admin, Author at dbcorp https://dbcorp.co.th/author/admin/ dbcorp WordPress Theme Wed, 05 Jun 2024 07:49:52 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.6.2 https://dbcorp.co.th/wp-content/uploads/2023/04/cropped-logo-32x32.png admin, Author at dbcorp https://dbcorp.co.th/author/admin/ 32 32 ประกาศพ้นสภาพพนักงาน นางสาวพลอยนภัส ธนพัฒนดุสิต และนายโกศล วรรโณทยาน https://dbcorp.co.th/%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a8%e0%b8%9e%e0%b9%89%e0%b8%99%e0%b8%aa%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%9e%e0%b8%9e%e0%b8%99%e0%b8%b1%e0%b8%81%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%99-%e0%b8%99%e0%b8%b2/ https://dbcorp.co.th/%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a8%e0%b8%9e%e0%b9%89%e0%b8%99%e0%b8%aa%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%9e%e0%b8%9e%e0%b8%99%e0%b8%b1%e0%b8%81%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%99-%e0%b8%99%e0%b8%b2/#respond Wed, 05 Jun 2024 07:48:09 +0000 https://dbcorp.co.th/?p=16282 เรียน ลูกค้าและผู้ติดต่อบริษัททุกท่าน บริษัท ดี.บี.คอร์ปอร์เรชั่น จำกัด ขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า นางสาวพลอยนภัส ธนพัฒนดุสิต ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายขาย ได้พ้นสภาพการเป็นพนักงาน บริษัท ดี.บี.คอร์ปอร์เรชั่น จำกัด ตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม 2567 เป็นต้นมา และ นายโกศล วรรโณทยาน ตำแหน่งเจ้าหน้าที่สืบทรัพย์ บังคับคดี  ได้พ้นสภาพการเป็นพนักงาน บริษัท ดี.บี.คอร์ปอร์เรชั่น จำกัด ตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม 2567 เป็นต้นมา บริษัท ดี.บี.คอร์ปอร์เรชั่น จำกัด ถือว่าการกระทำของ นางสาวพลอยนภัส ธนพัฒนดุสิต และ นายโกศล …

The post ประกาศพ้นสภาพพนักงาน นางสาวพลอยนภัส ธนพัฒนดุสิต และนายโกศล วรรโณทยาน appeared first on dbcorp.

]]>
เรียน ลูกค้าและผู้ติดต่อบริษัททุกท่าน

บริษัท ดี.บี.คอร์ปอร์เรชั่น จำกัด ขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า นางสาวพลอยนภัส ธนพัฒนดุสิต ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายขาย ได้พ้นสภาพการเป็นพนักงาน บริษัท ดี.บี.คอร์ปอร์เรชั่น จำกัด ตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม 2567 เป็นต้นมา และ นายโกศล วรรโณทยาน ตำแหน่งเจ้าหน้าที่สืบทรัพย์ บังคับคดี  ได้พ้นสภาพการเป็นพนักงาน บริษัท ดี.บี.คอร์ปอร์เรชั่น จำกัด ตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม 2567 เป็นต้นมา

บริษัท ดี.บี.คอร์ปอร์เรชั่น จำกัด ถือว่าการกระทำของ นางสาวพลอยนภัส ธนพัฒนดุสิต และ นายโกศล วรรโณทยาน หลังจากพ้นสภาพจากการเป็นพนักงานแล้ว เป็นการกระทำโดยส่วนตัวทั้งสิ้นเชิง

 

ตรวจสอบข้อมูลได้ที่ประกาศบริษัท

 

 

 

 

The post ประกาศพ้นสภาพพนักงาน นางสาวพลอยนภัส ธนพัฒนดุสิต และนายโกศล วรรโณทยาน appeared first on dbcorp.

]]>
https://dbcorp.co.th/%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a8%e0%b8%9e%e0%b9%89%e0%b8%99%e0%b8%aa%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%9e%e0%b8%9e%e0%b8%99%e0%b8%b1%e0%b8%81%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%99-%e0%b8%99%e0%b8%b2/feed/ 0
รู้หรือไม่ กรมบังคับคดีสามารถยึดที่ดินของลูกหนี้ที่ครอบครองร่วมกับผู้อื่นได้ https://dbcorp.co.th/%e0%b8%a3%e0%b8%b9%e0%b9%89%e0%b8%ab%e0%b8%a3%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b9%84%e0%b8%a1%e0%b9%88-%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%a1%e0%b8%9a%e0%b8%b1%e0%b8%87%e0%b8%84%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%84%e0%b8%94%e0%b8%b5/ https://dbcorp.co.th/%e0%b8%a3%e0%b8%b9%e0%b9%89%e0%b8%ab%e0%b8%a3%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b9%84%e0%b8%a1%e0%b9%88-%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%a1%e0%b8%9a%e0%b8%b1%e0%b8%87%e0%b8%84%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%84%e0%b8%94%e0%b8%b5/#respond Mon, 29 Apr 2024 03:44:44 +0000 https://dbcorp.co.th/?p=16278 ท่านเจ้าหนี้หลายๆ ท่านคงจะรู้กันแล้วใช่ไหมคะว่ากรมบังคับคดีสามารถยึดที่ดินที่ลูกหนี้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ได้ แต่ถ้าหากที่ดินฝืนนั้นมีผู้ถือครองหลายคนล่ะ สามารถทำอย่างไรได้บ้าง หาคำตอบได้จากบทความนี้เลยค่ะ ขออนุญาตเท้าความก่อนนะคะว่าท่านเจ้าหนี้เมื่อมีคำพิพากษาแล้วสามารถยึดอะไรได้บ้าง เบื่องต้นสามารถยึด – ของมีค่า เครื่องประดับทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น เพชร พลอย นาฬิกาและของสะสมที่มีมูลค่า – บ้าน ที่ดิน และถึงแม้ว่าจะยังติดจำนองอยู่ก็สามารถที่จะยึดได้เช่นกัน – รถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของลูกหนี้ และไม่ได้เป็นเครื่องมือในการประกอบอาชีพ – เงินในบัญชีเงินฝาก หรือเงินปันผลจากการลงทุน – ทรัพย์สินที่เป็นการลงทุน อาทิ หุ้น ทองคำ เป็นต้น การขอยึดที่ดินของลูกหนี้ที่ครอบครองร่วมกับผู้อื่น แบ่งออกได้เป็น 2 กรณี กรณีที่ 1 ที่ดินของลูกหนี้ที่แบ่งเขตการครอบคครองกันอย่างชัดเจน สามารถพิสูจน์ได้ คำตอบคือ สามารถยึดเฉพาะส่วนของลูกหนี้ได้เลย …

The post รู้หรือไม่ กรมบังคับคดีสามารถยึดที่ดินของลูกหนี้ที่ครอบครองร่วมกับผู้อื่นได้ appeared first on dbcorp.

]]>
ท่านเจ้าหนี้หลายๆ ท่านคงจะรู้กันแล้วใช่ไหมคะว่ากรมบังคับคดีสามารถยึดที่ดินที่ลูกหนี้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ได้ แต่ถ้าหากที่ดินฝืนนั้นมีผู้ถือครองหลายคนล่ะ สามารถทำอย่างไรได้บ้าง หาคำตอบได้จากบทความนี้เลยค่ะ

ขออนุญาตเท้าความก่อนนะคะว่าท่านเจ้าหนี้เมื่อมีคำพิพากษาแล้วสามารถยึดอะไรได้บ้าง

เบื่องต้นสามารถยึด
– ของมีค่า เครื่องประดับทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น เพชร พลอย นาฬิกาและของสะสมที่มีมูลค่า
– บ้าน ที่ดิน และถึงแม้ว่าจะยังติดจำนองอยู่ก็สามารถที่จะยึดได้เช่นกัน
– รถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของลูกหนี้ และไม่ได้เป็นเครื่องมือในการประกอบอาชีพ
– เงินในบัญชีเงินฝาก หรือเงินปันผลจากการลงทุน
– ทรัพย์สินที่เป็นการลงทุน อาทิ หุ้น ทองคำ เป็นต้น

การขอยึดที่ดินของลูกหนี้ที่ครอบครองร่วมกับผู้อื่น แบ่งออกได้เป็น 2 กรณี

กรณีที่ 1 ที่ดินของลูกหนี้ที่แบ่งเขตการครอบคครองกันอย่างชัดเจน สามารถพิสูจน์ได้

คำตอบคือ สามารถยึดเฉพาะส่วนของลูกหนี้ได้เลย แต่ถ้าหากลูกหนี้นั้น มีเจ้าหนี้ตามคำพิพากษารายอื่น ก็จะชำระให้เจ้าหนี้รายอื่นก่อนส่วนที่เหลือถึงจะนำมาชำระให้เราค่ะ

กรีณีที่ 2 ที่ดินของลูกหนี้ที่ไม่ได้แบ่งเขตการครอบคครองกันอย่างชัดเจน

คำตอบคือ สามารถยึดได้ค่ะ โดยการทำเรื่องให้เจ้าหน้าที่กรมบังคับคดียึดทั้งไร่ และนำไปขายทอกตลาด และจะแบ่งเงินออกเป็น 2 ส่วนเท่าๆ กัน (กรณีที่มีผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกัน 2 คน) และแบ่งเงินให้ผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ไม่ใช่ลูกหนี้ก่อน และเงินอีกส่วนก็จะนำมาชำระหนี้

The post รู้หรือไม่ กรมบังคับคดีสามารถยึดที่ดินของลูกหนี้ที่ครอบครองร่วมกับผู้อื่นได้ appeared first on dbcorp.

