บทความนี้จัดทำขึ้นมาเพื่อให้เห็นข้อเท็จจริงและข้อแตกต่างจากการมีทนายความที่นั่งประจำบริษัทท่าน ( Company Lawyer) ที่ทำงานตามเวลาทำงานของท่าน ซึ่งแตกต่างจากการจ้างทนายความที่ทำงานของตัวเอง (Freelance Lawyer )และมารับงานกับบริษัทท่านดังนี้ ทนายความที่ทำงานให้กับบริษัทมีอยู่ 3 ประเภทได้แก่ ประเภทที่ 1 คือทนายความประจำสำนักงานบริษัทที่รับค่าจ้าง และทำงานเป็นลูกจ้างประจำบริษัท ทำงานให้บริษัทตามเวลาทำงานของบริษัท จ่ายค่าจ้างเป็นประจำเดือน ( Company Lawyer) ข้อดี มีการโต้ตอบเหตุการณ์หรือการให้คำปรึกษาต่างๆทันท่วงทีตามที่ท่านต้องการ ข้อแตกต่าง หากลาออก ข้อมูลจะไม่ต่อเนื่องหากไม่มีการส่งมอบงานทัน ทั้งทางคดีและการบังคับคดี หากไม่สามารถหาคนใหม่ได้ทัน ประเภทที่ 2 คือทนายความประจำสำนักงานบริษัทที่รับค่าจ้างแต่ไม่ประจำบริษัท ทำงานให้บริษัทเพียงแต่เข้าบริษัทตามนัดหมาย จ่ายค่าจ้างเป็นประจำเดือน(Freelance Lawyer ) ข้อดี ประหยัดค่าใช้จ่ายประจำ ข้อแตกต่าง มีการโต้ตอบเหตุการณ์หรือการให้คำปรึกษาต่างๆ ตามนัดหมาย …
อายัดเงินเดือน คืออะไร ท่านอาจจะเคยได้ยินคำว่า “อายัดเงินเดือน” กันมาบ้าง ยกตัวอย่างเช่นหลายๆบทความที่ผ่านมาของเราก็คงสงสัยกันใช่ไหมคะว่าต้องทำอย่างไรและมีข้อจำกัดอย่างไรบ้าง ซึ่งการอายัดเงินเดือนนั้นเป็นหนึ่งในทางเลือกที่เจ้าหนี้หลายๆท่านใช้ในการเรียกเงินคืนจากลูกหนี้ มาดูกันดีกว่าค่ะว่า “การอายัดเงินเดือนคืออะไร” การอายัดเงินเดือน เมื่อศาลมีคำพิพากษาให้เจ้าหนี้ชนะคดี หากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษาภายใน 30 วัน เจ้าหนี้มีสิทธิอายัดสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ได้ โดยตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อออกหมายอายัดต่อไป การอายัดเงินเดือน โบนัส ค่าตอบแทนต่างๆ หากเจ้าหนี้รายแรกขออายัดเงินเดือนแล้ว เจ้าหนี้รายอื่นจะทำเรื่องขออายัดซ้ำไม่ได้ ต้องรอคิวให้รายแรกอายัดครบก่อน หรืออาจจะขอหารส่วนแบ่งเงินที่ถูกอายัดจากเจ้าหนี้รายแรกก็ได้ ถ้ารอก็จะรอได้ไม่เกิน 10 ปี หากเกิน 10 ปีก็จะหมดอายุความ หลักเกณฑ์ในการอายัดเงินเดือน เงินเดือน ค้าจ้าง บำเหน็จ บำนาญ ของ “ข้าราชการ” ไม่สามารอายัดได้ ลูกหนี้ที่เป็นพนักงานสามรถยาอัดได้ แต่ต้องมีเงินเดือนมากกว่า 20,000 …
