ยืมเงินผ่านเเชทสามารถฟ้องได้หรือไม่?
ยืมเงินผ่านเเชทสามารถฟ้องได้หรือไม่?
ในปัจจุบันเทคโนโลยีของโลกเราได้พัฒนาไปไกล
บ่อยครั้งที่คนใกล้ชิดหรือคนรู้จักมักจะทักมาข้อยืมเงินผ่านทางแอปพลิเคชั่น Facebook,Line,Instagram หรือทางแอปพลิเคชั่นอื่นๆโดยไม่มีการเขียนสัญญากันไว้ สาเหตุที่ไม่ได้เขียนสัญยากันอาจเกิดจากความไว้ใจที่ผู้ให้ยืมมีให้
จึงเกิดคำถามว่า “ยืมเงินผ่าน Facebook,Line สามารถฟ้องคดีได้หรือไม่”
การทักขอยืมเงินผ่านแชท หรือแชทไลน์ สามารถนำมาใช้เป็นหลักฐานในการฟ้องร้องได้ แม้จะไม่ได้มีการทำหนังสือกู้ยืมเงิน เป็นลายลักษณ์อักษรก็ตาม
เพราะการกู้ยืมเงินกันผ่านแอปพลิเคชั่นเฟซบุ๊กหรือไลน์นั้น ถือว่าได้มีหลักฐานเป็นหนังสือตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว
โดยนำพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544
ตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 บัญญัติว่า “ห้ามมิให้ปฏิเสธความมีผลผูกพันและการบังคับใช้ทางกฎหมายของข้อความใดเพียงเพราะเหตุที่ข้อความนั้นอยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” ดังนั้น โดยผลของกฎหมายตามมาตรา ๗ ดังกล่าว ผู้กู้ยืมเงินจึงไม่อาจที่จะปฏิเสธความผูกพันกับผู้ให้กู้ยืมเงินตามข้อความที่มีการสื่อสารส่งข้อความสื่อสารกันผ่านทางไลน์ (LINE) หรือทางเฟสบุ๊ค (Facebook) ซึ่งตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ยังได้บัญญัติให้การจัดทำข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเข้าถึงและนำกลับมาให้ได้โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลง และให้ถือว่าข้อความนั้น เป็นหนังสือ มีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือมีเอกสารมาแสดงแล้ว ตามมาตรา 8 วรรคแรก บัญญัติว่า “ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งมาตรา 9 ในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้การใดต้องทำเป็นหนังสือ มีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือมีเอกสารมาแสดง ถ้าได้มีการจัดทำข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเข้าถึงและนำกลับมาใช้ได้โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลง ให้ถือว่าข้อความนั้นได้ทำเป็นหนังสือ มีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือมีเอกสารมาแสดงแล้ว” โดยผลของกฎหมาย จึงถือได้ว่า ข้อความที่ผู้กู้ยืมเงินและผู้ให้กู้ยืมเงินได้สื่อสารขอกู้ยืมเงินกันโดยผ่านการส่งข้อความสื่อสารกันผ่านทางไลน์ (LINE) หรือทางเฟสบุ๊ค (Facebook) นั้น ได้ทำเป็นหนังสือต่อกันระหว่างผู้ให้กู้ยืมเงินกับผู้กู้ยืมเงินแล้ว และทั้งคู่ต่างก็ยินยอมและสมัครใช้แอพพลิเคชั่นดังกล่าว ด้วยวิธีการระบุ อักษร อักขระ ตัวเลข เสียงหรือสัญลักษณ์อื่นใดที่ผู้กู้ยืมเงินและผู้ให้กู้ยืมเงินได้สร้างขึ้น ให้อยู่ในรูปแบบของอิเล็กทรอนิคส์ เพื่อระบุตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของการใช้แอพพลิเคชั่นนั้น และเพื่อแสดงว่าบุคคลดังกล่าวยอมรับข้อความในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นด้วย จึงถือได้ว่าผู้กู้ยืมเงินและผู้ให้กู้ยืมเงินได้ลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในการส่งข้อความสื่อสารกันผ่านทางไลน์ (LINE) หรือทางเฟสบุ๊ค (Facebook) แล้ว ซึ่งตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มาตรา 