]]>
https://dbcorp.co.th/%e0%b8%a3%e0%b8%b9%e0%b9%89%e0%b8%ab%e0%b8%a3%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b9%84%e0%b8%a1%e0%b9%88-%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%a1%e0%b8%9a%e0%b8%b1%e0%b8%87%e0%b8%84%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%84%e0%b8%94%e0%b8%b5/feed/ 0
วีธีการทวงหนี้ของเรา https://dbcorp.co.th/%e0%b8%a7%e0%b8%b5%e0%b8%98%e0%b8%b5%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%97%e0%b8%a7%e0%b8%87%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b8%b5%e0%b9%89%e0%b8%82%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b9%80%e0%b8%a3%e0%b8%b2/ https://dbcorp.co.th/%e0%b8%a7%e0%b8%b5%e0%b8%98%e0%b8%b5%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%97%e0%b8%a7%e0%b8%87%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b8%b5%e0%b9%89%e0%b8%82%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b9%80%e0%b8%a3%e0%b8%b2/#respond Fri, 26 Apr 2024 04:04:54 +0000 https://dbcorp.co.th/?p=16274 วีธีการทวงหนี้ของเรา   เราจะบอกเลยว่าเราไม่เลือกวิธีฟ้องศาลเป็นทางเลือกแรก ถ้าฟ้องศาลเนี่ยเราจะมาเส้นทางนี้ทำไม ไปดูกฎหมายกัน ด้วยอำนาจแห่งมูลหนี้ เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิจะเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์) เราไม่ได้คุกคาม หรือข่มขู่ลูกหนี้ เราเป็นเพียงแค่พนักงานรับจ้างทวงหนี้ บริการของเราคือลงพื้นที่ เรียกลูกหนี้มาเจรจา แทนท่านเจ้าหนี้ว่าให้จ่ายหนี้ อย่าหนี ทุกอย่าง พูดคุยกันได้ครับ  หากเรียกแล้ว หรือ โทรแล้ว ลูกหนี้ไม่รับสาย  เราจะไม่โทรล่ะ  เพราะกฎหมายการควบคุมการทวงหนี้ มีใจความสำคัญ คือ การทวงหนี้วันธรรมดา โทรทวงได้เพียงแค่ 1 ครั้งก็คือ 8:00 น ถึง 20:00 น เสาร์อาทิตย์โทรได้ 8:00 น ถึง 18:00 น …

The post วีธีการทวงหนี้ของเรา appeared first on dbcorp.

]]>
วีธีการทวงหนี้ของเรา

 

เราจะบอกเลยว่าเราไม่เลือกวิธีฟ้องศาลเป็นทางเลือกแรก ถ้าฟ้องศาลเนี่ยเราจะมาเส้นทางนี้ทำไม ไปดูกฎหมายกัน ด้วยอำนาจแห่งมูลหนี้ เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิจะเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์)

เราไม่ได้คุกคาม หรือข่มขู่ลูกหนี้ เราเป็นเพียงแค่พนักงานรับจ้างทวงหนี้ บริการของเราคือลงพื้นที่ เรียกลูกหนี้มาเจรจา แทนท่านเจ้าหนี้ว่าให้จ่ายหนี้ อย่าหนี ทุกอย่าง พูดคุยกันได้ครับ  หากเรียกแล้ว หรือ โทรแล้ว ลูกหนี้ไม่รับสาย  เราจะไม่โทรล่ะ  เพราะกฎหมายการควบคุมการทวงหนี้ มีใจความสำคัญ คือ การทวงหนี้วันธรรมดา โทรทวงได้เพียงแค่ 1 ครั้งก็คือ 8:00 น ถึง 20:00 น เสาร์อาทิตย์โทรได้ 8:00 น ถึง 18:00 น ลูกหนี้ก็หลบไปเรื่อย ยิ่งเบอร์แปลกๆ หรือเทคโนโลยีสมัยนี้ แจ้งเตือนได้หมด

แต่เราเรียกตามกฎหมายโดยใช้วิธี่ติดตามล่ะ  หรือเรียกว่า การที่ทวงหนี้ต่อหน้า (ต้องยื่นเอกสารที่เกี่ยวข้องว่าได้รับมอบอำนาจ) ถ้าเราสืบรู้ว่าลูกหนี้มีตังค์  ไม่จ่าย เราจะตามลูกหนี้ไป จะแจ้งตำรวจก็ได้ครับ  จะแจ้งเจ้าหน้าที่ก็ได้ครับไม่เป็นไร กฎหมายให้นาจในติดตามเอาทรัพย์สินคืนอย่างที่บอกข้างต้น

 

เราจะตามคุณไป  กินข้าวร้านไหน  เราก็ไปกินข้าวร้านนั้น  ขับรถไปไหน ไปเที่ยวที่ไหน เราก็ไปเที่ยวที่เดียวกัน อยากกินข้าวแกง หมูแดง ผัดไทย ข้าวมันไก่  ก็อยากกิน ร้านเดียวกัน เที่ยวด้วยกัน และอื่นๆ จนกว่าลูกหนี้จะยอมพูดคุย

 

หากไม่คุยแต่ส่งตัวแทนมา ห้ามเอายอดหนี้ไปบอกคนภายนอกที่ไม่ใช่ครอบครัวลูกหนี้ ถ้าไปบอกกับคนข้างบ้านเป็นหนี้เท่านั้นเท่านี้คือผิดกฎหมายแล้ว แต่ถ้าเราไปบอกกับสามี ภรรยา พ่อ แม่ ลูกของลูกหนี้ สามารถบอกได้

 

ต้องมีคำตอบ ว่าตัดสินใจว่าจะจ่าย หากตกลงจ่าย

ก็ตอบมาว่าไหวเท่าไหร่ สมมุติกันเป็นหนี้ 1 ล้าน  ผ่อนได้เดือนละเท่าไหร่  50,000 บาท ทำสัญญากันเป็นหลักฐานให้เจ้าหนี้ไว้ภายใต้ความเห็นชอบร่วมกันไม่ตึงไม่หย่อนต่อกัน สัญญาใจ ไม่ฟ้องศาลให้มีประวัติ ขอให้ผ่อนตรงตามที่สัญญาก็พอ

 

หากไม่จ่าย ก็ไปทางเลือกอื่น

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

หากท่านเจ้าหนี้จ้างเราแล้ว แต่ทว่า เมื่อสอบสวน ลูกหนี้ ว่าไม่มีแม้จะกิน ไม่มีแม้กระทั่งหาเงินให้ลูกไปเรียน เราจะกลับมาบอกกับท่านเจ้าหนี้  ว่าอย่าเพิ่งเก็บเขาเลยเพราะว่าเขาก็ไม่มีจะกิน ก็รอให้เขามีก่อนเมื่อไหร่ที่เขามีเดี๋ยวเขาก็จ่ายเอง ถ้าเขาไม่จ่ายเราก็ค่อยลงพื้นที่ติดตามต่อ ให้แค่นั้นเอง

เจ้าหนี้สามารถติดตาม จากที่เราบันทึกภาพนิ่ง หรือ วีดีโอ จัดทำรายงานไว้ให้ เป็นหลักฐานการรับจ้างทวงหนี้

The post วีธีการทวงหนี้ของเรา appeared first on dbcorp.

]]>
https://dbcorp.co.th/%e0%b8%a7%e0%b8%b5%e0%b8%98%e0%b8%b5%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%97%e0%b8%a7%e0%b8%87%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b8%b5%e0%b9%89%e0%b8%82%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b9%80%e0%b8%a3%e0%b8%b2/feed/ 0
การอายัดเงินเดือนคืออะไร https://dbcorp.co.th/%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%ad%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b9%80%e0%b8%87%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%94%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b8%84%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%ad%e0%b8%b0/ https://dbcorp.co.th/%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%ad%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b9%80%e0%b8%87%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%94%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b8%84%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%ad%e0%b8%b0/#respond Thu, 01 Feb 2024 07:00:12 +0000 https://dbcorp.co.th/?p=16270 อายัดเงินเดือน คืออะไร ท่านอาจจะเคยได้ยินคำว่า “อายัดเงินเดือน” กันมาบ้าง ยกตัวอย่างเช่นหลายๆบทความที่ผ่านมาของเราก็คงสงสัยกันใช่ไหมคะว่าต้องทำอย่างไรและมีข้อจำกัดอย่างไรบ้าง ซึ่งการอายัดเงินเดือนนั้นเป็นหนึ่งในทางเลือกที่เจ้าหนี้หลายๆท่านใช้ในการเรียกเงินคืนจากลูกหนี้ มาดูกันดีกว่าค่ะว่า “การอายัดเงินเดือนคืออะไร” การอายัดเงินเดือน เมื่อศาลมีคำพิพากษาให้เจ้าหนี้ชนะคดี หากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษาภายใน 30 วัน เจ้าหนี้มีสิทธิอายัดสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ได้ โดยตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อออกหมายอายัดต่อไป การอายัดเงินเดือน โบนัส ค่าตอบแทนต่างๆ หากเจ้าหนี้รายแรกขออายัดเงินเดือนแล้ว เจ้าหนี้รายอื่นจะทำเรื่องขออายัดซ้ำไม่ได้ ต้องรอคิวให้รายแรกอายัดครบก่อน หรืออาจจะขอหารส่วนแบ่งเงินที่ถูกอายัดจากเจ้าหนี้รายแรกก็ได้ ถ้ารอก็จะรอได้ไม่เกิน 10 ปี หากเกิน 10 ปีก็จะหมดอายุความ หลักเกณฑ์ในการอายัดเงินเดือน เงินเดือน ค้าจ้าง บำเหน็จ บำนาญ ของ “ข้าราชการ” ไม่สามารอายัดได้ ลูกหนี้ที่เป็นพนักงานสามรถยาอัดได้ แต่ต้องมีเงินเดือนมากกว่า 20,000 …

The post การอายัดเงินเดือนคืออะไร appeared first on dbcorp.

