เรียน ลูกค้าและผู้ติดต่อบริษัททุกท่าน บริษัท ดี.บี.คอร์ปอร์เรชั่น จำกัด ขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า นางสาวพลอยนภัส ธนพัฒนดุสิต ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายขาย ได้พ้นสภาพการเป็นพนักงาน บริษัท ดี.บี.คอร์ปอร์เรชั่น จำกัด ตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม 2567 เป็นต้นมา และ นายโกศล วรรโณทยาน ตำแหน่งเจ้าหน้าที่สืบทรัพย์ บังคับคดี ได้พ้นสภาพการเป็นพนักงาน บริษัท ดี.บี.คอร์ปอร์เรชั่น จำกัด ตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม 2567 เป็นต้นมา บริษัท ดี.บี.คอร์ปอร์เรชั่น จำกัด ถือว่าการกระทำของ นางสาวพลอยนภัส ธนพัฒนดุสิต และ นายโกศล …
ท่านเจ้าหนี้หลายๆ ท่านคงจะรู้กันแล้วใช่ไหมคะว่ากรมบังคับคดีสามารถยึดที่ดินที่ลูกหนี้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ได้ แต่ถ้าหากที่ดินฝืนนั้นมีผู้ถือครองหลายคนล่ะ สามารถทำอย่างไรได้บ้าง หาคำตอบได้จากบทความนี้เลยค่ะ ขออนุญาตเท้าความก่อนนะคะว่าท่านเจ้าหนี้เมื่อมีคำพิพากษาแล้วสามารถยึดอะไรได้บ้าง เบื่องต้นสามารถยึด – ของมีค่า เครื่องประดับทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น เพชร พลอย นาฬิกาและของสะสมที่มีมูลค่า – บ้าน ที่ดิน และถึงแม้ว่าจะยังติดจำนองอยู่ก็สามารถที่จะยึดได้เช่นกัน – รถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของลูกหนี้ และไม่ได้เป็นเครื่องมือในการประกอบอาชีพ – เงินในบัญชีเงินฝาก หรือเงินปันผลจากการลงทุน – ทรัพย์สินที่เป็นการลงทุน อาทิ หุ้น ทองคำ เป็นต้น การขอยึดที่ดินของลูกหนี้ที่ครอบครองร่วมกับผู้อื่น แบ่งออกได้เป็น 2 กรณี กรณีที่ 1 ที่ดินของลูกหนี้ที่แบ่งเขตการครอบคครองกันอย่างชัดเจน สามารถพิสูจน์ได้ คำตอบคือ สามารถยึดเฉพาะส่วนของลูกหนี้ได้เลย …
วีธีการทวงหนี้ของเรา เราจะบอกเลยว่าเราไม่เลือกวิธีฟ้องศาลเป็นทางเลือกแรก ถ้าฟ้องศาลเนี่ยเราจะมาเส้นทางนี้ทำไม ไปดูกฎหมายกัน ด้วยอำนาจแห่งมูลหนี้ เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิจะเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์) เราไม่ได้คุกคาม หรือข่มขู่ลูกหนี้ เราเป็นเพียงแค่พนักงานรับจ้างทวงหนี้ บริการของเราคือลงพื้นที่ เรียกลูกหนี้มาเจรจา แทนท่านเจ้าหนี้ว่าให้จ่ายหนี้ อย่าหนี ทุกอย่าง พูดคุยกันได้ครับ หากเรียกแล้ว หรือ โทรแล้ว ลูกหนี้ไม่รับสาย เราจะไม่โทรล่ะ เพราะกฎหมายการควบคุมการทวงหนี้ มีใจความสำคัญ คือ การทวงหนี้วันธรรมดา โทรทวงได้เพียงแค่ 1 ครั้งก็คือ 8:00 น ถึง 20:00 น เสาร์อาทิตย์โทรได้ 8:00 น ถึง 18:00 น …