หนี้นอกระบบ ไม่มีสัญญาสามารถฟ้องร้องได้ไหม? เมื่อประสบปัญหาด้านการเงิน การกู้เงินก็คงจะเป็นทางออกที่หลายๆท่านเลือกที่จะใช้เป็นทางเลือกแรกๆ แต่จะไปกู้จากธนาคารก็เครดิตไม่ดีพอที่จะกู้ ก็เลยต้องยอมกู้เงินดิกระบบที่ดอกเบี้ยแสนแพงทำให้ในบางงวดอาจไม่สามารถจ่ายไหว แล้วถ้าเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นจริงๆ จะโดนเจ้าหนี้ฟ้องได้หรือไม่? หนี้นอกระบบ คืออะไร? มีกี่ประเภท? เงินกู้ที่มีลักษณะตรงข้ามกับเงินกู้ในระบบทุกอย่าง กล่าวคือ เป็นการกู้เงินที่ไม่มีการรับรองจากกฎหมาย มีลักษณะเป็นการยืมเงินปากเปล่า หรือมีการบันทึกข้อความ สัญญาไว้เป็นหลักฐานก็ได้ ตัวอย่างของเงินกู้นอกระบบ เช่น พวกเงินด่วนทั้งหลายที่มีการแปะประกาศตามรั้ว ตามเสาไฟฟ้า หรือมีการบอกต่อกันแบบปากต่อปาก หรือเป็นการปล่อยกู้กันเองในกลุ่มคนรู้จัก รวมถึงสื่อตามอินเทอร์เน็ตต่างๆ ที่ไม่ได้มีการรับรองตามกฎหมาย หนี้นอกระบบแบบรายวัน : เป็นหนี้ที่ให้ผู้กู้ยืมเงินจำนวนหนึ่งโดยคิดดอกเบี้ยรายวัน อัตราดอกเบี้ยมักจะสูงมาก เช่น ดอกเบี้ย 30% ต่อเดือน หนี้นอกระบบแบบรายเดือน : เป็นหนี้ที่ให้ผู้กู้ยืมเงินจำนวนหนึ่งโดยคิดดอกเบี้ยรายเดือน อัตราดอกเบี้ยมักจะต่ำกว่าหนี้นอกระบบแบบรายวัน …
สิ่งที่ลูกหนี้ต้องรู้! ก่อนตกลงทำ ‘สัญญากู้ยืมเงิน’ หลายๆท่านคงจะเคยเจอปัญหาด้านการเงินยิ่งเป็นยุคสมัยนี้ที่ค่าใช้จ่ายต่างๆ มูลค่าค่อนข้างสูง บางท่านก็แก้ปัญหาด้วยการหยิบยืมจากเพื่อนพี่น้อง หรือสถาบันการเงินต่างๆ แต่การกู้เงินไม่ใช่แค่การได้เงินมาแล้วจ่ายคืน ไม่ใช่เพียงได้เงินมาแล้วจ่ายคืน เพราะยังมีรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ที่ผู้กู้ควรรู้ก่อนทำการกู้ยืม แล้วรายละเอียดเหล่านั้น มีอะไรบ้าง ไปดูกันค่ะ กฎหมายการกู้ยืมเงิน กู้ยืมเงินเกิน 2,000 บาทขึ้นไป ต้องมีสัญญาการกู้ยืมเงินเป็นลายลักษณ์อักษร และต้องมีลายเซ็นผู้กู้ในสัญญา หากไม่มีหลักฐานหรือสัญญา จะไม่สามารถฟ้องร้องบังคับคดีได้ แม้ว่าหนี้นั้นจะชอบด้วยกฎหมายก็ตาม อัตราดอกเบี้ยการกู้ยืมห้ามเกิน 15% ต่อปี ถ้าหากกำหนดอัตราดอกเบี้ยเกิน ระวังโทษ จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ อายุความของคดีกู้ยืมเงิน หากมีการผิดสัญญาชำระเงิน …
ค้างค่างวดรถได้นานเท่าไหร่? จ่ายไม่ทันควรทำอย่างไร? เรื่องเงินไม่พอใช้ ค่าใช้จ่ายต่างๆที่เข้ามาจนการเงินของเราถึงขั้นสดุด ทำให้เกิดการค้างชำระค่าใช้จ่ายบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นค่าบ้าน ค่าไฟ ค่าน้ำ ค่าบัตรเครดิต หรือแม้แต่ ค่างวดรถ หลายๆท่านก็คงจะเข้าใจว่าถ้าหากเราค้างชำระช้ากว่าที่กำหนดท่านอาจจะโดนบริษัทติดต่อทวงถามหนี้ ซึ่งท่านสามารถผิดนัดชำระได้นานเท่าไหร่สามารถหาคำตอบได้ในบทความนี้เลยค่ะ ค้างค่างวดรถ นานเท่าไรถึงจะโดนยึดรถ การค้างค่างวดรถ กี่เดือน ถึงจะโดนยึด คำตอบก็คือ โดยทั่วไปแล้วเราจะต้องค้างค่างวดรถติดต่อกันเป็นเวลา 3 เดือน จากนั้นเค้าก็จะติดตามถามทวงอีก 30 วัน หากเกินจากนี้แล้วไม่ได้ไปชำระเงิน เราก็จะถูกยึดรถโดยปริยาย เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญที่คนที่มายึดมักจะไม่มาบอกเรา แต่หากของใครค้างนานกว่านี้แล้วไม่มีการแจ้งมาว่าจะยึดละก็ อย่าเพิ่งคิดว่าตัวเองโชคดีไป ขอให้เตรียมตัวไว้ว่า เค้าอาจจะมาแบบกองโจร เจอแล้วยึดเลย หมดสิทธิ์ต่อรองทั้งนั้น แต่ถ้ายังพอไหวในชำระค่างวดได้ในช่วง 1-2 งวดที่ขาดส่ง ให้พยายามชำระค่างวดเพื่อไม่ให้ค้างติดกัน 3 เดือน …
