ผู้ค้ำประกันมีสิทธิ์อะไรบ้าง หากถูกบังคับคดี? เวลามนุษย์เรามีปัญหาเรื่องเงินทองเดือดร้อนต้องใช้เงินจริงๆ ก็คงไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากการหยิบยืมจาก สถาบันการเงินบ้าง เพื่อนบ้าง ครอบครัว หรือการกูเงินนอกระบบ ถ้าหากเรากู้จากสถาบันการเงินหรือกู้เงินนอกระบบ ก็อาจจะไม่ให้กู้เพราะไม่มีอะไรเป็นหลักประกันได้ว่าคุณจะมีเงินมาคืนเขาก็ทองเรียกทรัพย์มาเป็นหลักประกันเพื่อความให้เกิดความมั่นใจว่าเราจะสามารชำระหนี้ให้เขาได้ แต่ถ้าหากท่านไม่มีทรัพย์หล่ะ จะต้องทำอย่างไร ก็ต้องหาผู้ค้ำประกันไม่ว่าจะเป็นเพื่อน พี่น้อง พ่อแม่หรือบุคคลอื่นๆ ในครอบครัว ค้ำประกันคือการใครคนหนึ่งทำสัญญากับเจ้าหนี้ว่าถ้าลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ผู้ค้ำประกันจะชำระหนี้นั้นแทนเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้เจ้าหนี้ก็ย่อมมีสิทธิรียกร้องหรือฟ้องให้ค้ำประกันรับผิดได้ ดังนั้นในฐานะผู้ค้ำประกันจะมีสิทธิ์ปกป้องตัวเองได้อย่างไรบ้าง วันนี้ ธรรมนิติ จะพาไปหาคำตอบกันได้เลยค่ะ การค้ำประกันคือ การค้ำประกันเป็นการทำสัญญา ซึ่งต้องมีบุคคลภายนอก หรือที่เรียกว่า ผู้ค้ำประกัน โดยต้องเข้ามาผูกพันทางกฎหมายต่อเจ้าหนี้ เพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้กรณีลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามสัญญา ในการทำสัญญาค้ำประกันนี้ จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใด พร้อมกับลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันไว้ด้วย มิฉะนั้นจะฟ้องบังคับคดีกันไม่ได้ สัญญาค้ำประกันจะต้องระบุหนี้หรือสัญญาค้ำประกันไว้โดยชัดแจ้ง และ ผู้ค้ำประกันย่อมรับผิดเฉพาะหนี้หรือสัญญาที่ระบุไว้เท่านั้น กรณีเมื่อลูกหนี้ผิดนัด เมื่อถึงกำหนดวันเวลาที่ต้องชำระหนี้ตามที่ได้ตกลงกับเจ้าหนี้แล้ว กฎหมายกำหนดให้เจ้าหนี้มีหนังสือบอกกล่าวไปยังผู้ค้ำประกันภายในหกสิบวัน นับแต่วันที่ลูกหนี้ผิดนัด ในระหว่างนี้ห้ามเจ้าหนี้เรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ก่อนที่หนังสือบอกกล่าวจะไปถึงผู้ค้ำประกัน …
ระยะเวลาของการบังคับคดี หลายๆท่านอาจจะสงสัยว่าเมื่อศาลมีคำพิพากษาให้จำเลยชดใช้เงินหรือกระทำการใดๆ หากจำเลยไม่ปฏิบัติจามคำพิพากษา โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมสามารถที่จะทำเรื่องบังคับคดีได้ โดยระยะเวลาของการบังคับคดีมีเวลาทั้งหมด 10 ปี นับตั้งแต่มีคำพิพากษา ซึ่งระยะเวลาการบังคับคดีนี้หมายเรียกช่วงเวลาที่ฝ่ายโจทก์หรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาสามารถที่จะทำเรื่องยึดหรืออายัดทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ ถ้าหากเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่ได้ยื่นขอบังคับคดีต่อกรมบังคับคดีภายในระยะเวลา 10 ปี ย่อมหมดสิทธิ์ที่จะไปดำเนินการใดๆกับทรัพย์สินของลูกหนี้ แต่ถ้าหากโจทก์ได้ดำเนินการบังคับคดีและตั้งเรื่องยึดไว้ ไม่ว่าจะเป็นระยะเวลา 10ปี 