อายัดเงินเดือน คืออะไร ท่านอาจจะเคยได้ยินคำว่า “อายัดเงินเดือน” กันมาบ้าง ยกตัวอย่างเช่นหลายๆบทความที่ผ่านมาของเราก็คงสงสัยกันใช่ไหมคะว่าต้องทำอย่างไรและมีข้อจำกัดอย่างไรบ้าง ซึ่งการอายัดเงินเดือนนั้นเป็นหนึ่งในทางเลือกที่เจ้าหนี้หลายๆท่านใช้ในการเรียกเงินคืนจากลูกหนี้ มาดูกันดีกว่าค่ะว่า “การอายัดเงินเดือนคืออะไร” การอายัดเงินเดือน เมื่อศาลมีคำพิพากษาให้เจ้าหนี้ชนะคดี หากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษาภายใน 30 วัน เจ้าหนี้มีสิทธิอายัดสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ได้ โดยตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อออกหมายอายัดต่อไป การอายัดเงินเดือน โบนัส ค่าตอบแทนต่างๆ หากเจ้าหนี้รายแรกขออายัดเงินเดือนแล้ว เจ้าหนี้รายอื่นจะทำเรื่องขออายัดซ้ำไม่ได้ ต้องรอคิวให้รายแรกอายัดครบก่อน หรืออาจจะขอหารส่วนแบ่งเงินที่ถูกอายัดจากเจ้าหนี้รายแรกก็ได้ ถ้ารอก็จะรอได้ไม่เกิน 10 ปี หากเกิน 10 ปีก็จะหมดอายุความ หลักเกณฑ์ในการอายัดเงินเดือน เงินเดือน ค้าจ้าง บำเหน็จ บำนาญ ของ “ข้าราชการ” ไม่สามารอายัดได้ ลูกหนี้ที่เป็นพนักงานสามรถยาอัดได้ แต่ต้องมีเงินเดือนมากกว่า 20,000 …
หนี้นอกระบบ ไม่มีสัญญาสามารถฟ้องร้องได้ไหม? เมื่อประสบปัญหาด้านการเงิน การกู้เงินก็คงจะเป็นทางออกที่หลายๆท่านเลือกที่จะใช้เป็นทางเลือกแรกๆ แต่จะไปกู้จากธนาคารก็เครดิตไม่ดีพอที่จะกู้ ก็เลยต้องยอมกู้เงินดิกระบบที่ดอกเบี้ยแสนแพงทำให้ในบางงวดอาจไม่สามารถจ่ายไหว แล้วถ้าเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นจริงๆ จะโดนเจ้าหนี้ฟ้องได้หรือไม่? หนี้นอกระบบ คืออะไร? มีกี่ประเภท? เงินกู้ที่มีลักษณะตรงข้ามกับเงินกู้ในระบบทุกอย่าง กล่าวคือ เป็นการกู้เงินที่ไม่มีการรับรองจากกฎหมาย มีลักษณะเป็นการยืมเงินปากเปล่า หรือมีการบันทึกข้อความ สัญญาไว้เป็นหลักฐานก็ได้ ตัวอย่างของเงินกู้นอกระบบ เช่น พวกเงินด่วนทั้งหลายที่มีการแปะประกาศตามรั้ว ตามเสาไฟฟ้า หรือมีการบอกต่อกันแบบปากต่อปาก หรือเป็นการปล่อยกู้กันเองในกลุ่มคนรู้จัก รวมถึงสื่อตามอินเทอร์เน็ตต่างๆ ที่ไม่ได้มีการรับรองตามกฎหมาย หนี้นอกระบบแบบรายวัน : เป็นหนี้ที่ให้ผู้กู้ยืมเงินจำนวนหนึ่งโดยคิดดอกเบี้ยรายวัน อัตราดอกเบี้ยมักจะสูงมาก เช่น ดอกเบี้ย 30% ต่อเดือน หนี้นอกระบบแบบรายเดือน : เป็นหนี้ที่ให้ผู้กู้ยืมเงินจำนวนหนึ่งโดยคิดดอกเบี้ยรายเดือน อัตราดอกเบี้ยมักจะต่ำกว่าหนี้นอกระบบแบบรายวัน …
สิ่งที่ลูกหนี้ต้องรู้! ก่อนตกลงทำ ‘สัญญากู้ยืมเงิน’ หลายๆท่านคงจะเคยเจอปัญหาด้านการเงินยิ่งเป็นยุคสมัยนี้ที่ค่าใช้จ่ายต่างๆ มูลค่าค่อนข้างสูง บางท่านก็แก้ปัญหาด้วยการหยิบยืมจากเพื่อนพี่น้อง หรือสถาบันการเงินต่างๆ แต่การกู้เงินไม่ใช่แค่การได้เงินมาแล้วจ่ายคืน ไม่ใช่เพียงได้เงินมาแล้วจ่ายคืน เพราะยังมีรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ที่ผู้กู้ควรรู้ก่อนทำการกู้ยืม แล้วรายละเอียดเหล่านั้น มีอะไรบ้าง ไปดูกันค่ะ กฎหมายการกู้ยืมเงิน กู้ยืมเงินเกิน 2,000 บาทขึ้นไป ต้องมีสัญญาการกู้ยืมเงินเป็นลายลักษณ์อักษร และต้องมีลายเซ็นผู้กู้ในสัญญา หากไม่มีหลักฐานหรือสัญญา จะไม่สามารถฟ้องร้องบังคับคดีได้ แม้ว่าหนี้นั้นจะชอบด้วยกฎหมายก็ตาม อัตราดอกเบี้ยการกู้ยืมห้ามเกิน 15% ต่อปี ถ้าหากกำหนดอัตราดอกเบี้ยเกิน ระวังโทษ จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ อายุความของคดีกู้ยืมเงิน หากมีการผิดสัญญาชำระเงิน …