ทวงถามหนี้อย่างไรไม่ผิดกฎหมาย? ใครที่เคยเป็นเจ้าหนี้ก็คงเข้าใจความรู้สึกที่ต้องมาทวงหนี้กันใช่มั้ยคะ บางทีก็ไม่ได้อยากทวงบ่อยๆ แต่ลูกหนี้ไม่ยอมคืน ก็ไม่รู้ควรต้องทำอย่างไร ผู้ทวงถามหนี้ คือ เจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้ให้สินเชื่อ ผู้ประกอบธุรกิจตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค ผู้จัดให้มีการเล่นการพนันเป็นปกติธุระตามกฎหมายว่าด้วยการพนัน และเจ้าหนี้อื่นๆ ไม่ว่าหนี้ดังกล่าวจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ก็ตาม ธุรกิจทวงถามหนี้ คือ ผู้ประกอบธุรกิจรับจ้างทวงหนี้ ซึ่งต้องได้รับการจดทะเบียนทวงถามหนี้ต่อนายทะเบียน กรณีผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้เป็นทนายความ ให้จดทะเบียนกับสภาทนายความ ผู้ฝ่าฝืนไม่ไปจดทะเบียนมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท ใครมีสิทธิทวงหนี้ ? คือ เจ้าหนี้โดยตรง อาจเป็นสถาบันการเงิน ผู้ให้บริการสินเชื่อ/บัตรเครดิต/เช่าซื้อ ซึ่งครอบคลุมเจ้าหนี้นอกระบบ และเจ้าหนี้ในกิจกรรมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วย (เช่น หนี้การพนัน) รวมถึงผู้รับมอบอำนาจจากเจ้าหนี้ตามกฎหมาย ผู้รับมอบอำนาจช่วง (ผู้ได้รับมอบอำนาจ จากผู้รับมอบอำนาจอีกทอดหนึ่ง) ผู้ประกอบธุรกิจทวงหนี้ …
บุคคลล้มละลายคืออะไร เพราะอะไรถึงเป็นบุคคลล้มละลาย การตกเป็นบุคคลล้มละลายคืออะไร ? บุคคลคลล้มละลาย ส่วนใหญ่แล้วเกิดจากมีหนี้สินเกินกว่าที่จะชำระหนี้ได้ จึงถูกเจ้าหนี้ฟ้องล้มละลาย โดยการจะถูกฟ้องล้มละลายนั้นมีสาเหตุมาจาก บุคคลธรรมดา มีหนี้สินมากกว่า 1 ล้านบาท นิติบุคคล มีหนี้สินมากกว่า 2 ล้านบาท ผู้ที่มีแนวโน้ม มีหนี้สินล้นพ้นตัว หรือ ไม่มีความสามารถที่จะชำาระหนี้ได้ การตกเป็นบุคคลล้มละลายส่งผลอะไรต่อชีวิตบ้าง ? หลายท่านอาจเกิดความสงสัยว่าการตกเป็นบุคคลล้มละลายจะทำให้ชีวิตเราเปลี่ยนไปอย่างไร ซึ่งอาจสรุปได้ ดังนี้ ไม่สามารถทำนิติกรรมใด ๆ ได้ทั้งสิ้น รวมไปถึงธุรกรรมการเงินต่าง ๆ เช่น การเปิดบัญชีธนาคาร การโอนเงิน การถอนเงิน เป็นต้น ไม่สามารถสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือดำรงตำแหน่งทางการเมือง รวมถึงไม่สามารถรับราชการ หรือถ้ากรณีรับราชการอยู่แล้วก็จะต้องออกจากราชการ หรือกรณีที่เป็นพนักงานบริษัทเอกชนก็จะต้องออกจากงานในกรณีที่บริษัทนั้นกำหนดว่าพนักงานของตนต้องไม่เป็นบุคคลล้มละลาย …
