
หนี้นอกระบบ ไม่มีสัญญาสามารถฟ้องร้องได้ไหม?
หนี้นอกระบบ ไม่มีสัญญาสามารถฟ้องร้องได้ไหม?
เมื่อประสบปัญหาด้านการเงิน การกู้เงินก็คงจะเป็นทางออกที่หลายๆท่านเลือกที่จะใช้เป็นทางเลือกแรกๆ แต่จะไปกู้จากธนาคารก็เครดิตไม่ดีพอที่จะกู้ ก็เลยต้องยอมกู้เงินดิกระบบที่ดอกเบี้ยแสนแพงทำให้ในบางงวดอาจไม่สามารถจ่ายไหว แล้วถ้าเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นจริงๆ จะโดนเจ้าหนี้ฟ้องได้หรือไม่?
หนี้นอกระบบ คืออะไร? มีกี่ประเภท?
เงินกู้ที่มีลักษณะตรงข้ามกับเงินกู้ในระบบทุกอย่าง กล่าวคือ เป็นการกู้เงินที่ไม่มีการรับรองจากกฎหมาย มีลักษณะเป็นการยืมเงินปากเปล่า หรือมีการบันทึกข้อความ สัญญาไว้เป็นหลักฐานก็ได้ ตัวอย่างของเงินกู้นอกระบบ เช่น พวกเงินด่วนทั้งหลายที่มีการแปะประกาศตามรั้ว ตามเสาไฟฟ้า หรือมีการบอกต่อกันแบบปากต่อปาก หรือเป็นการปล่อยกู้กันเองในกลุ่มคนรู้จัก รวมถึงสื่อตามอินเทอร์เน็ตต่างๆ ที่ไม่ได้มีการรับรองตามกฎหมาย
- หนี้นอกระบบแบบรายวัน : เป็นหนี้ที่ให้ผู้กู้ยืมเงินจำนวนหนึ่งโดยคิดดอกเบี้ยรายวัน อัตราดอกเบี้ยมักจะสูงมาก เช่น ดอกเบี้ย 30% ต่อเดือน
- หนี้นอกระบบแบบรายเดือน : เป็นหนี้ที่ให้ผู้กู้ยืมเงินจำนวนหนึ่งโดยคิดดอกเบี้ยรายเดือน อัตราดอกเบี้ยมักจะต่ำกว่าหนี้นอกระบบแบบรายวัน แต่ก็ยังถือว่าสูง
- หนี้นอกระบบแบบแชร์ลูกโซ่ : เป็นหนี้ที่ให้ผู้กู้ยืมเงินจำนวนหนึ่งโดยต้องหาผู้กู้รายใหม่มาแทนที่ เมื่อผู้กู้รายใหม่ไม่สามารถชำระหนี้ได้ หนี้ก็จะตกอยู่ที่ผู้กู้รายแรก
จะมีผลเสียอย่างไรบ้าง?
ในกรณีที่คุณไม่สามารถจ่ายหนี้นอกระบบได้จนโดนฟ้องร้องนั้น จะส่งผลเสียอย่างไรบ้าง
ประการแรกเลยก็คือ หากอยู่ในขั้นตอนฟ้องร้อง เจ้าหนี้และลูกหนี้ยังสามารถตกลงและทำการประนีประนอมกันได้ในเบื้องต้น จริงๆ แล้วเจ้าหนี้หลายๆ คนก็ไม่ได้อยากใจยักษ์ใจมารขนาดต้องมาฟ้องร้องลูกหนี้หรอกครับ เขาเพียงต้องการเงินคืนเท่านั้นเอง
แต่ถ้าหากว่าลูกหนี้ไม่สามารถประนีประนอม หรือเจรจากับเจ้าหนี้ได้ในชั้นศาล และศาลได้มีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ชำระหนี้แต่ลูกหนี้ไม่ชำระ สิ่งที่ลูกหนี้อาจจะต้องโดนก็คือการถูกยึด หรือถูกอายัดทรัพย์
ทรัพย์สินที่สามารถถูกยึดหรือถูกอายัดยึดได้
- ของมีค่า เครื่องประดับทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น เพชร พลอย นาฬิกาและของสะสมที่มีมูลค่า
- บ้าน ที่ดิน และถึงแม้ว่าจะยังติดจำนองอยู่ก็สามารถที่จะยึดได้เช่นกัน
- รถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของลูกหนี้ และไม่ได้เป็นเครื่องมือในการประกอบอาชีพ
- เงินในบัญชีเงินฝาก หรือเงินปันผลจากการลงทุนๆ
- ทรัพย์สินที่เป็นการลงทุน อาทิ หุ้น ทองคำ เป็นต้น
ทรัพย์สินที่ไม่สามารถถูกยึดหรือถูกอายัดได้
- ข้าวของเครื่องใช้ส่วนตัวที่มีมูลค่าไม่เกิน 20,000 บาท เช่นโต๊ะ เก้าอี้ เสื้อผ้า
- เครื่องมือที่ใช้ในการประกอบอาชีพของลูกหนี้ที่มีมูลค่าไม่เกิน 100,000 บาท (หากเกินสามารถยึดได้)
- เงินเดือน หรือค่าจ้างของผู้ที่ทำงานราชการ
- เงินเบี้ยเลี้ยงชีพ เช่น เบี้ยเลี้ยงผู้สูงอายุ เบี้ยเลี้ยงคนพิการ
สามารอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการยึดหรืออายัดได้ที่ : dbcorp.co.th/เจ้าหนี้สามารถยึดอะไร/
หนี้นอกระบบ ฟ้องร้องได้มั้ย แจ้งความได้หรือเปล่า?
คำตอบของคำถามก็คือเจ้าหนี้ไม่สามารถที่จะฟ้องหรือแจ้งความดำเนินคดีได้ค่ะ เนื่องจากเป็นเพียงคดีแพ่ง ไม่ใช่ความผิดคดีอาญา แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่โดนอะไรเลยสะที่เดียวนะคะ เพราะลูกหนี้จาถูกดำเนินคดีอาญาฐานฉ้อโกงหรือยักยอกทรัพย์ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หากเจ้าหนี้สามารถพิสูจน์ได้ว่ามีหลักฐานการกู้ยืมกันจริง เช่น สัญญาการกู้ยืมเงิน
แต่ถ้าหากไม่มีสัญญากู้ยืมเงินล่ะ สามารใช้อย่างอื่นในการฟ้องร้องดำเนินคดีได้ค่ะ
ตัวอย่างเช่น หลักฐานการโอนเงิน (สลิปการโอนจากแอพพลิเคชั่นธนาคารต่างๆ), หลักฐานการสนทนาขอยืมเงิน เป็นต้น แต่ก็อาจจะมีสิทธิที่จะแพ้คดีได้เนื่องจากหลักฐานไม่เพียงพอ
*ถ้าหากจำเป็นต้องใช้เงินจริงๆ เราแนะนำให้กู้เงินในระบบ ด้วยความปรารถนาดีจาก บริษัท ดี.บี.คอร์ปอร์เรชั่น จำกัด