]]>
อายัดเงินเดือน คืออะไร

ท่านอาจจะเคยได้ยินคำว่า “อายัดเงินเดือน” กันมาบ้าง ยกตัวอย่างเช่นหลายๆบทความที่ผ่านมาของเราก็คงสงสัยกันใช่ไหมคะว่าต้องทำอย่างไรและมีข้อจำกัดอย่างไรบ้าง ซึ่งการอายัดเงินเดือนนั้นเป็นหนึ่งในทางเลือกที่เจ้าหนี้หลายๆท่านใช้ในการเรียกเงินคืนจากลูกหนี้ มาดูกันดีกว่าค่ะว่า “การอายัดเงินเดือนคืออะไร”

การอายัดเงินเดือน

เมื่อศาลมีคำพิพากษาให้เจ้าหนี้ชนะคดี หากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษาภายใน 30 วัน เจ้าหนี้มีสิทธิอายัดสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ได้ โดยตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อออกหมายอายัดต่อไป

การอายัดเงินเดือน โบนัส ค่าตอบแทนต่างๆ หากเจ้าหนี้รายแรกขออายัดเงินเดือนแล้ว เจ้าหนี้รายอื่นจะทำเรื่องขออายัดซ้ำไม่ได้ ต้องรอคิวให้รายแรกอายัดครบก่อน หรืออาจจะขอหารส่วนแบ่งเงินที่ถูกอายัดจากเจ้าหนี้รายแรกก็ได้ ถ้ารอก็จะรอได้ไม่เกิน 10 ปี หากเกิน 10 ปีก็จะหมดอายุความ

หลักเกณฑ์ในการอายัดเงินเดือน

  • เงินเดือน ค้าจ้าง บำเหน็จ บำนาญ ของ “ข้าราชการ” ไม่สามารอายัดได้
  • ลูกหนี้ที่เป็นพนักงานสามรถยาอัดได้ แต่ต้องมีเงินเดือนมากกว่า 20,000 บาท จะสามารถยึดได้ทั้งหมดแต่ต้องเหลือไม่น้อยกว่า 20,000 บาท
  • เงินโบนัส อายัดได้ไม่เกิน 50%
  • เบี้ยขยัน, เงินโอที อายัดได้ไม่เกิน 30%
  • เงินตอบแทนกรณีออกจากงาน บำเหน็จ ค่าชดเชย อายัดได้ แต่จำนวนต้องไม่เกิน 300,000 บาท หรือตามจำนวนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นสมควร
  • บัญชีเงินฝากธนาคาร สามารถอายัดได้ทั้งหมด แต่ก็ต้องไม่เกินจำนวนหนี้ตามหมายบังคับคดี
  • หุ้น สามารถอายัดได้ โดยสามารถยึดใบหุ้นเพื่อขายทอดตลาดได้ หรือถ้ามีเงินปันผล ก็จะทำเรื่องอายัดเงินปันผลได้
  • ค่าเช่ารายเดือน เจ้าพนักงานบังคับคดีสามารถอายัดเงินค่าเช่าได้

 

เพียงเท่านี้หลายๆท่าน ก็คงจะหายสงสัยแล้วใช่ไหมคะว่าการอายัดเงินเดือนคืออะไร ถ้าหากท่านสนใจความรู้ดีๆแบบนี้ สามารถติดตามได้ที่

Facebook : https://www.facebook.com/dbcorpthailand

Facebook : https://www.facebook.com/profile.php?id=100094929334117

Youtibe : https://www.youtube.com/@dbcorporation635

The post การอายัดเงินเดือนคืออะไร appeared first on dbcorp.

]]>
https://dbcorp.co.th/%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%ad%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b9%80%e0%b8%87%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%94%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b8%84%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%ad%e0%b8%b0/feed/ 0
หนี้นอกระบบ ไม่มีสัญญาสามารถฟ้องร้องได้ไหม? https://dbcorp.co.th/%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b8%b5%e0%b9%89%e0%b8%99%e0%b8%ad%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%9a%e0%b8%9a-%e0%b9%84%e0%b8%a1%e0%b9%88%e0%b8%a1%e0%b8%b5%e0%b8%aa%e0%b8%b1%e0%b8%8d%e0%b8%8d%e0%b8%b2%e0%b8%aa/ https://dbcorp.co.th/%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b8%b5%e0%b9%89%e0%b8%99%e0%b8%ad%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%9a%e0%b8%9a-%e0%b9%84%e0%b8%a1%e0%b9%88%e0%b8%a1%e0%b8%b5%e0%b8%aa%e0%b8%b1%e0%b8%8d%e0%b8%8d%e0%b8%b2%e0%b8%aa/#respond Wed, 24 Jan 2024 12:26:43 +0000 https://dbcorp.co.th/?p=16266 หนี้นอกระบบ ไม่มีสัญญาสามารถฟ้องร้องได้ไหม?           เมื่อประสบปัญหาด้านการเงิน การกู้เงินก็คงจะเป็นทางออกที่หลายๆท่านเลือกที่จะใช้เป็นทางเลือกแรกๆ แต่จะไปกู้จากธนาคารก็เครดิตไม่ดีพอที่จะกู้ ก็เลยต้องยอมกู้เงินดิกระบบที่ดอกเบี้ยแสนแพงทำให้ในบางงวดอาจไม่สามารถจ่ายไหว แล้วถ้าเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นจริงๆ จะโดนเจ้าหนี้ฟ้องได้หรือไม่?   หนี้นอกระบบ คืออะไร? มีกี่ประเภท?             เงินกู้ที่มีลักษณะตรงข้ามกับเงินกู้ในระบบทุกอย่าง กล่าวคือ เป็นการกู้เงินที่ไม่มีการรับรองจากกฎหมาย มีลักษณะเป็นการยืมเงินปากเปล่า หรือมีการบันทึกข้อความ สัญญาไว้เป็นหลักฐานก็ได้ ตัวอย่างของเงินกู้นอกระบบ เช่น พวกเงินด่วนทั้งหลายที่มีการแปะประกาศตามรั้ว ตามเสาไฟฟ้า หรือมีการบอกต่อกันแบบปากต่อปาก หรือเป็นการปล่อยกู้กันเองในกลุ่มคนรู้จัก  รวมถึงสื่อตามอินเทอร์เน็ตต่างๆ ที่ไม่ได้มีการรับรองตามกฎหมาย หนี้นอกระบบแบบรายวัน : เป็นหนี้ที่ให้ผู้กู้ยืมเงินจำนวนหนึ่งโดยคิดดอกเบี้ยรายวัน อัตราดอกเบี้ยมักจะสูงมาก เช่น ดอกเบี้ย 30% ต่อเดือน หนี้นอกระบบแบบรายเดือน : เป็นหนี้ที่ให้ผู้กู้ยืมเงินจำนวนหนึ่งโดยคิดดอกเบี้ยรายเดือน อัตราดอกเบี้ยมักจะต่ำกว่าหนี้นอกระบบแบบรายวัน …

The post หนี้นอกระบบ ไม่มีสัญญาสามารถฟ้องร้องได้ไหม? appeared first on dbcorp.

]]>
หนี้นอกระบบ ไม่มีสัญญาสามารถฟ้องร้องได้ไหม?

          เมื่อประสบปัญหาด้านการเงิน การกู้เงินก็คงจะเป็นทางออกที่หลายๆท่านเลือกที่จะใช้เป็นทางเลือกแรกๆ แต่จะไปกู้จากธนาคารก็เครดิตไม่ดีพอที่จะกู้ ก็เลยต้องยอมกู้เงินดิกระบบที่ดอกเบี้ยแสนแพงทำให้ในบางงวดอาจไม่สามารถจ่ายไหว แล้วถ้าเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นจริงๆ จะโดนเจ้าหนี้ฟ้องได้หรือไม่?

 

หนี้นอกระบบ คืออะไร? มีกี่ประเภท?

            เงินกู้ที่มีลักษณะตรงข้ามกับเงินกู้ในระบบทุกอย่าง กล่าวคือ เป็นการกู้เงินที่ไม่มีการรับรองจากกฎหมาย มีลักษณะเป็นการยืมเงินปากเปล่า หรือมีการบันทึกข้อความ สัญญาไว้เป็นหลักฐานก็ได้ ตัวอย่างของเงินกู้นอกระบบ เช่น พวกเงินด่วนทั้งหลายที่มีการแปะประกาศตามรั้ว ตามเสาไฟฟ้า หรือมีการบอกต่อกันแบบปากต่อปาก หรือเป็นการปล่อยกู้กันเองในกลุ่มคนรู้จัก  รวมถึงสื่อตามอินเทอร์เน็ตต่างๆ ที่ไม่ได้มีการรับรองตามกฎหมาย

  • หนี้นอกระบบแบบรายวัน : เป็นหนี้ที่ให้ผู้กู้ยืมเงินจำนวนหนึ่งโดยคิดดอกเบี้ยรายวัน อัตราดอกเบี้ยมักจะสูงมาก เช่น ดอกเบี้ย 30% ต่อเดือน
  • หนี้นอกระบบแบบรายเดือน : เป็นหนี้ที่ให้ผู้กู้ยืมเงินจำนวนหนึ่งโดยคิดดอกเบี้ยรายเดือน อัตราดอกเบี้ยมักจะต่ำกว่าหนี้นอกระบบแบบรายวัน แต่ก็ยังถือว่าสูง
  • หนี้นอกระบบแบบแชร์ลูกโซ่ : เป็นหนี้ที่ให้ผู้กู้ยืมเงินจำนวนหนึ่งโดยต้องหาผู้กู้รายใหม่มาแทนที่ เมื่อผู้กู้รายใหม่ไม่สามารถชำระหนี้ได้ หนี้ก็จะตกอยู่ที่ผู้กู้รายแรก

จะมีผลเสียอย่างไรบ้าง?