20ปี 30ปี ก็สามารถที่จะยึดได้ หากท่านสงสัยว่าทรัพย์สินแบบไหนสามารถยึดหรืออายัดได้บ้าง? ของมีค่า เครื่องประดับทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น เพชร พลอย นาฬิกาและของสะสมที่มีมูลค่า บ้าน ที่ดิน และถึงแม้ว่าจะยังติดจำนองอยู่ก็สามารถที่จะยึดได้เช่นกัน รถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของลูกหนี้ และไม่ได้เป็นเครื่องมือในการประกอบอาชีพ เงินในบัญชีเงินฝาก หรือเงินปันผลจากการลงทุน ทรัพย์สินที่เป็นการลงทุน อาทิ หุ้น ทองคำ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ dbcorp.co.th/เจ้าหนี้สามารถยึดอะไร/ …
PDPA คืออะไร และสำคัญอย่างไร PDPA ย่อมาจาก Personal Data Protection Act ในปัจจุบันมนุษย์เราให้ความสำคัญกับข้อมูลส่วนบุคคล และความเป็นส่วนตัวกันมากขึ้นเลื่อยๆ แต่ว่าตั้งแต่มีโซเชียลมีเดียต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Line, Facebook, Instagram, twitter ที่ในปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น X, Tiktok และแอพพลิเคชั่นอื่นๆ ตัวท่านเองก็คงจะรู้สึกได้ว่าความเป็นส่วนตัวค่อยๆลดลงไป ท่านก็คงจะเห็นได้บ่อยๆในโซเชียลว่ามีการคอมเมนท์พาดพิง, การบูลลี่รูปร่างหน้าตา และอีกมากมายที่ล้ำเส้นความเป็นส่วนตัว บริษัท ดี.บี.คอร์ปอร์เรชั่น จึงอยากจะชวนท่านมาทำความรู้จักกับ PDPA กฎหมายเกี่ยวกับสิทธิส่วนบุคคลที่ทุกท่านควรทราบและให้ความสำคัญ PDPA คืออะไร PDPA ย่อมาจาก Personal Data Protection Act PDPA …
กู้เงินนอกระบบผิดหรือไม่? เป็นคำถามที่ถูกพูดถึงในสังคมไทยมาอย่างยาวนาน หบายๆท่านคงจะคาใจกันใช่มั้ยคะว่าสรุปเเล้ว เงินกู้นอกระบบผิดหรือไม่ เเต่ก่อนหน้านั้นเรามารู้จักกับคำว่า หนี้นอกระบบ เเละหนี้ในระบบกันก่อนดีกว่าค่ะ เงินกู้นอกระบบคือ เงินที่ให้กู้ยืมโดยไม่ผ่านระบบของสถาบันการเงิน หรือไม่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทยและกระทรวงการคลัง เป็นเงินกู้ที่ไม่มีระเบียบข้อบังคับใช้กับเจ้าหนี้ หรือบางครั้งต้นทางของเงินอาจมาจากการกระทำที่ผิดกฎหมาย เช่น การพนัน ยาเสพติด หรือการฟอกเงิน เมื่อเรากู้นอกระบบ เงินที่ได้มาก็จะถือเป็นหนี้นอกระบบ เงินกู้ในระบบ คือ การกู้ยืมเงินผ่านสถาบันการเงิน ไม่ว่าจะเป็นการไปกู้เงินที่ธนาคารด้วยตัวเอง การใช้เงินจากบัตรเครดิต การขอสินเชื่อบ้าน และสินเชื่อรถ ซึ่งหนี้ในลักษณะนี้ กฎหมายจะมีการรับรองว่ามีการกู้หนี้ยืมสินจริง มีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยที่เป็นไปตามกฎหมาย และหากผู้กู้ทำผิดสัญญา ไม่ยอมผ่อนชำระหนี้ตามที่กฎหมายกำหนด ย่อมถูกดำเนินคดีแพ่งได้ สรุปเเล้วเงินกู้บอกระบบผิดหรือไม่? หนี้นอกระบบหรือการกู้เงินนอกระบบจะไม่ถือว่าเป็นการผิดกฎหมายโดยสิ้นเชิง แต่จะผิดในแง่มุมที่ว่าเจ้าหนี้ใช้ความรุนเเรงทั้งในการใช้กำลังหรือพูดจารุนเเรงในการติดตามทวงถามหนี้ เจ้าหนี้บางรายอาจจะถึงขั้นทำลายข้าวของจนทำให้เกิดความเสียหายเเก่ข้าวของของลูกหนี้จนมันเป็นเรื่องรุกรามใหญ่โต ในกรณีนี้เจ้าหนี้อาจถูกดำเนินคดีในข้อหา ฝ่าฝืน พ.ร.บ.การทวงถามหนี้ฯ โดยโทษจะมีตั้งแต่จำคุก …
