

]]>
ผู้ค้ำประกันมีสิทธิ์อะไรบ้าง หากถูกบังคับคดี?

          เวลามนุษย์เรามีปัญหาเรื่องเงินทองเดือดร้อนต้องใช้เงินจริงๆ ก็คงไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากการหยิบยืมจาก สถาบันการเงินบ้าง เพื่อนบ้าง ครอบครัว หรือการกูเงินนอกระบบ ถ้าหากเรากู้จากสถาบันการเงินหรือกู้เงินนอกระบบ ก็อาจจะไม่ให้กู้เพราะไม่มีอะไรเป็นหลักประกันได้ว่าคุณจะมีเงินมาคืนเขาก็ทองเรียกทรัพย์มาเป็นหลักประกันเพื่อความให้เกิดความมั่นใจว่าเราจะสามารชำระหนี้ให้เขาได้ แต่ถ้าหากท่านไม่มีทรัพย์หล่ะ จะต้องทำอย่างไร ก็ต้องหาผู้ค้ำประกันไม่ว่าจะเป็นเพื่อน พี่น้อง พ่อแม่หรือบุคคลอื่นๆ ในครอบครัว  ค้ำประกันคือการใครคนหนึ่งทำสัญญากับเจ้าหนี้ว่าถ้าลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ผู้ค้ำประกันจะชำระหนี้นั้นแทนเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้เจ้าหนี้ก็ย่อมมีสิทธิรียกร้องหรือฟ้องให้ค้ำประกันรับผิดได้ ดังนั้นในฐานะผู้ค้ำประกันจะมีสิทธิ์ปกป้องตัวเองได้อย่างไรบ้าง วันนี้ ธรรมนิติ จะพาไปหาคำตอบกันได้เลยค่ะ

การค้ำประกันคือ

การค้ำประกันเป็นการทำสัญญา ซึ่งต้องมีบุคคลภายนอก หรือที่เรียกว่า ผู้ค้ำประกัน โดยต้องเข้ามาผูกพันทางกฎหมายต่อเจ้าหนี้ เพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้กรณีลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามสัญญา ในการทำสัญญาค้ำประกันนี้ จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใด พร้อมกับลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันไว้ด้วย มิฉะนั้นจะฟ้องบังคับคดีกันไม่ได้ สัญญาค้ำประกันจะต้องระบุหนี้หรือสัญญาค้ำประกันไว้โดยชัดแจ้ง และ

ผู้ค้ำประกันย่อมรับผิดเฉพาะหนี้หรือสัญญาที่ระบุไว้เท่านั้น

กรณีเมื่อลูกหนี้ผิดนัด เมื่อถึงกำหนดวันเวลาที่ต้องชำระหนี้ตามที่ได้ตกลงกับเจ้าหนี้แล้ว กฎหมายกำหนดให้เจ้าหนี้มีหนังสือบอกกล่าวไปยังผู้ค้ำประกันภายในหกสิบวัน นับแต่วันที่ลูกหนี้ผิดนัด ในระหว่างนี้ห้ามเจ้าหนี้เรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ก่อนที่หนังสือบอกกล่าวจะไปถึงผู้ค้ำประกัน

หากผู้ค้ำประกันได้ชำระหนี้หมดแล้ว ผู้ค้ำประกันยังมีสิทธิ์ที่จะไล่เบี้ยเอาจากลูกหนี้ เพื่อเงินต้นกับดอกเบี้ยและเพื่อการที่ต้องสูญหาย หรือเสียหายไปอย่างใด ๆ เพราะการค้ำประกันนั้นได้ หรือหากเมื่อถึงกำหนดชำระหนี้ ผู้ค้ำประกันสามารถขอชำระหนี้กับเจ้าหนี้ได้ตั้งแต่เมื่อถึงกำหนดชำระหนี้

 

สาระสำคัญของค้ำประกัน

– เป็นการค้ำประกันหนี้ของบุคคลภายนอก โดยที่บุคคลภายนอกยินยอมเข้าผูกพันตนต่อหนี้ของบุคคลอื่น

– ต้องมีหนี้ที่เรียกกันว่าหนี้สัญญาประธาน ซึ่งจะเกิดจากสัญญาหรือมูลละเมิดก็ได้

(มูลละเมิดคือ ค่าเสียหายในทางแพ่งอันเกิดจากการกระทำโดยผิดกฎหมายก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น ซึ่งจะกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อก็ตาม)

– สัญญาค้ำประกันจะทำด้วยวาจาหรือทำเป็นหนังสือก็ได้ แต่หากไม่ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันไว้ จะฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้

– ผู้ค้ำประกันมีสิทธิไล่เบี้ยจากลูกหนี้ได้

 

ผู้ค้ำประกันมีสิทธิ์อะไรบ้าง

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีข้อคุ้มครองผู้ค้ำประกัน ดังนี้