ในกรณีที่คุณไม่สามารถจ่ายหนี้นอกระบบได้จนโดนฟ้องร้องนั้น จะส่งผลเสียอย่างไรบ้าง

ประการแรกเลยก็คือ หากอยู่ในขั้นตอนฟ้องร้อง เจ้าหนี้และลูกหนี้ยังสามารถตกลงและทำการประนีประนอมกันได้ในเบื้องต้น จริงๆ แล้วเจ้าหนี้หลายๆ คนก็ไม่ได้อยากใจยักษ์ใจมารขนาดต้องมาฟ้องร้องลูกหนี้หรอกครับ เขาเพียงต้องการเงินคืนเท่านั้นเอง

แต่ถ้าหากว่าลูกหนี้ไม่สามารถประนีประนอม หรือเจรจากับเจ้าหนี้ได้ในชั้นศาล และศาลได้มีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ชำระหนี้แต่ลูกหนี้ไม่ชำระ สิ่งที่ลูกหนี้อาจจะต้องโดนก็คือการถูกยึด หรือถูกอายัดทรัพย์

 

ทรัพย์สินที่สามารถถูกยึดหรือถูกอายัดยึดได้

  • ของมีค่า เครื่องประดับทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น เพชร พลอย นาฬิกาและของสะสมที่มีมูลค่า
  • บ้าน ที่ดิน และถึงแม้ว่าจะยังติดจำนองอยู่ก็สามารถที่จะยึดได้เช่นกัน
  • รถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของลูกหนี้ และไม่ได้เป็นเครื่องมือในการประกอบอาชีพ
  • เงินในบัญชีเงินฝาก หรือเงินปันผลจากการลงทุนๆ
  • ทรัพย์สินที่เป็นการลงทุน อาทิ หุ้น ทองคำ เป็นต้น

ทรัพย์สินที่ไม่สามารถถูกยึดหรือถูกอายัดได้

  • ข้าวของเครื่องใช้ส่วนตัวที่มีมูลค่าไม่เกิน 20,000 บาท เช่นโต๊ะ เก้าอี้ เสื้อผ้า
  • เครื่องมือที่ใช้ในการประกอบอาชีพของลูกหนี้ที่มีมูลค่าไม่เกิน 100,000 บาท (หากเกินสามารถยึดได้)
  • เงินเดือน หรือค่าจ้างของผู้ที่ทำงานราชการ
  • เงินเบี้ยเลี้ยงชีพ เช่น เบี้ยเลี้ยงผู้สูงอายุ เบี้ยเลี้ยงคนพิการ

สามารอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการยึดหรืออายัดได้ที่ : dbcorp.co.th/เจ้าหนี้สามารถยึดอะไร/

 

หนี้นอกระบบ ฟ้องร้องได้มั้ย แจ้งความได้หรือเปล่า?

คำตอบของคำถามก็คือเจ้าหนี้ไม่สามารถที่จะฟ้องหรือแจ้งความดำเนินคดีได้ค่ะ เนื่องจากเป็นเพียงคดีแพ่ง ไม่ใช่ความผิดคดีอาญา แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่โดนอะไรเลยสะที่เดียวนะคะ เพราะลูกหนี้จาถูกดำเนินคดีอาญาฐานฉ้อโกงหรือยักยอกทรัพย์ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หากเจ้าหนี้สามารถพิสูจน์ได้ว่ามีหลักฐานการกู้ยืมกันจริง เช่น สัญญาการกู้ยืมเงิน

แต่ถ้าหากไม่มีสัญญากู้ยืมเงินล่ะ สามารใช้อย่างอื่นในการฟ้องร้องดำเนินคดีได้ค่ะ

ตัวอย่างเช่น หลักฐานการโอนเงิน (สลิปการโอนจากแอพพลิเคชั่นธนาคารต่างๆ), หลักฐานการสนทนาขอยืมเงิน เป็นต้น แต่ก็อาจจะมีสิทธิที่จะแพ้คดีได้เนื่องจากหลักฐานไม่เพียงพอ

 

*ถ้าหากจำเป็นต้องใช้เงินจริงๆ เราแนะนำให้กู้เงินในระบบ ด้วยความปรารถนาดีจาก บริษัท ดี.บี.คอร์ปอร์เรชั่น จำกัด

The post หนี้นอกระบบ ไม่มีสัญญาสามารถฟ้องร้องได้ไหม? appeared first on dbcorp.

]]>
https://dbcorp.co.th/%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b8%b5%e0%b9%89%e0%b8%99%e0%b8%ad%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%9a%e0%b8%9a-%e0%b9%84%e0%b8%a1%e0%b9%88%e0%b8%a1%e0%b8%b5%e0%b8%aa%e0%b8%b1%e0%b8%8d%e0%b8%8d%e0%b8%b2%e0%b8%aa/feed/ 0
สิ่งที่ลูกหนี้ต้องรู้! ก่อนตกลงทำ ‘สัญญากู้ยืมเงิน’ https://dbcorp.co.th/%e0%b8%aa%e0%b8%b4%e0%b9%88%e0%b8%87%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b8%a5%e0%b8%b9%e0%b8%81%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b8%b5%e0%b9%89%e0%b8%95%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%a3%e0%b8%b9%e0%b9%89-%e0%b8%81/ https://dbcorp.co.th/%e0%b8%aa%e0%b8%b4%e0%b9%88%e0%b8%87%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b8%a5%e0%b8%b9%e0%b8%81%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b8%b5%e0%b9%89%e0%b8%95%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%a3%e0%b8%b9%e0%b9%89-%e0%b8%81/#respond Fri, 19 Jan 2024 02:42:35 +0000 https://dbcorp.co.th/?p=16262 สิ่งที่ลูกหนี้ต้องรู้! ก่อนตกลงทำ ‘สัญญากู้ยืมเงิน’           หลายๆท่านคงจะเคยเจอปัญหาด้านการเงินยิ่งเป็นยุคสมัยนี้ที่ค่าใช้จ่ายต่างๆ มูลค่าค่อนข้างสูง บางท่านก็แก้ปัญหาด้วยการหยิบยืมจากเพื่อนพี่น้อง หรือสถาบันการเงินต่างๆ แต่การกู้เงินไม่ใช่แค่การได้เงินมาแล้วจ่ายคืน ไม่ใช่เพียงได้เงินมาแล้วจ่ายคืน เพราะยังมีรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ที่ผู้กู้ควรรู้ก่อนทำการกู้ยืม แล้วรายละเอียดเหล่านั้น มีอะไรบ้าง ไปดูกันค่ะ   กฎหมายการกู้ยืมเงิน กู้ยืมเงินเกิน 2,000 บาทขึ้นไป ต้องมีสัญญาการกู้ยืมเงินเป็นลายลักษณ์อักษร และต้องมีลายเซ็นผู้กู้ในสัญญา หากไม่มีหลักฐานหรือสัญญา จะไม่สามารถฟ้องร้องบังคับคดีได้ แม้ว่าหนี้นั้นจะชอบด้วยกฎหมายก็ตาม อัตราดอกเบี้ยการกู้ยืมห้ามเกิน 15% ต่อปี ถ้าหากกำหนดอัตราดอกเบี้ยเกิน ระวังโทษ จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ อายุความของคดีกู้ยืมเงิน หากมีการผิดสัญญาชำระเงิน …

The post สิ่งที่ลูกหนี้ต้องรู้! ก่อนตกลงทำ ‘สัญญากู้ยืมเงิน’ appeared first on dbcorp.

]]>
สิ่งที่ลูกหนี้ต้องรู้! ก่อนตกลงทำ ‘สัญญากู้ยืมเงิน’

          หลายๆท่านคงจะเคยเจอปัญหาด้านการเงินยิ่งเป็นยุคสมัยนี้ที่ค่าใช้จ่ายต่างๆ มูลค่าค่อนข้างสูง บางท่านก็แก้ปัญหาด้วยการหยิบยืมจากเพื่อนพี่น้อง หรือสถาบันการเงินต่างๆ แต่การกู้เงินไม่ใช่แค่การได้เงินมาแล้วจ่ายคืน ไม่ใช่เพียงได้เงินมาแล้วจ่ายคืน เพราะยังมีรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ที่ผู้กู้ควรรู้ก่อนทำการกู้ยืม แล้วรายละเอียดเหล่านั้น มีอะไรบ้าง ไปดูกันค่ะ

 

กฎหมายการกู้ยืมเงิน

  • กู้ยืมเงินเกิน 2,000 บาทขึ้นไป ต้องมีสัญญาการกู้ยืมเงินเป็นลายลักษณ์อักษร และต้องมีลายเซ็นผู้กู้ในสัญญา หากไม่มีหลักฐานหรือสัญญา จะไม่สามารถฟ้องร้องบังคับคดีได้ แม้ว่าหนี้นั้นจะชอบด้วยกฎหมายก็ตาม
  • อัตราดอกเบี้ยการกู้ยืมห้ามเกิน 15% ต่อปี ถ้าหากกำหนดอัตราดอกเบี้ยเกิน ระวังโทษ จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • อายุความของคดีกู้ยืมเงิน หากมีการผิดสัญญาชำระเงิน ต้องฟ้องภายในระยะเวลา 10 ปี แต่ถ้ามีข้อตกลงชำระผ่อนทุนคืนเป็นงวด ๆ มีอายุความ 5 ปี (ผ่อนลดต้นและดอกเบี้ย)