ยึดอสังหาริมทรัพย์ประเภทรถยนต์ ต้องทำอย่างไร ในทางกฎหมายได้ให้อำนาจในการยึด อายัด ทรัพย์ ให้กับเจ้าพนักงานบังคับคดีเท่านั้น แต่เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่มีหน้าที่ตรวจสอบหาหลักฐานหรือสืบทรัพย์ลูกหนี้ ฉะนั้นแล้ว เรื่องของการหาหลักฐานเพื่อพิสูจน์ถึงทรัพย์ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยหรือลูกหนี้ในคดีจึงตกเป็นหน้าที่ของฝ่ายโจทก์หรือนักบังคับคดีที่ได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ เป็นคนดำเนินการ การสืบทรัพย์ประเภทรถยนต์ สามารถยื่นเอกสารขอตรวจกรรมสิทธิ์ได้ที่กรมการขนส่งทางบกใกล้บ้านท่าน เนื่องจากกรมการขนส่งทางบก มีข้อมูลถึงกันทั้งหมดทั่วประเทศ จึงไม่จำเป็นต้องเดินทางไปตรวจตามถิ่นที่อยู่ของจำเลย โดยนำคำพิพากษาและหมายบังคับคดี แนบกับคำร้องขอตรวจกรรมสิทธิ์ ยื่นต่อเจ้าพนักงานกรมการขนส่งทางบก (ใบคำร้องมีบริการที่ขนส่ง) กรณีที่โจทก์มอบอำนาจให้นักบังคับคดีไปตรวจกรรมสิทธิ์แทน ต้องทำหนังสือมอบอำนาจติดอากรสแตมป์ 10 บาท แนบเพิ่มไปด้วยค่ะ เมื่อเราพบทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว ให้ดูในเอกสารด้านล่าง จะมีระบุ 2 รายการ คือ 1 ผู้ครอบครอง และ 2 ผู้ถือกรรมสิทธิ์ ***ให้ตรวจสอบชื่อผู้ถือกรรมสิทธฺิ์เท่านั้นว่าเป็นชื่อจำเลยหรือลูกหนี้ในคดีหรือไม่ หากไม่ใช่ชื่อของจำเลยหรือลูกหนี้ในคดีจะไม่สามารถยึดทรัพย์ได้ เมื่อตรวจได้เอกสารรายละเอียดทรัพย์มาแล้วให้เจ้าหน้าที่กรมการขนส่งรับร้องเอกสารด้วย (ตามกฎหมายเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ที่จะใช้ยื่นบังคับคดีจะต้องมีการรับรองจากเจ้าหน้าที่ไม่เกิน 1 …
เจ้าหนี้สามารถยึดอะไรได้บ้าง ในปัจจุบันปัญหาใหญ่ของคนไทยคงหนีไม่พ้นเรื่องหนี้ ซึ่งหนี้ส่งผลกระทบเป็นอย่างมากต่อการใช้ชีวิตในปัจจุบัน เพราะมีเงินก็ต้องนำไปจ่ายหนี้ เเละยังส่งผลกระทบทางการเงินในอนาคตอีกด้วย เกือบ 30% ของลูกหนี้บัตรเครดิตและหนี้ส่วนบุคคล มีหนี้เกิน 4 บัญชีต่อคน วงเงินรวมต่อคนสูงถึง 10–25 เท่าของรายได้ในแต่ละเดือน ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ของต่างประเทศที่ห้ามไม่ให้มีหนี้เกินกว่า 5–12 เท่าของรายได้ต่อเดือน จนทำให้รายได้เกินกว่าครึ่งต้องเอาไปจ่ายคืนหนี้ ซึ่งเป็นภาระหนี้ที่มาจากหนี้บัตรเครดิตและหนี้ส่วนบุคคลเกิน 50% หนี้สองประเภทนี้จึงถือเป็นศูนย์กลางของปัญหากับดักหนี้ของคนไทย ที่สำคัญหนี้บัตรเครดิตและหนี้ส่วนบุคคลมีดอกเบี้ยสูง เนื่องจากเป็นหนี้ที่ไม่มีหลักประกัน ระยะเวลาผ่อนสั้น ทำให้มีหนี้ที่ต้องชำระคืนต่อเดือนสูง ลูกหนี้จึงมีความเสี่ยงที่จะจ่ายไม่ไหวจนกลายเป็นหนี้เสีย เห็นได้จากจำนวนบัญชีของลูกหนี้รายย่อยที่เป็นหนี้เสีย เป็นหนี้บัตรเครดิตและหนี้ส่วนบุคคลมากกว่า 60% เมื่อชำระหนี้ไม่ได้ ก็อาจถูกยึดหรืออายัดทรัพย์ คำว่า “ยึด” มีความหมายกว้างๆ ว่าการกระทำการใดๆ ต่อทรัพย์สินของบุคคลที่ถูกยึดเพื่อให้ทรัพย์สินนั้นได้เข้ามาอยู่ในความควบคุม ดูแล หรือครอบครองของผู้ดำเนินการยึดทรัพย์สินนั้น ส่วนคำว่า “อายัด” …