ค้างค่างวดรถได้นานเท่าไหร่? จ่ายไม่ทันควรทำอย่างไร? เรื่องเงินไม่พอใช้ ค่าใช้จ่ายต่างๆที่เข้ามาจนการเงินของเราถึงขั้นสดุด ทำให้เกิดการค้างชำระค่าใช้จ่ายบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นค่าบ้าน ค่าไฟ ค่าน้ำ ค่าบัตรเครดิต หรือแม้แต่ ค่างวดรถ หลายๆท่านก็คงจะเข้าใจว่าถ้าหากเราค้างชำระช้ากว่าที่กำหนดท่านอาจจะโดนบริษัทติดต่อทวงถามหนี้ ซึ่งท่านสามารถผิดนัดชำระได้นานเท่าไหร่สามารถหาคำตอบได้ในบทความนี้เลยค่ะ ค้างค่างวดรถ นานเท่าไรถึงจะโดนยึดรถ การค้างค่างวดรถ กี่เดือน ถึงจะโดนยึด คำตอบก็คือ โดยทั่วไปแล้วเราจะต้องค้างค่างวดรถติดต่อกันเป็นเวลา 3 เดือน จากนั้นเค้าก็จะติดตามถามทวงอีก 30 วัน หากเกินจากนี้แล้วไม่ได้ไปชำระเงิน เราก็จะถูกยึดรถโดยปริยาย เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญที่คนที่มายึดมักจะไม่มาบอกเรา แต่หากของใครค้างนานกว่านี้แล้วไม่มีการแจ้งมาว่าจะยึดละก็ อย่าเพิ่งคิดว่าตัวเองโชคดีไป ขอให้เตรียมตัวไว้ว่า เค้าอาจจะมาแบบกองโจร เจอแล้วยึดเลย หมดสิทธิ์ต่อรองทั้งนั้น แต่ถ้ายังพอไหวในชำระค่างวดได้ในช่วง 1-2 งวดที่ขาดส่ง ให้พยายามชำระค่างวดเพื่อไม่ให้ค้างติดกัน 3 เดือน …
ทวงถามหนี้อย่างไรไม่ผิดกฎหมาย? ใครที่เคยเป็นเจ้าหนี้ก็คงเข้าใจความรู้สึกที่ต้องมาทวงหนี้กันใช่มั้ยคะ บางทีก็ไม่ได้อยากทวงบ่อยๆ แต่ลูกหนี้ไม่ยอมคืน ก็ไม่รู้ควรต้องทำอย่างไร ผู้ทวงถามหนี้ คือ เจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้ให้สินเชื่อ ผู้ประกอบธุรกิจตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค ผู้จัดให้มีการเล่นการพนันเป็นปกติธุระตามกฎหมายว่าด้วยการพนัน และเจ้าหนี้อื่นๆ ไม่ว่าหนี้ดังกล่าวจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ก็ตาม ธุรกิจทวงถามหนี้ คือ ผู้ประกอบธุรกิจรับจ้างทวงหนี้ ซึ่งต้องได้รับการจดทะเบียนทวงถามหนี้ต่อนายทะเบียน กรณีผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้เป็นทนายความ ให้จดทะเบียนกับสภาทนายความ ผู้ฝ่าฝืนไม่ไปจดทะเบียนมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท ใครมีสิทธิทวงหนี้ ? คือ เจ้าหนี้โดยตรง อาจเป็นสถาบันการเงิน ผู้ให้บริการสินเชื่อ/บัตรเครดิต/เช่าซื้อ ซึ่งครอบคลุมเจ้าหนี้นอกระบบ และเจ้าหนี้ในกิจกรรมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วย (เช่น หนี้การพนัน) รวมถึงผู้รับมอบอำนาจจากเจ้าหนี้ตามกฎหมาย ผู้รับมอบอำนาจช่วง (ผู้ได้รับมอบอำนาจ จากผู้รับมอบอำนาจอีกทอดหนึ่ง) ผู้ประกอบธุรกิจทวงหนี้ …