สิ่งที่ต้องมีอยู่ในสัญญากู้ยืมเงิน

สัญญากู้ยืมเงินหรือหลักฐานการกู้ยืมจะอยู่ในรูปของหนังสือ จดหมาย หรือเอกสารใดๆ ที่เขียนขึ้นเอง หรือจะอยู่ในรูปของแบบฟอร์มทางการก็้ได้ แต่จำเป็นต้องมีองค์ประกอบในสัญญา ดังนี้

  • วันที่ทำสัญญากู้เงิน
  • ชื่อผู้กู้, ชื่อผู้ให้กู้
  • จำนวนเงินที่กู้
  • กำหนดการชำระคืน
  • ดอกเบี้ยต่อเดือน/ต่อปี (ถ้ามี)
  • ลายเซ็นต์ผู้กู้
  • ลายเซ็นต์ผู้ให้กู้ (มีหรือไม่มีก็ได้)

 

วิธีทำสัญญากู้เงิน

  • ประกันด้วยตัวบุคคล

คือ มีผู้ค้ำประกัน การค้ำประกันคือการที่คนอื่นที่ไม่ใช่ผู้กู้ยอมเอาตนเข้าประกันหนี้เงินกู้ หากลูกหนี้ไม่ยอมชำระหนี้ผู้ค้ำประกันจะยอมชำระหนี้แทน ผู้ให้กู้ก็สามารถเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้ การทำสัญญาค้ำประกันนั้นก็ง่ายๆ แค่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันไว้ก็เพียงพอ

  • ประกันด้วยทรัพย์

คือ จำนอง คือการประกันด้วยทรัพย์สินไม่ว่าทรัพย์สินของผู้จำนองหรือทรัพย์สินของผู้อื่น หากลูกหนี้ไม่ยอมชำระหนี้ก็สามารถนำทรัพย์จำนองนั้นไปขายทอดตลาดเพื่อบังคับจำนองเอาเงินมาชำระหนี้กู้ยืมเงินได้ สำหรับสัญญาจำนองนั้นต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

  • เมื่อครบกำหนดคืนเงินแล้วผู้กู้ไม่ยอมคืนเงินจะทำอย่างไร

เมื่อผู้กู้ไม่ยอมคืนเงินตามที่กำหนดไว้ผู้ให้กู้สามารถทวงถามได้โดยการบอกกล่าวทวงถาม (โดยทำเป็นหนังสือบอกกล่าวทวงถาม หรือตามภาษาที่ทนายเรียกกันติดปากว่า โนติส (Notice)) ให้ผู้กู้คืนเงินโดยการทำหนังสือบอกกล่าวทวงถามกำหนดระยะเวลาพอสมควรให้ผู้กู้คืนเงิน เช่น ระยะเวลา 15วัน , 30 วัน หรือ 1 เดือน หากผู้กู้ไม่ยอมคืนย่อมถือว่าผิดนัดสามารถฟ้องคดีต่อเพื่อให้ศาลบังคับตามสัญญาต่อไป

 

ข้อควรระวังเกี่ยวกับการกู้ยืมเงิน

  • ตรวจสอบจำนวนเงิน, อัตราดอกเบี้ย และทำความเข้าใจเนื้อหาในสัญญาก่อนเซ็นสัญญาทุกครั้ง
  • ห้ามลงลายมือชื่อในกระดาษเปล่าเด็ดขาด หรือสัญญาที่มีการเว้นเว้นช่องว่างผิดปกติ
  • ไม่ควรนำโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับการทำประโยชน์ในที่ดิน ไปให้เจ้าหนี้ยึดถือไว้เป็นหลักประกันการกู้ยืมเงิน
  • สัญญาต้องทำอย่างน้อย 2 ฉบับ โดยให้ผู้กู้ยืมถือไว้ด้วย 1 ฉบับ
  • ในสัญญาควรมีลายเซ็นพยานฝ่ายผู้กู้ยืมอย่างน้อย 1 คน
  • การชำระหนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ต้องขอรับใบเสร็จรับเงินหรือหลักฐานการรับเงินซึ่งมีลายมือชื่อผู้ให้กู้ยืมลงกำกับด้วยทุกครั้ง เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันว่าได้ชำระหนี้แล้ว
  • เมื่อชำระหนี้ทั้งหมดควรขอสัญญากู้คืนจากผู้ให้กู้ยืม

The post สิ่งที่ลูกหนี้ต้องรู้! ก่อนตกลงทำ ‘สัญญากู้ยืมเงิน’ appeared first on dbcorp.

]]>
https://dbcorp.co.th/%e0%b8%aa%e0%b8%b4%e0%b9%88%e0%b8%87%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b8%a5%e0%b8%b9%e0%b8%81%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b8%b5%e0%b9%89%e0%b8%95%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%a3%e0%b8%b9%e0%b9%89-%e0%b8%81/feed/ 0
ค้างค่างวดรถได้นานเท่าไหร่? จ่ายไม่ทันควรทำอย่างไร? https://dbcorp.co.th/%e0%b8%84%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%84%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%a7%e0%b8%94%e0%b8%a3%e0%b8%96%e0%b9%84%e0%b8%94%e0%b9%89%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%97%e0%b9%88%e0%b8%b2/ https://dbcorp.co.th/%e0%b8%84%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%84%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%a7%e0%b8%94%e0%b8%a3%e0%b8%96%e0%b9%84%e0%b8%94%e0%b9%89%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%97%e0%b9%88%e0%b8%b2/#respond Thu, 11 Jan 2024 06:05:36 +0000 https://dbcorp.co.th/?p=16245 ค้างค่างวดรถได้นานเท่าไหร่? จ่ายไม่ทันควรทำอย่างไร? เรื่องเงินไม่พอใช้ ค่าใช้จ่ายต่างๆที่เข้ามาจนการเงินของเราถึงขั้นสดุด ทำให้เกิดการค้างชำระค่าใช้จ่ายบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นค่าบ้าน ค่าไฟ ค่าน้ำ ค่าบัตรเครดิต หรือแม้แต่ ค่างวดรถ หลายๆท่านก็คงจะเข้าใจว่าถ้าหากเราค้างชำระช้ากว่าที่กำหนดท่านอาจจะโดนบริษัทติดต่อทวงถามหนี้ ซึ่งท่านสามารถผิดนัดชำระได้นานเท่าไหร่สามารถหาคำตอบได้ในบทความนี้เลยค่ะ ค้างค่างวดรถ นานเท่าไรถึงจะโดนยึดรถ การค้างค่างวดรถ กี่เดือน ถึงจะโดนยึด คำตอบก็คือ โดยทั่วไปแล้วเราจะต้องค้างค่างวดรถติดต่อกันเป็นเวลา 3 เดือน จากนั้นเค้าก็จะติดตามถามทวงอีก 30 วัน หากเกินจากนี้แล้วไม่ได้ไปชำระเงิน เราก็จะถูกยึดรถโดยปริยาย เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญที่คนที่มายึดมักจะไม่มาบอกเรา แต่หากของใครค้างนานกว่านี้แล้วไม่มีการแจ้งมาว่าจะยึดละก็ อย่าเพิ่งคิดว่าตัวเองโชคดีไป ขอให้เตรียมตัวไว้ว่า เค้าอาจจะมาแบบกองโจร เจอแล้วยึดเลย หมดสิทธิ์ต่อรองทั้งนั้น แต่ถ้ายังพอไหวในชำระค่างวดได้ในช่วง 1-2 งวดที่ขาดส่ง ให้พยายามชำระค่างวดเพื่อไม่ให้ค้างติดกัน 3 เดือน …

The post ค้างค่างวดรถได้นานเท่าไหร่? จ่ายไม่ทันควรทำอย่างไร? appeared first on dbcorp.

]]>
ค้างค่างวดรถได้นานเท่าไหร่? จ่ายไม่ทันควรทำอย่างไร?

เรื่องเงินไม่พอใช้ ค่าใช้จ่ายต่างๆที่เข้ามาจนการเงินของเราถึงขั้นสดุด ทำให้เกิดการค้างชำระค่าใช้จ่ายบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นค่าบ้าน ค่าไฟ ค่าน้ำ ค่าบัตรเครดิต หรือแม้แต่ ค่างวดรถ หลายๆท่านก็คงจะเข้าใจว่าถ้าหากเราค้างชำระช้ากว่าที่กำหนดท่านอาจจะโดนบริษัทติดต่อทวงถามหนี้ ซึ่งท่านสามารถผิดนัดชำระได้นานเท่าไหร่สามารถหาคำตอบได้ในบทความนี้เลยค่ะ

ค้างค่างวดรถ นานเท่าไรถึงจะโดนยึดรถ

การค้างค่างวดรถ กี่เดือน ถึงจะโดนยึด คำตอบก็คือ โดยทั่วไปแล้วเราจะต้องค้างค่างวดรถติดต่อกันเป็นเวลา 3 เดือน จากนั้นเค้าก็จะติดตามถามทวงอีก 30 วัน หากเกินจากนี้แล้วไม่ได้ไปชำระเงิน เราก็จะถูกยึดรถโดยปริยาย เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญที่คนที่มายึดมักจะไม่มาบอกเรา แต่หากของใครค้างนานกว่านี้แล้วไม่มีการแจ้งมาว่าจะยึดละก็ อย่าเพิ่งคิดว่าตัวเองโชคดีไป ขอให้เตรียมตัวไว้ว่า เค้าอาจจะมาแบบกองโจร เจอแล้วยึดเลย หมดสิทธิ์ต่อรองทั้งนั้น แต่ถ้ายังพอไหวในชำระค่างวดได้ในช่วง 1-2 งวดที่ขาดส่ง ให้พยายามชำระค่างวดเพื่อไม่ให้ค้างติดกัน 3 เดือน เพื่อไม่เปิดทางให้ไฟแนนซ์มายึดรถ