เมื่อเจ้าหนี้ยื่นฟ้องแล้ว ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ โอนย้ายทรัพย์สิน มีความผิดฐานใด? โดยปกติแล้วหากเป็นหนี้ก็ต้องชำระต่อกันถูกต้องมั้ยคะ โดยปกติแล้วเจ้าหนี้ทุกท่านก็ต้องการเงินที่ถูกยืมคืน แต่ในกรณีที่ลูกหนี้ไม่ยอมชำระหนี้ ลูกหนี้บางรายอาจมีพฤติกรรมที่เกินเลยถึงขั้นไม่ต้องให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้อีกด้วย ซึ่งลูกหนี้มีพฤติกรรมที่ไม่ต้องการชำระหนี้ในทางกฎหมายแล้วมีความผิดฐานโกงเจ้าหนี้นั่นเอง ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 350 กำหนดไว้ว่า “ผู้ใดเพื่อมิให้เจ้าหนี้ของตนหรือของผู้อื่นได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ซึ่งได้ใช้หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้ ย้ายไปเสีย ซ่อนเร้น หรือโอนไปให้แก่ผู้อื่นซึ่งทรัพย์ใดก็ดี แกล้งให้ตนเองเป็นหนี้จำนวนใดอันไม่เป็นความจริงก็ดี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” สรุปง่ายๆก็คือ ภายหลังจากเจ้าหนี้ได้ส่งหนังสือบอกกล่าวทวงถามหนี้ (Notice) แล้ว ลูกหนี้มีทรัพย์สินไม่ว่าจะเป็น ทรัพย์สินอะไรก็ตาม ลูกหนี้อาจจะถูกเจ้าหนี้บังคับคดีเพื่อเอาทรัพย์สินลูกหนี้มาชำระหนี้ได้ แต่ถ้าลูกหนี้ไปโอนเปลี่ยนชื่อทรัพย์สินไปให้แก่ผู้อื่น หรือแกล้งให้ตนเป็นหนี้จำนวนใดอันไม่เป็นความจริง ทำให้เจ้าหนี้ได้รับความสียหาย เจ้าหนี้มีสิทธิฟ้องลูกหนี้เป็นคดีอาญา โดยเจ้าหนี้สามารถฟ้องทั้งตัวลูกหนี้และตัวผู้รับโอนทรัพย์สินจากลูกหนี้ให้เป็นเป็นจำเลยร่วมกับลูกหนี้ได้ โดนโทษอะไรบ้างหากทำผิดมาตรา 350 “ …
ผู้ค้ำประกันมีสิทธิ์อะไรบ้าง หากถูกบังคับคดี? เวลามนุษย์เรามีปัญหาเรื่องเงินทองเดือดร้อนต้องใช้เงินจริงๆ ก็คงไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากการหยิบยืมจาก สถาบันการเงินบ้าง เพื่อนบ้าง ครอบครัว หรือการกูเงินนอกระบบ ถ้าหากเรากู้จากสถาบันการเงินหรือกู้เงินนอกระบบ ก็อาจจะไม่ให้กู้เพราะไม่มีอะไรเป็นหลักประกันได้ว่าคุณจะมีเงินมาคืนเขาก็ทองเรียกทรัพย์มาเป็นหลักประกันเพื่อความให้เกิดความมั่นใจว่าเราจะสามารชำระหนี้ให้เขาได้ แต่ถ้าหากท่านไม่มีทรัพย์หล่ะ จะต้องทำอย่างไร ก็ต้องหาผู้ค้ำประกันไม่ว่าจะเป็นเพื่อน พี่น้อง พ่อแม่หรือบุคคลอื่นๆ ในครอบครัว ค้ำประกันคือการใครคนหนึ่งทำสัญญากับเจ้าหนี้ว่าถ้าลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ผู้ค้ำประกันจะชำระหนี้นั้นแทนเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้เจ้าหนี้ก็ย่อมมีสิทธิรียกร้องหรือฟ้องให้ค้ำประกันรับผิดได้ ดังนั้นในฐานะผู้ค้ำประกันจะมีสิทธิ์ปกป้องตัวเองได้อย่างไรบ้าง วันนี้ ธรรมนิติ จะพาไปหาคำตอบกันได้เลยค่ะ การค้ำประกันคือ การค้ำประกันเป็นการทำสัญญา ซึ่งต้องมีบุคคลภายนอก หรือที่เรียกว่า ผู้ค้ำประกัน โดยต้องเข้ามาผูกพันทางกฎหมายต่อเจ้าหนี้ เพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้กรณีลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามสัญญา ในการทำสัญญาค้ำประกันนี้ จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใด พร้อมกับลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันไว้ด้วย มิฉะนั้นจะฟ้องบังคับคดีกันไม่ได้ สัญญาค้ำประกันจะต้องระบุหนี้หรือสัญญาค้ำประกันไว้โดยชัดแจ้ง และ ผู้ค้ำประกันย่อมรับผิดเฉพาะหนี้หรือสัญญาที่ระบุไว้เท่านั้น กรณีเมื่อลูกหนี้ผิดนัด เมื่อถึงกำหนดวันเวลาที่ต้องชำระหนี้ตามที่ได้ตกลงกับเจ้าหนี้แล้ว กฎหมายกำหนดให้เจ้าหนี้มีหนังสือบอกกล่าวไปยังผู้ค้ำประกันภายในหกสิบวัน นับแต่วันที่ลูกหนี้ผิดนัด ในระหว่างนี้ห้ามเจ้าหนี้เรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ก่อนที่หนังสือบอกกล่าวจะไปถึงผู้ค้ำประกัน …
ระยะเวลาของการบังคับคดี หลายๆท่านอาจจะสงสัยว่าเมื่อศาลมีคำพิพากษาให้จำเลยชดใช้เงินหรือกระทำการใดๆ หากจำเลยไม่ปฏิบัติจามคำพิพากษา โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมสามารถที่จะทำเรื่องบังคับคดีได้ โดยระยะเวลาของการบังคับคดีมีเวลาทั้งหมด 10 ปี นับตั้งแต่มีคำพิพากษา ซึ่งระยะเวลาการบังคับคดีนี้หมายเรียกช่วงเวลาที่ฝ่ายโจทก์หรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาสามารถที่จะทำเรื่องยึดหรืออายัดทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ ถ้าหากเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่ได้ยื่นขอบังคับคดีต่อกรมบังคับคดีภายในระยะเวลา 10 ปี ย่อมหมดสิทธิ์ที่จะไปดำเนินการใดๆกับทรัพย์สินของลูกหนี้ แต่ถ้าหากโจทก์ได้ดำเนินการบังคับคดีและตั้งเรื่องยึดไว้ ไม่ว่าจะเป็นระยะเวลา 10ปี 20ปี 30ปี ก็สามารถที่จะยึดได้ หากท่านสงสัยว่าทรัพย์สินแบบไหนสามารถยึดหรืออายัดได้บ้าง? ของมีค่า เครื่องประดับทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น เพชร พลอย นาฬิกาและของสะสมที่มีมูลค่า บ้าน ที่ดิน และถึงแม้ว่าจะยังติดจำนองอยู่ก็สามารถที่จะยึดได้เช่นกัน รถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของลูกหนี้ และไม่ได้เป็นเครื่องมือในการประกอบอาชีพ เงินในบัญชีเงินฝาก หรือเงินปันผลจากการลงทุน ทรัพย์สินที่เป็นการลงทุน อาทิ หุ้น ทองคำ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ dbcorp.co.th/เจ้าหนี้สามารถยึดอะไร/ …