ระยะเวลาของการบังคับคดี
ระยะเวลาของการบังคับคดี
หลายๆท่านอาจจะสงสัยว่าเมื่อศาลมีคำพิพากษาให้จำเลยชดใช้เงินหรือกระทำการใดๆ
หากจำเลยไม่ปฏิบัติจามคำพิพากษา โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมสามารถที่จะทำเรื่องบังคับคดีได้ โดยระยะเวลาของการบังคับคดีมีเวลาทั้งหมด 10 ปี นับตั้งแต่มีคำพิพากษา ซึ่งระยะเวลาการบังคับคดีนี้หมายเรียกช่วงเวลาที่ฝ่ายโจทก์หรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาสามารถที่จะทำเรื่องยึดหรืออายัดทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ ถ้าหากเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่ได้ยื่นขอบังคับคดีต่อกรมบังคับคดีภายในระยะเวลา 10 ปี ย่อมหมดสิทธิ์ที่จะไปดำเนินการใดๆกับทรัพย์สินของลูกหนี้ แต่ถ้าหากโจทก์ได้ดำเนินการบังคับคดีและตั้งเรื่องยึดไว้ ไม่ว่าจะเป็นระยะเวลา 10ปี 20ปี 30ปี ก็สามารถที่จะยึดได้
หากท่านสงสัยว่าทรัพย์สินแบบไหนสามารถยึดหรืออายัดได้บ้าง?
- ของมีค่า เครื่องประดับทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น เพชร พลอย นาฬิกาและของสะสมที่มีมูลค่า
- บ้าน ที่ดิน และถึงแม้ว่าจะยังติดจำนองอยู่ก็สามารถที่จะยึดได้เช่นกัน
- รถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของลูกหนี้ และไม่ได้เป็นเครื่องมือในการประกอบอาชีพ
- เงินในบัญชีเงินฝาก หรือเงินปันผลจากการลงทุน
- ทรัพย์สินที่เป็นการลงทุน อาทิ หุ้น ทองคำ
สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ dbcorp.co.th/เจ้าหนี้สามารถยึดอะไร/
หากท่านมีคำพิพากษาแล้ว และติดปัญหาในการบังคับคดียึดทรัพย์ของลูกหนี้ สามารถติดต่อสอบถามมาที่ line @dbcorp ได้ค่ะโดยจะมีแอดมินคอยตอบคำถามหรือแก้ปัญหาของท่าน เรายินดีที่จะให้คำปรึกษาท่านและช่วยเหลืออย่างเต็มที่