ในกรณีที่ผ่อนชำระไม่ไหว

– เจรจาขอผ่อนผัน แนะนำว่า ควรเข้าไปเจรจากับไฟแนนซ์เพื่อทำการผ่อนผัน ขอผ่อนแต่ดอกเบี้ยไปก่อน เงินต้นยังไม่ถูกหัก เผื่ออนาคตคุณจะสามารถหาเงินมาผ่อนชำระหนี้ได้ ในรายละเอียดอยู่ที่การเจรจากับไฟแนนซ์ว่าเงื่อนไขเป็นอย่างไร

– การรีไฟแนนซ์ คือการกู้เงินก้อนใหม่มาปิดหนี้ก้อนเดิม เรียกได้ว่าเป็นการเป็นหนี้ที่ได้สิทธิประโยชน์ใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นจากหนี้ก้อนเก่า เมื่อผ่อนรถยนต์ไม่ไหว แต่พร้อมสู้ต่อไปให้รถยนต์ยังคงอยู่กับเรา การรีไฟแนนซ์เลยเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในบรรดาตัวเลือกทั้งหมด ซึ่งสิทธิประโยชน์จากหนี้ก้อนใหม่ที่คุณจะได้ คือ

  • ยืดระยะเวลาในการผ่อนนานขึ้นไป
  • ได้ดอกเบี้ยในการผ่อนที่ถูกลงกว่ายอดหนี้อันเก่า
  • ผ่อนต่อเดือนในจำนวนเงินที่น้อยลง
  • มีเงินก้อนจากส่วนต่างที่เหลือมาหมุนเวียนให้เกิดสภาพคล่องทางการเงิน

 

คำถามที่หลายๆคนนั้นเป๋นกังวล ‘ถ้าไม่มีเงินจ่ายไฟแนนซ์จะติดคุกหรือไม่’ คำตอบคือ “ไม่” เพราะเป็นคดีแพ่งไม่ใช่คดีอาญา และที่สำคัญ การเป็นหนี้ไฟแนนซ์ ไม่ต้องลาออกจากงาน เพราะไม่มีผลกระทบต่อหน้าที่การงาน การเป็นหนี้สินถือเป็นเรื่องส่วนตัว

The post ค้างค่างวดรถได้นานเท่าไหร่? จ่ายไม่ทันควรทำอย่างไร? appeared first on dbcorp.

]]>
https://dbcorp.co.th/%e0%b8%84%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%84%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%a7%e0%b8%94%e0%b8%a3%e0%b8%96%e0%b9%84%e0%b8%94%e0%b9%89%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%97%e0%b9%88%e0%b8%b2/feed/ 0
ทวงถามหนี้อย่างไรไม่ผิดกฎหมาย? https://dbcorp.co.th/%e0%b8%97%e0%b8%a7%e0%b8%87%e0%b8%96%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b8%b5%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%a2%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b9%84%e0%b8%a3%e0%b9%84%e0%b8%a1%e0%b9%88%e0%b8%9c%e0%b8%b4/ https://dbcorp.co.th/%e0%b8%97%e0%b8%a7%e0%b8%87%e0%b8%96%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b8%b5%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%a2%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b9%84%e0%b8%a3%e0%b9%84%e0%b8%a1%e0%b9%88%e0%b8%9c%e0%b8%b4/#respond Fri, 05 Jan 2024 04:09:55 +0000 https://dbcorp.co.th/?p=16242 ทวงถามหนี้อย่างไรไม่ผิดกฎหมาย?           ใครที่เคยเป็นเจ้าหนี้ก็คงเข้าใจความรู้สึกที่ต้องมาทวงหนี้กันใช่มั้ยคะ บางทีก็ไม่ได้อยากทวงบ่อยๆ แต่ลูกหนี้ไม่ยอมคืน ก็ไม่รู้ควรต้องทำอย่างไร ผู้ทวงถามหนี้ คือ  เจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้ให้สินเชื่อ ผู้ประกอบธุรกิจตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค ผู้จัดให้มีการเล่นการพนันเป็นปกติธุระตามกฎหมายว่าด้วยการพนัน และเจ้าหนี้อื่นๆ ไม่ว่าหนี้ดังกล่าวจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ก็ตาม ธุรกิจทวงถามหนี้ คือ ผู้ประกอบธุรกิจรับจ้างทวงหนี้ ซึ่งต้องได้รับการจดทะเบียนทวงถามหนี้ต่อนายทะเบียน กรณีผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้เป็นทนายความ ให้จดทะเบียนกับสภาทนายความ ผู้ฝ่าฝืนไม่ไปจดทะเบียนมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท ใครมีสิทธิทวงหนี้ ? คือ เจ้าหนี้โดยตรง อาจเป็นสถาบันการเงิน ผู้ให้บริการสินเชื่อ/บัตรเครดิต/เช่าซื้อ ซึ่งครอบคลุมเจ้าหนี้นอกระบบ และเจ้าหนี้ในกิจกรรมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วย (เช่น หนี้การพนัน) รวมถึงผู้รับมอบอำนาจจากเจ้าหนี้ตามกฎหมาย ผู้รับมอบอำนาจช่วง (ผู้ได้รับมอบอำนาจ จากผู้รับมอบอำนาจอีกทอดหนึ่ง) ผู้ประกอบธุรกิจทวงหนี้ …

The post ทวงถามหนี้อย่างไรไม่ผิดกฎหมาย? appeared first on dbcorp.

]]>
ทวงถามหนี้อย่างไรไม่ผิดกฎหมาย?

          ใครที่เคยเป็นเจ้าหนี้ก็คงเข้าใจความรู้สึกที่ต้องมาทวงหนี้กันใช่มั้ยคะ บางทีก็ไม่ได้อยากทวงบ่อยๆ แต่ลูกหนี้ไม่ยอมคืน ก็ไม่รู้ควรต้องทำอย่างไร

ผู้ทวงถามหนี้ คือ  เจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้ให้สินเชื่อ ผู้ประกอบธุรกิจตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค ผู้จัดให้มีการเล่นการพนันเป็นปกติธุระตามกฎหมายว่าด้วยการพนัน และเจ้าหนี้อื่นๆ ไม่ว่าหนี้ดังกล่าวจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ก็ตาม

ธุรกิจทวงถามหนี้ คือ ผู้ประกอบธุรกิจรับจ้างทวงหนี้ ซึ่งต้องได้รับการจดทะเบียนทวงถามหนี้ต่อนายทะเบียน กรณีผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้เป็นทนายความ ให้จดทะเบียนกับสภาทนายความ ผู้ฝ่าฝืนไม่ไปจดทะเบียนมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท
ใครมีสิทธิทวงหนี้ ? คือ เจ้าหนี้โดยตรง อาจเป็นสถาบันการเงิน ผู้ให้บริการสินเชื่อ/บัตรเครดิต/เช่าซื้อ ซึ่งครอบคลุมเจ้าหนี้นอกระบบ และเจ้าหนี้ในกิจกรรมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วย (เช่น หนี้การพนัน) รวมถึงผู้รับมอบอำนาจจากเจ้าหนี้ตามกฎหมาย ผู้รับมอบอำนาจช่วง (ผู้ได้รับมอบอำนาจ จากผู้รับมอบอำนาจอีกทอดหนึ่ง) ผู้ประกอบธุรกิจทวงหนี้ และผู้รับมอบอำนาจจากผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ด้วย ซึ่งในกรณีผู้รับมอบอำนาจมาทุกกรณี หากลูกหนี้ทวงถามต่อหน้าต้องนำหลักฐานการมอบอำนาจมาแสดงด้วย

ห้ามเจ้าหน้าที่ของรัฐ เช่น ทหาร ตำรวจ ประกอบธุรกิจรับทวงหนี้ หรือไปช่วยคนอื่นทวงหนี้ที่ไม่ใช่หนี้ของตัวเอง เว้นแต่เป็นหนี้ของสามีภรรยา พ่อแม่ หรือลูก ให้สามารถทำได้ภายใต้กรอบของกฎหมาย ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจําคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
ทวงหนี้อย่างไร ไม่ผิดกฎหมาย

  • จำนวนในการทวงหนี้ 1 ครั้ง / วัน
  • ช่วงเวลาในการทวงหนี้
  • จันทร์ – ศุกร์ เวลา 00 – 20.00 น.
  • วันหยุดราชการ เวลา 00 – 18.00 น.

นับเป็นการทวงถามหนี้ 1 ครั้ง

  • ส่งข้อความทางไลน์ และมีการเปิดอ่าน
  • โทรศัพท์หาลูกหนี้ และทวงหนี้อย่างชัดเจน

ไม่นับเป็นการทวงหนี้

  • ส่งข้อความทางไลน์ แต่ลูกหนี้ไม่ได้เปิดอ่าน
  • โทรศัพท์ไปหา แต่ลูกหนี้ยังไม่รับโทรศัพท์
  • ลูกหนี้รับโทรศัพท์แล้ว แต่วางสายก่อนจะพูดคุยเรื่องโทรถามหนี้

การทวงหนี้แบบใด ที่ห้ามทำโดยเด็ดขาด?