บุคคลล้มละลายคืออะไร เพราะอะไรถึงเป็นบุคคลล้มละลาย การตกเป็นบุคคลล้มละลายคืออะไร ? บุคคลคลล้มละลาย ส่วนใหญ่แล้วเกิดจากมีหนี้สินเกินกว่าที่จะชำระหนี้ได้ จึงถูกเจ้าหนี้ฟ้องล้มละลาย โดยการจะถูกฟ้องล้มละลายนั้นมีสาเหตุมาจาก บุคคลธรรมดา มีหนี้สินมากกว่า 1 ล้านบาท นิติบุคคล มีหนี้สินมากกว่า 2 ล้านบาท ผู้ที่มีแนวโน้ม มีหนี้สินล้นพ้นตัว หรือ ไม่มีความสามารถที่จะชำาระหนี้ได้ การตกเป็นบุคคลล้มละลายส่งผลอะไรต่อชีวิตบ้าง ? หลายท่านอาจเกิดความสงสัยว่าการตกเป็นบุคคลล้มละลายจะทำให้ชีวิตเราเปลี่ยนไปอย่างไร ซึ่งอาจสรุปได้ ดังนี้ ไม่สามารถทำนิติกรรมใด ๆ ได้ทั้งสิ้น รวมไปถึงธุรกรรมการเงินต่าง ๆ เช่น การเปิดบัญชีธนาคาร การโอนเงิน การถอนเงิน เป็นต้น ไม่สามารถสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือดำรงตำแหน่งทางการเมือง รวมถึงไม่สามารถรับราชการ หรือถ้ากรณีรับราชการอยู่แล้วก็จะต้องออกจากราชการ หรือกรณีที่เป็นพนักงานบริษัทเอกชนก็จะต้องออกจากงานในกรณีที่บริษัทนั้นกำหนดว่าพนักงานของตนต้องไม่เป็นบุคคลล้มละลาย …
เมื่อเจ้าหนี้ยื่นฟ้องแล้ว ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ โอนย้ายทรัพย์สิน มีความผิดฐานใด? โดยปกติแล้วหากเป็นหนี้ก็ต้องชำระต่อกันถูกต้องมั้ยคะ โดยปกติแล้วเจ้าหนี้ทุกท่านก็ต้องการเงินที่ถูกยืมคืน แต่ในกรณีที่ลูกหนี้ไม่ยอมชำระหนี้ ลูกหนี้บางรายอาจมีพฤติกรรมที่เกินเลยถึงขั้นไม่ต้องให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้อีกด้วย ซึ่งลูกหนี้มีพฤติกรรมที่ไม่ต้องการชำระหนี้ในทางกฎหมายแล้วมีความผิดฐานโกงเจ้าหนี้นั่นเอง ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 350 กำหนดไว้ว่า “ผู้ใดเพื่อมิให้เจ้าหนี้ของตนหรือของผู้อื่นได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ซึ่งได้ใช้หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้ ย้ายไปเสีย ซ่อนเร้น หรือโอนไปให้แก่ผู้อื่นซึ่งทรัพย์ใดก็ดี แกล้งให้ตนเองเป็นหนี้จำนวนใดอันไม่เป็นความจริงก็ดี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” สรุปง่ายๆก็คือ ภายหลังจากเจ้าหนี้ได้ส่งหนังสือบอกกล่าวทวงถามหนี้ (Notice) แล้ว ลูกหนี้มีทรัพย์สินไม่ว่าจะเป็น ทรัพย์สินอะไรก็ตาม ลูกหนี้อาจจะถูกเจ้าหนี้บังคับคดีเพื่อเอาทรัพย์สินลูกหนี้มาชำระหนี้ได้ แต่ถ้าลูกหนี้ไปโอนเปลี่ยนชื่อทรัพย์สินไปให้แก่ผู้อื่น หรือแกล้งให้ตนเป็นหนี้จำนวนใดอันไม่เป็นความจริง ทำให้เจ้าหนี้ได้รับความสียหาย เจ้าหนี้มีสิทธิฟ้องลูกหนี้เป็นคดีอาญา โดยเจ้าหนี้สามารถฟ้องทั้งตัวลูกหนี้และตัวผู้รับโอนทรัพย์สินจากลูกหนี้ให้เป็นเป็นจำเลยร่วมกับลูกหนี้ได้ โดนโทษอะไรบ้างหากทำผิดมาตรา 350 “ …