  • มาตรา 688 เมื่อเจ้าหนี้ทวงให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ ผู้ค้ำประกันจะขอให้เรียกลูกหนี้ชำระก่อนก็ได้ เว้นแต่ลูกหนี้จะถูกศาลพิพากษาให้เป็นคนล้มละลายเสียแล้ว หรือไม่ปรากฏว่าลูกหนี้ไปอยู่แห่งใดในพระราชอาณาเขต
  • มาตรา 689 ถึงแม้จะได้เรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ดั่งกล่าวมาในมาตราก่อนนั้นแล้วก็ตาม ถ้าผู้ค้ำประกันพิสูจน์ได้ว่าลูกหนี้นั้นมีทางที่จะชำระหนี้ได้และการที่จะบังคับให้ลูกหนี้ชำระหนี้นั้นจะไม่เป็นการยากไซร้ ท่านว่าเจ้าหนี้จะต้องบังคับการชำระหนี้รายนั้นเอาจากทรัพย์สินของลูกหนี้ก่อน

ทุกครั้งที่เกิดการเบี้ยวหนี้ ผู้ค้ำประกันมักเสียเปรียบเจ้าหนี้และต้องแบกภาระหนี้ที่ตัวเองไม่ได้ก่อ อย่างไรก็ตาม มีความพยายามแก้ไขและผลักดันกฎหมายหลายฉบับออกมา เพื่อปกป้องสิทธิของผู้ค้ำประกันให้ได้รับความเป็นธรรมมากขึ้น โดยกำหนดให้ธุรกิจหลายประเภทเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา ตามประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญาของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งสอดคล้องกับบทบัญญัติว่าด้วยการค้ำประกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

  • ดังนั้น แม้ว่าผู้ค้ำประกันจะมีหน้าที่ต้องชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้แต่หากบุคคลที่เราไปค้ำประกันให้ ไม่ยอมชำระหนี้ตามสัญญา ผู้ค้ำประกันก็มีสิทธิขอให้เจ้าหนี้ติดตามเรียกลูกหนี้มาชำระหนี้ก่อนตนได้ เว้นแต่ลูกหนี้จะถูกศาลพิพากษาให้เป็นคนล้มละลาย หรือไม่ปรากฏว่าอยู่ที่ใด และหากผู้ค้ำประกันพิสูจน์ได้ว่าลูกหนี้มีหนทางที่จะชำระหนี้ได้และการบังคับให้ลูกหนี้ชำระหนี้นั้นไม่เป็นการยาก เจ้าหนี้จะต้องบังคับการชำระหนี้รายนั้นเอาจากทรัพย์สินของลูกหนี้ก่อน

แม้จะมีกฎหมายเพิ่มเติมเพื่อให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ค้ำประกันมากขึ้น แต่ก็อาจจะไม่ได้หมายความว่าเราจะหลุดออกจากสัญญาค้ำประกันได้ ดังนั้น ควรตัดไฟแต่ต้นลม ปฏิเสธการค้ำเป็นดีที่สุด ให้เป็นหน้าที่ของเจ้าหนี้นั้นๆ ในการพิจารณาศักยภาพผู้กู้ด้วยตัวเอง ดีกว่าแก้ปัญหาที่ปลายเหตุแล้วมานั่งค้นหาข้อมูล ผู้ค้ำประกันมีสิทธิ์อะไรบ้าง หากเกิดการเบี้ยวหนี้ อย่างที่ ธรรมนิติ นำมาฝากกันในวันนี้

 

The post ผู้ค้ำประกันมีสิทธิ์อะไรบ้าง หากถูกบังคับคดี appeared first on dbcorp.