  • ห้ามพูดจาดูหมิ่น
  • ห้ามประจาน
  • ห้ามข่มขู่
  • ห้ามใช้ความรุนแรง
  • ห้ามทำร้ายร่างกาย
  • ห้ามทำลายทรัพย์สินของลูกหนี้ให้เกิดความเสียหาย
  • ห้ามเปิดเผยเรื่องหนี้ของลูกหนี้ ต่อผู้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง
  • ห้ามส่งเอกสารเปิดผนึกทางไปรษณีย์ ที่แสดงให้เห็นว่าเป็นการทวงถามหนี้อย่างชัดเจน

หากทวงถามหนี้อย่างไม่เป็นธรรม มีโทษอย่างไร?

ถ้าทวงถามหนี้โดยไม่เป็นไปตามขั้นตอนที่กฎหมายบัญญัติไว้ ฝ่ายลูกหนี้สามารถไปแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ และผู้ทวงถามหนี้จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 1-5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000-500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

กฎหมายที่ควรรู้เราจะได้ไม่เผลอกระทำผิดกฎหมาย ก็จะได้รู้รายละเอียดเวลาทวงหนี้และข้อห้ามต่างๆ ซึ่งเรื่องเหล่านี้นับเป็นกฎหมายพื้นฐานในชีวิตประจำวันที่เราควรรู้ไว้

The post ทวงถามหนี้อย่างไรไม่ผิดกฎหมาย? appeared first on dbcorp.

]]>
https://dbcorp.co.th/%e0%b8%97%e0%b8%a7%e0%b8%87%e0%b8%96%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b8%b5%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%a2%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b9%84%e0%b8%a3%e0%b9%84%e0%b8%a1%e0%b9%88%e0%b8%9c%e0%b8%b4/feed/ 0
บุคคลล้มละลายคืออะไร เพราะอะไรถึงเป็นบุคคลล้มละลาย https://dbcorp.co.th/%e0%b8%9a%e0%b8%b8%e0%b8%84%e0%b8%84%e0%b8%a5%e0%b8%a5%e0%b9%89%e0%b8%a1%e0%b8%a5%e0%b8%b0%e0%b8%a5%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%84%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%ad%e0%b8%b0%e0%b9%84%e0%b8%a3-%e0%b9%80%e0%b8%9e/ https://dbcorp.co.th/%e0%b8%9a%e0%b8%b8%e0%b8%84%e0%b8%84%e0%b8%a5%e0%b8%a5%e0%b9%89%e0%b8%a1%e0%b8%a5%e0%b8%b0%e0%b8%a5%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%84%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%ad%e0%b8%b0%e0%b9%84%e0%b8%a3-%e0%b9%80%e0%b8%9e/#respond Thu, 28 Dec 2023 04:12:34 +0000 https://dbcorp.co.th/?p=16238 บุคคลล้มละลายคืออะไร เพราะอะไรถึงเป็นบุคคลล้มละลาย การตกเป็นบุคคลล้มละลายคืออะไร ? บุคคลคลล้มละลาย ส่วนใหญ่แล้วเกิดจากมีหนี้สินเกินกว่าที่จะชำระหนี้ได้ จึงถูกเจ้าหนี้ฟ้องล้มละลาย โดยการจะถูกฟ้องล้มละลายนั้นมีสาเหตุมาจาก บุคคลธรรมดา มีหนี้สินมากกว่า 1 ล้านบาท นิติบุคคล มีหนี้สินมากกว่า 2 ล้านบาท ผู้ที่มีแนวโน้ม มีหนี้สินล้นพ้นตัว หรือ ไม่มีความสามารถที่จะชำาระหนี้ได้ การตกเป็นบุคคลล้มละลายส่งผลอะไรต่อชีวิตบ้าง ? หลายท่านอาจเกิดความสงสัยว่าการตกเป็นบุคคลล้มละลายจะทำให้ชีวิตเราเปลี่ยนไปอย่างไร ซึ่งอาจสรุปได้ ดังนี้ ไม่สามารถทำนิติกรรมใด ๆ ได้ทั้งสิ้น รวมไปถึงธุรกรรมการเงินต่าง ๆ เช่น การเปิดบัญชีธนาคาร การโอนเงิน การถอนเงิน เป็นต้น ไม่สามารถสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือดำรงตำแหน่งทางการเมือง รวมถึงไม่สามารถรับราชการ หรือถ้ากรณีรับราชการอยู่แล้วก็จะต้องออกจากราชการ หรือกรณีที่เป็นพนักงานบริษัทเอกชนก็จะต้องออกจากงานในกรณีที่บริษัทนั้นกำหนดว่าพนักงานของตนต้องไม่เป็นบุคคลล้มละลาย …

The post บุคคลล้มละลายคืออะไร เพราะอะไรถึงเป็นบุคคลล้มละลาย appeared first on dbcorp.

]]>
บุคคลล้มละลายคืออะไร เพราะอะไรถึงเป็นบุคคลล้มละลาย

การตกเป็นบุคคลล้มละลายคืออะไร ?
บุคคลคลล้มละลาย ส่วนใหญ่แล้วเกิดจากมีหนี้สินเกินกว่าที่จะชำระหนี้ได้ จึงถูกเจ้าหนี้ฟ้องล้มละลาย โดยการจะถูกฟ้องล้มละลายนั้นมีสาเหตุมาจาก

  • บุคคลธรรมดา มีหนี้สินมากกว่า 1 ล้านบาท
  • นิติบุคคล มีหนี้สินมากกว่า 2 ล้านบาท
  • ผู้ที่มีแนวโน้ม มีหนี้สินล้นพ้นตัว หรือ ไม่มีความสามารถที่จะชำาระหนี้ได้

การตกเป็นบุคคลล้มละลายส่งผลอะไรต่อชีวิตบ้าง ?
หลายท่านอาจเกิดความสงสัยว่าการตกเป็นบุคคลล้มละลายจะทำให้ชีวิตเราเปลี่ยนไปอย่างไร ซึ่งอาจสรุปได้ ดังนี้

  • ไม่สามารถทำนิติกรรมใด ๆ ได้ทั้งสิ้น รวมไปถึงธุรกรรมการเงินต่าง ๆ เช่น การเปิดบัญชีธนาคาร การโอนเงิน การถอนเงิน เป็นต้น
  • ไม่สามารถสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือดำรงตำแหน่งทางการเมือง รวมถึงไม่สามารถรับราชการ หรือถ้ากรณีรับราชการอยู่แล้วก็จะต้องออกจากราชการ หรือกรณีที่เป็นพนักงานบริษัทเอกชนก็จะต้องออกจากงานในกรณีที่บริษัทนั้นกำหนดว่าพนักงานของตนต้องไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
  • ไม่สามารถดำรงตำแหน่งในบริษัท หากมีความจำเป็นจะต้องได้รับอนุญาตจากศาลเสียก่อนจึงจะดำรงตำแหน่งได้
  • ไม่สามารถเดินทางไปต่างประเทศได้ หรือหากมีความจำเป็นจริงๆ จะต้องขออนุญาตจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก่อน โดยแจ้งต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่าจะเดินทางไปที่ไหน กี่วัน และบุคคลที่สามารถติดต่อได้ในขณะที่อยู่ต่างประเทศ อย่างไรก็ดี การอนุญาตให้เดินทางไปต่างประเทศได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์

ระยะเวลาเท่าใดจึงจะพ้นสภาพการเป็นบุคคลล้มละลาย ?

การถูกสั่งให้เป็นบุคคลล้มละลายนั้น จะมีระยะเวลา 3 ปี เมื่อครบกำหนดก็จะถูกปลดจากการเป็นบุคคลล้มละลาย ยกเว้นกรณีที่ไม่ให้ความร่วมมือกับเจ้าหนี้ ก็อาจจะมีการขยายเวลาเป็น 5 หรือ 10 ปีก็ได้ เมื่อครบกำหนดระยะเวลา 3 ปี ก็ให้บุคคลล้มละลายติดต่อกับเจ้าหน้าที่พิทักษ์ทรัพย์สินเพื่อขอปลดจากการเป็นบุคคลล้มละลาย หลังจากปลดจากการเป็นบุคคลล้มลายแล้ว ก็จะสามารถทำงานและทำธุรกรรมต่างๆ ได้ตามปกติ

 

การปลดหนี้ แบบอื่น ๆ สำหรับบุคคล หรือธุรกิจใกล้ล้มละลาย

  • การฟื้นฟูกิจการ

การฟื้นฟูกิจการ คือกระบวนการทางศาล เป็นวิธีการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ และปัญหาทางการเงินของลูกหนี้ เพื่อให้ลูกหนี้กลับมาบริหารกิจการได้อีกครั้งและเป็นการเริ่มต้นใหม่โดยปราศจากหนี้สินทั้งปวง ซึ่งจะไม่ถือว่าเป็นคดีแพ่ง และไม่ใช่คดีล้มละลายธรรมดาด้วยเช่นกัน

  • การประนอมหนี้

การประนอมหนี้ คือข้อตกลงที่ลูกหนี้ กับเจ้าหนี้สามารถตกลงกันได้ทั้งก่อนที่จะอยู่ในสภาวะล้มละลาย และหลังจากล้มละลายแล้ว เป็นข้อตกลงที่สามารถทำร่วมกันกับผู้ใกล้เกลี่ย โดยสามารถตกลงว่าจะชำระหนี้บางส่วน หรือโอนถ่ายสินทรัพย์ หรือหุ้นบางส่วนให้กับเจ้าหนี้

การพ้นจากสภาพการเป็นบุคคลล้มละลาย

การถูกศาลสั่งให้เป็นบุคคลล้มละลายนั้นจะมีกำหนดระยะเวลา 3 ปี ซึ่งเมื่อครบกำหนดก็จะถูกปลดจากการเป็นบุคคลล้มละลาย  โดยให้บุคคลล้มละลายติดต่อกับเจ้าหน้าที่พิทักษ์ทรัพย์ เพื่อขอปลดจากการเป็นบุคคลล้มละลาย และภายหลังจากที่มีคำสั่งปลดจากการเป็นบุคคลล้มละลายแล้ว ก็จะสามารถทำงานและทำธุรกรรมต่าง ๆ ได้ตามปกติ อย่างไรก็ดีคำสั่งปลดจากการล้มละลายนี้ จะส่งผลให้บุคคลล้มละลายนั้นหลุดพ้นจากหนี้สินทั้งปวงด้วย ยกเว้นแต่หนี้สินที่เกี่ยวข้องกับภาษีอากร หรือหนี้สินที่เกิดขึ้นจากการทุจริต ฉ้อโกงของบุคคลล้มละลาย

The post บุคคลล้มละลายคืออะไร เพราะอะไรถึงเป็นบุคคลล้มละลาย appeared first on dbcorp.