ยืมเงินผ่านเเชทสามารถฟ้องได้หรือไม่? ในปัจจุบันเทคโนโลยีของโลกเราได้พัฒนาไปไกล บ่อยครั้งที่คนใกล้ชิดหรือคนรู้จักมักจะทักมาข้อยืมเงินผ่านทางแอปพลิเคชั่น Facebook,Line,Instagram หรือทางแอปพลิเคชั่นอื่นๆโดยไม่มีการเขียนสัญญากันไว้ สาเหตุที่ไม่ได้เขียนสัญยากันอาจเกิดจากความไว้ใจที่ผู้ให้ยืมมีให้ จึงเกิดคำถามว่า “ยืมเงินผ่าน Facebook,Line สามารถฟ้องคดีได้หรือไม่” การทักขอยืมเงินผ่านแชท หรือแชทไลน์ สามารถนำมาใช้เป็นหลักฐานในการฟ้องร้องได้ แม้จะไม่ได้มีการทำหนังสือกู้ยืมเงิน เป็นลายลักษณ์อักษรก็ตาม เพราะการกู้ยืมเงินกันผ่านแอปพลิเคชั่นเฟซบุ๊กหรือไลน์นั้น ถือว่าได้มีหลักฐานเป็นหนังสือตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว โดยนำพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 ตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 บัญญัติว่า “ห้ามมิให้ปฏิเสธความมีผลผูกพันและการบังคับใช้ทางกฎหมายของข้อความใดเพียงเพราะเหตุที่ข้อความนั้นอยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” ดังนั้น โดยผลของกฎหมายตามมาตรา ๗ ดังกล่าว ผู้กู้ยืมเงินจึงไม่อาจที่จะปฏิเสธความผูกพันกับผู้ให้กู้ยืมเงินตามข้อความที่มีการสื่อสารส่งข้อความสื่อสารกันผ่านทางไลน์ (LINE) หรือทางเฟสบุ๊ค (Facebook) ซึ่งตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ยังได้บัญญัติให้การจัดทำข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเข้าถึงและนำกลับมาให้ได้โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลง …
หน้าที่เเละอำนาจของกรมบังคับคดี กรมบังคับคดีทำหน้าที่ให้บริการด้านการบังคับคดีแพ่ง คดีล้มละลาย การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ การชำระบัญชี การวางทรัพย์ และการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจะมีความเกี่ยวข้องกับประชาชนทั้งทางตรงและทางอ้อม จึงมีความจำเป็นที่จะต้องให้ประชาชนได้เข้าใจในสิทธิของตนเองด้านการบังคับคดี ทั้งความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายด้านการบังคับคดีและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และเข้าถึงบริการต่างๆของกรมบังคับคดี มีอำนาจดังต่อไปนี้ 1. ดำเนินการบังคับคดีตามคำสั่งศาล 2. ดำเนินการบังคับคดีล้มละลายตามคำสั่งศาล 3. ดำเนินการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ตามคำสั่งของศาล 4. ดำเนินการตรวจสอบสิทธิทางบัญชีของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อรับส่วนแบ่งจากคดีตรวจสอบค่าใช้จ่าย และเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการบังคับคดี 5. ชำระบัญชีห้างหุ้นส่วน บริษัท หรือ นิติบุคคลในฐานะผู้ชำระบัญชีตามคำสั่งศาล 6. รับวางทรัพย์จากลูกหนี้หรือผู้มีสิทธิวางทรัพย์ 7. ดำเนินการประเมินราคาทรัพย์ 8. ดำเนินการเกี่ยวกับการเดินหมาย คำคู่ความ หนังสือ หรือประกาศของศาล หรือหน่วยงานในสังกัดกรม 9. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรม หรือตามที่กระทรวงหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย …
การบังคับคดีเริ่มต้นอย่างไร EP 1 หลายคนมีประสบการณ์ที่เสียเงินจ้างทนายความจนชนะคดีมาแล้วแต่ยังไม่ได้รับชำระหนี้เลย เรียกว่ามีคำพิพากษาอยู่ในมือแต่ยังหาทางออกไม่ได้ว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป เราคงหลีกเลี่ยงไม่ได้กับการบังคับคดี ซึ่งเวลาบังคับคดีสูงสุดไม่เกิน 10 ปี ดังนั้นการสืบหาที่อยู่ สืบทรัพย์สิน หรือสืบสถานะของลูกหนี้ ต้องรู้ให้ได้และรู้ให้เร็วเพื่อประกอบการตัดสินใจว่าก้าวต่อไปควรทำอย่างไร บริษัท ดี.บี. คอร์เปอร์เรชั่น จำกัด ขอนำเสนอการติดตามหนี้สินด้วยตนเอง การสืบที่อยู่เบื้องต้น เพื่อเป็นความรู้ให้กับท่านที่สนใจ การบังคับคดีเริ่มต้นจาก การสืบที่อยู่ และที่อยู่นั้นต้องเป็นที่อยู่ตามทะเบียนบ้านเท่านั้น หรือภาษาทางการเรียกว่าทะเบียนราษฎร์ ซึ่งเป็นสถานที่ทางราชการใช้อ้างอิง ที่อยู่ตามบัตรประชาชนจะใช้ไม่ได้ ขั้นตอนแรก ตรวจสอบทะเบียนบ้านของลูกหนี้ว่าอยู่จังหวัดไหน อยู่บริเวณใด เพื่อทำการตรวจสอบว่าบ้านหลังดังกล่าว เป็นที่อยู่ที่ลูกหนี้อยู่จริง ๆ เสียก่อนถึงแม้จะไม่ได้อยู่จริง ๆ ก็ตาม ไม่ใช่มีแต่ที่ดินเปล่า ๆ แต่ไม่มีบ้าน (เรื่องตลกนี้เกิดขึ้นกับหลายคนมาแล้ว) เมื่อทราบข้อมูลดังกล่าวแล้ว …
อายุความคือระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดให้ผู้ที่เกี่ยวข้องดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้าไม่ดำเนินการแล้วจะเกิดความเสียหายแก่สิทธิในการต่อสู้เรียกร้องความเสียหายหรือบังคับกับคู่กรณีได้ อายุความมีทั้งทางแพ่งและทางอาญา ผลของการไม่ใช้สิทธิภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ส่งผลต่อท่านอย่างแน่นอนเพราะเจตนารมย์ในการออกกฎหมายเกี่ยวกับอายุความก็คือการให้เกิดความสงบสุขเรียบร้อย ไม่ปล่อยเวลานานจนเกินไปให้แก่ผู้ไม่รักษาสิทธิของหรือผู้ที่นอนหลับทับสิทธิของตนเอง เช่นในทางกฎหมายแพ่ง ถ้าเป็นเจ้าหนี้ ลูกหนี้มีสิทธิปฏิเสธการชำระหนี้ได้ เช่น *ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ บ้าน คอนโดผู้ให้เช่าจะฟ้องผู้เช่าที่ค้างค่าเช่า ต้องฟ้องภายใน 6 เดือนนับแต่วันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่า *โอนเงินผิดเข้าบัญชีคนอื่น ต้องฟ้องเรียกเงินคืนฐานลาภมิควรได้ภายใน 1 ปีนับตั้งแต่ คนที่รับโอนไปแล้วไม่คืน *เจ้าของอู่รถแท็กซี่ฟ้องเรียกค่าเช่าจากผู้ขับแท็กซี่ต้องฟ้องภายใน 2 ปี หนี้บัตรเครดิต ต้องฟ้องคดีภายใน 2 ปีนับตั้งแต่วันชำระครั้งสุดท้าย *โรงเรียน มหาวิทยาลัย ฟ้องเรียกเอาค่าเล่าเรียนที่ค้างต้องฟ้องภายใน 2 ปี *ฟ้องเรียกเอาเงินกู้ยืมเงินซึ่งมีสัญญาผ่อนคืนเป็นงวดๆ ต้องฟ้องคดีภายใน 5 ปี เหมือนกับสินเชื่อบุคคลให้เงินสดที่ต้องผ่อนชำระคืนเป็นงวดๆ ต้องฟ้องคดีภายใน 5 …