]]>
https://dbcorp.co.th/%e0%b8%aa%e0%b8%b4%e0%b8%97%e0%b8%98%e0%b8%b4%e0%b9%8c%e0%b8%82%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%9c%e0%b8%b9%e0%b9%89%e0%b8%84%e0%b9%89%e0%b8%b3%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%81%e0%b8%b1%e0%b8%99/feed/ 0
ระยะเวลาของการบังคับคดี https://dbcorp.co.th/%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%a2%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%a7%e0%b8%a5%e0%b8%b2%e0%b8%82%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%9a%e0%b8%b1%e0%b8%87%e0%b8%84%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%84%e0%b8%94/ https://dbcorp.co.th/%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%a2%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%a7%e0%b8%a5%e0%b8%b2%e0%b8%82%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%9a%e0%b8%b1%e0%b8%87%e0%b8%84%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%84%e0%b8%94/#respond Mon, 27 Nov 2023 15:59:21 +0000 https://dbcorp.co.th/?p=16227 ระยะเวลาของการบังคับคดี             หลายๆท่านอาจจะสงสัยว่าเมื่อศาลมีคำพิพากษาให้จำเลยชดใช้เงินหรือกระทำการใดๆ หากจำเลยไม่ปฏิบัติจามคำพิพากษา โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมสามารถที่จะทำเรื่องบังคับคดีได้ โดยระยะเวลาของการบังคับคดีมีเวลาทั้งหมด 10 ปี นับตั้งแต่มีคำพิพากษา ซึ่งระยะเวลาการบังคับคดีนี้หมายเรียกช่วงเวลาที่ฝ่ายโจทก์หรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาสามารถที่จะทำเรื่องยึดหรืออายัดทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ ถ้าหากเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่ได้ยื่นขอบังคับคดีต่อกรมบังคับคดีภายในระยะเวลา 10 ปี ย่อมหมดสิทธิ์ที่จะไปดำเนินการใดๆกับทรัพย์สินของลูกหนี้ แต่ถ้าหากโจทก์ได้ดำเนินการบังคับคดีและตั้งเรื่องยึดไว้ ไม่ว่าจะเป็นระยะเวลา 10ปี 20ปี 30ปี ก็สามารถที่จะยึดได้ หากท่านสงสัยว่าทรัพย์สินแบบไหนสามารถยึดหรืออายัดได้บ้าง? ของมีค่า เครื่องประดับทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น เพชร พลอย นาฬิกาและของสะสมที่มีมูลค่า บ้าน ที่ดิน และถึงแม้ว่าจะยังติดจำนองอยู่ก็สามารถที่จะยึดได้เช่นกัน รถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของลูกหนี้ และไม่ได้เป็นเครื่องมือในการประกอบอาชีพ เงินในบัญชีเงินฝาก หรือเงินปันผลจากการลงทุน ทรัพย์สินที่เป็นการลงทุน อาทิ หุ้น ทองคำ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ dbcorp.co.th/เจ้าหนี้สามารถยึดอะไร/ …

The post ระยะเวลาของการบังคับคดี appeared first on dbcorp.

]]>
ระยะเวลาของการบังคับคดี

            หลายๆท่านอาจจะสงสัยว่าเมื่อศาลมีคำพิพากษาให้จำเลยชดใช้เงินหรือกระทำการใดๆ
หากจำเลยไม่ปฏิบัติจามคำพิพากษา โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมสามารถที่จะทำเรื่องบังคับคดีได้ โดยระยะเวลาของการบังคับคดีมีเวลาทั้งหมด 10 ปี นับตั้งแต่มีคำพิพากษา ซึ่งระยะเวลาการบังคับคดีนี้หมายเรียกช่วงเวลาที่ฝ่ายโจทก์หรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาสามารถที่จะทำเรื่องยึดหรืออายัดทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ ถ้าหากเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่ได้ยื่นขอบังคับคดีต่อกรมบังคับคดีภายในระยะเวลา 10 ปี ย่อมหมดสิทธิ์ที่จะไปดำเนินการใดๆกับทรัพย์สินของลูกหนี้ แต่ถ้าหากโจทก์ได้ดำเนินการบังคับคดีและตั้งเรื่องยึดไว้ ไม่ว่าจะเป็นระยะเวลา 10ปี 20ปี 30ปี ก็สามารถที่จะยึดได้
หากท่านสงสัยว่าทรัพย์สินแบบไหนสามารถยึดหรืออายัดได้บ้าง
?

  1. ของมีค่า เครื่องประดับทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น เพชร พลอย นาฬิกาและของสะสมที่มีมูลค่า
  2. บ้าน ที่ดิน และถึงแม้ว่าจะยังติดจำนองอยู่ก็สามารถที่จะยึดได้เช่นกัน
  3. รถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของลูกหนี้ และไม่ได้เป็นเครื่องมือในการประกอบอาชีพ
  4. เงินในบัญชีเงินฝาก หรือเงินปันผลจากการลงทุน
  5. ทรัพย์สินที่เป็นการลงทุน อาทิ หุ้น ทองคำ

สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ dbcorp.co.th/เจ้าหนี้สามารถยึดอะไร/

หากท่านมีคำพิพากษาแล้ว และติดปัญหาในการบังคับคดียึดทรัพย์ของลูกหนี้ สามารถติดต่อสอบถามมาที่ line @dbcorp ได้ค่ะโดยจะมีแอดมินคอยตอบคำถามหรือแก้ปัญหาของท่าน เรายินดีที่จะให้คำปรึกษาท่านและช่วยเหลืออย่างเต็มที่

The post ระยะเวลาของการบังคับคดี appeared first on dbcorp.

]]>
https://dbcorp.co.th/%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%a2%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%a7%e0%b8%a5%e0%b8%b2%e0%b8%82%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%9a%e0%b8%b1%e0%b8%87%e0%b8%84%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%84%e0%b8%94/feed/ 0