]]>
https://dbcorp.co.th/%e0%b8%9a%e0%b8%b8%e0%b8%84%e0%b8%84%e0%b8%a5%e0%b8%a5%e0%b9%89%e0%b8%a1%e0%b8%a5%e0%b8%b0%e0%b8%a5%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%84%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%ad%e0%b8%b0%e0%b9%84%e0%b8%a3-%e0%b9%80%e0%b8%9e/feed/ 0
เมื่อเจ้าหนี้ยื่นฟ้องแล้ว ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ โอนย้ายทรัพย์สิน มีความผิดฐานใด? https://dbcorp.co.th/%e0%b9%80%e0%b8%a1%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b9%80%e0%b8%88%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b8%b5%e0%b9%89%e0%b8%a2%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%99%e0%b8%9f%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b9%81/ https://dbcorp.co.th/%e0%b9%80%e0%b8%a1%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b9%80%e0%b8%88%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b8%b5%e0%b9%89%e0%b8%a2%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%99%e0%b8%9f%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b9%81/#respond Wed, 20 Dec 2023 08:09:23 +0000 https://dbcorp.co.th/?p=16235 เมื่อเจ้าหนี้ยื่นฟ้องแล้ว ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ โอนย้ายทรัพย์สิน มีความผิดฐานใด? โดยปกติแล้วหากเป็นหนี้ก็ต้องชำระต่อกันถูกต้องมั้ยคะ โดยปกติแล้วเจ้าหนี้ทุกท่านก็ต้องการเงินที่ถูกยืมคืน แต่ในกรณีที่ลูกหนี้ไม่ยอมชำระหนี้ ลูกหนี้บางรายอาจมีพฤติกรรมที่เกินเลยถึงขั้นไม่ต้องให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้อีกด้วย ซึ่งลูกหนี้มีพฤติกรรมที่ไม่ต้องการชำระหนี้ในทางกฎหมายแล้วมีความผิดฐานโกงเจ้าหนี้นั่นเอง ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 350 กำหนดไว้ว่า “ผู้ใดเพื่อมิให้เจ้าหนี้ของตนหรือของผู้อื่นได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ซึ่งได้ใช้หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้ ย้ายไปเสีย ซ่อนเร้น หรือโอนไปให้แก่ผู้อื่นซึ่งทรัพย์ใดก็ดี แกล้งให้ตนเองเป็นหนี้จำนวนใดอันไม่เป็นความจริงก็ดี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” สรุปง่ายๆก็คือ ภายหลังจากเจ้าหนี้ได้ส่งหนังสือบอกกล่าวทวงถามหนี้ (Notice) แล้ว ลูกหนี้มีทรัพย์สินไม่ว่าจะเป็น ทรัพย์สินอะไรก็ตาม ลูกหนี้อาจจะถูกเจ้าหนี้บังคับคดีเพื่อเอาทรัพย์สินลูกหนี้มาชำระหนี้ได้ แต่ถ้าลูกหนี้ไปโอนเปลี่ยนชื่อทรัพย์สินไปให้แก่ผู้อื่น หรือแกล้งให้ตนเป็นหนี้จำนวนใดอันไม่เป็นความจริง ทำให้เจ้าหนี้ได้รับความสียหาย เจ้าหนี้มีสิทธิฟ้องลูกหนี้เป็นคดีอาญา โดยเจ้าหนี้สามารถฟ้องทั้งตัวลูกหนี้และตัวผู้รับโอนทรัพย์สินจากลูกหนี้ให้เป็นเป็นจำเลยร่วมกับลูกหนี้ได้ โดนโทษอะไรบ้างหากทำผิดมาตรา 350 “ …

The post เมื่อเจ้าหนี้ยื่นฟ้องแล้ว ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ โอนย้ายทรัพย์สิน มีความผิดฐานใด? appeared first on dbcorp.

]]>
เมื่อเจ้าหนี้ยื่นฟ้องแล้ว ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ โอนย้ายทรัพย์สิน มีความผิดฐานใด?

โดยปกติแล้วหากเป็นหนี้ก็ต้องชำระต่อกันถูกต้องมั้ยคะ โดยปกติแล้วเจ้าหนี้ทุกท่านก็ต้องการเงินที่ถูกยืมคืน แต่ในกรณีที่ลูกหนี้ไม่ยอมชำระหนี้ ลูกหนี้บางรายอาจมีพฤติกรรมที่เกินเลยถึงขั้นไม่ต้องให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้อีกด้วย ซึ่งลูกหนี้มีพฤติกรรมที่ไม่ต้องการชำระหนี้ในทางกฎหมายแล้วมีความผิดฐานโกงเจ้าหนี้นั่นเอง

ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 350 กำหนดไว้ว่า
ผู้ใดเพื่อมิให้เจ้าหนี้ของตนหรือของผู้อื่นได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ซึ่งได้ใช้หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้ ย้ายไปเสีย ซ่อนเร้น หรือโอนไปให้แก่ผู้อื่นซึ่งทรัพย์ใดก็ดี แกล้งให้ตนเองเป็นหนี้จำนวนใดอันไม่เป็นความจริงก็ดี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”

สรุปง่ายๆก็คือ ภายหลังจากเจ้าหนี้ได้ส่งหนังสือบอกกล่าวทวงถามหนี้ (Notice) แล้ว ลูกหนี้มีทรัพย์สินไม่ว่าจะเป็น ทรัพย์สินอะไรก็ตาม ลูกหนี้อาจจะถูกเจ้าหนี้บังคับคดีเพื่อเอาทรัพย์สินลูกหนี้มาชำระหนี้ได้ แต่ถ้าลูกหนี้ไปโอนเปลี่ยนชื่อทรัพย์สินไปให้แก่ผู้อื่น หรือแกล้งให้ตนเป็นหนี้จำนวนใดอันไม่เป็นความจริง ทำให้เจ้าหนี้ได้รับความสียหาย เจ้าหนี้มีสิทธิฟ้องลูกหนี้เป็นคดีอาญา โดยเจ้าหนี้สามารถฟ้องทั้งตัวลูกหนี้และตัวผู้รับโอนทรัพย์สินจากลูกหนี้ให้เป็นเป็นจำเลยร่วมกับลูกหนี้ได้

โดนโทษอะไรบ้างหากทำผิดมาตรา 350
“ ผู้ใดเพื่อมิให้เจ้าหนี้ของตนหรือของผู้อื่นได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ซึ่งได้ใช้หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้ ย้ายไปเสีย ซ่อนเร้น หรือโอนไปให้แก่ผู้อื่นซึ่งทรัพย์ใดก็ดี แกล้งให้ตนเองเป็นหนี้จำนวนใดอันไม่เป็นความจริงก็ดี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ”

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4135/2563

โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 350 ประกอบมาตรา 83 ศาลชั้นต้นยกฟ้องในชั้นไต่สวนมูลฟ้องโดยวินิจฉัยว่าศาลชั้นต้นในคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองฐานผิดสัญญาจะซื้อจะขายนั้นมีคำพิพากษายกฟ้อง มิได้พิพากษาให้จำเลยทั้งสองต้องโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินให้โจทก์ ขณะจำเลยทั้งสองโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินตามฟ้องให้แก่บุคคลภายนอก จำเลยทั้งสองจึงมิได้เป็นลูกหนี้ของโจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น คดีจึงไม่มีมูล ที่โจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์กับจำเลยทั้งสองเป็นเจ้าหนี้ลูกหนี้กันนับแต่ขณะทำสัญญาจะซื้อจะขายตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคสอง และเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2550 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองให้ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขาย โจทก์จึงมีหนี้อันสมบูรณ์ที่ได้ใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้อยู่แล้วในขณะที่จำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำความผิด การกระทำของจำเลยทั้งสองครบองค์ประกอบความผิดฐานร่วมกันโกงเจ้าหนี้นั้น เป็นอุทธรณ์ที่โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่วินิจฉัยปรับข้อเท็จจริงที่รับฟังได้แล้วว่าครบองค์ประกอบความผิดฐานร่วมกันโกงเจ้าหนี้ตามฟ้องหรือไม่ โดยโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์รับฟังข้อเท็จจริงใหม่ให้ผิดไปจากที่ศาลชั้นต้นรับฟังมาแต่อย่างใด อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมาย มิใช่อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ว่าเป็นอุทธรณ์ต้องห้ามในปัญหาข้อเท็จจริงแล้วพิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์นั้น เป็นการไม่ชอบ

The post เมื่อเจ้าหนี้ยื่นฟ้องแล้ว ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ โอนย้ายทรัพย์สิน มีความผิดฐานใด? appeared first on dbcorp.

]]>
https://dbcorp.co.th/%e0%b9%80%e0%b8%a1%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b9%80%e0%b8%88%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b8%b5%e0%b9%89%e0%b8%a2%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%99%e0%b8%9f%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b9%81/feed/ 0