9 บัญญัติว่า “ในกรณีที่บุคคลพึงลงลายมือชื่อในหนังสือ ให้ถือว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น มีการลงลายมือชื่อแล้ว ถ้า (1) ใช้วิธีการที่สามารถระบุตัวเจ้าของลายมือชื่อ และสามารถแสดงได้ว่าเจ้าของลายมือชื่อรับรองข้อความในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นว่าเป็นของตน และ (2) วิธีการดังกล่าวเป็นวิธีการที่เชื่อถือได้โดยเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของการสร้างหรือส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยคำนึงถึงพฤติการณ์แวดล้อมหรือข้อตกลงของคู่กรณี วิธีการที่เชื่อถือได้ตาม (2) โดยให้คำนึงถึง
(2.1) ความมั่นคงและรัดกุมของการใช้วิธีการหรืออุปกรณ์ในการระบุตัวบุคคล สภาพพร้อมใช้งานของทางเลือกในการระบุตัวบุคคล กฎเกณฑ์เกี่ยวกับลายมือชื่อที่กำหนดไว้ในกฎหมายระดับความมั่นคงปลอดภัยของการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ การปฏิบัติตามกระบวนการในการระบุตัวบุคคลผู้เป็นสื่อกลาง ระดับของการยอมรับหรือไม่ยอมรับ วิธีการที่ใช้ในการระบุตัวบุคคลในการทำธุรกรรม วิธีการระบุตัวบุคคล ณ ช่วงเวลาที่มีการทำธุรกรรมและติดต่อสื่อสาร
(2.2) ลักษณะ ประเภท หรือขนาดของธุรกรรมที่ทำ จำนวนครั้งหรือความสม่ำเสมอในการทำธุรกรรม ประเพณีทางการค้าหรือทางปฏิบัติ ความสำคัญ มูลค่าของธุรกรรมที่ทำ หรือ
(2.3) ความรัดกุมของระบบการติดต่อสื่อสาร ให้นำความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับกับการประทับตราของนิติบุคคลด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ด้วยโดยอนุโลม”
แชทจะเป็นหลักฐานอย่างไร
จากข้อความดังกล่าวถูกตีความว่า แชทที่สามารถใช้เป็นหลักฐานแทนหนังสือ ต้องมีองค์ประกอบดังนี้
1.ข้อความแชท (Chat) ที่ระบุข้อความขอยืมเงิน จำนวนเงิน และเห็นบัญชีผู้ใช้ว่าเป็นใครมาขอยืมเงิน
2.บัญชีผู้ใช้ของผู้ยืมเงิน (Account) ในแชทจะต้องสามารถระบุชื่อบัญชีผู้ใช้ของผู้ยืมเงิน และเป็นข้อมูลชื่อบัญชีผู้ใช้ที่มีระบบปลอดภัยและเชื่อถือได้
3.หลักฐานการโอนเงิน (Slip) ที่ระบุ วันเวลาที่โอนเงิน ไม่แก้ไขวันเวลารับส่งข้อความ
หากมีหลักฐานดังที่กล่าวมา ถือเป็นหนังสือใช้เป็นหลักฐานในการฟ้องศาลได้
อายุความฟ้องคดีกู้ยืมเงิน
10ปี ต้องฟ้องภายใน 10 ปี นับแต่วันถึงกำหนดชำระเงินกู้ยืมคืน
5ปี สำหรับสัญญากู้ มีกำหนดชำระเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยเป็นงวดๆ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6757/2560 จำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์ 595,500 บาท ตกลงชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือน จำเลยได้รับเงินที่กู้ยืมครบถ้วนแล้ว หลังจากทำสัญญาจำเลยไม่ชำระต้นเงิน คงชำระดอกเบี้ย 4 ครั้ง รวมเป็นเงิน 6,550 บาท การที่โจทก์ส่งข้อความทางเฟสบุ๊คถึงจำเลยมีใจความว่า เงินทั้งหมด 670,000 บาท ไม่ต้องส่งคืน ยกให้หมด ไม่ต้องส่งดอกอะไรมาให้ จะได้ไม่ต้องมีภาระหนี้สินติดตัว การส่งข้อมูลดังกล่าวเป็นการสนทนาผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ถือว่าเป็นการส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ จึงต้องนำ พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 มาตรา 7 ถึง มาตรา 9 มาใช้บังคับด้วย แม้ข้อความนี้จะไม่มีการลงลายมือชื่อโจทก์ก็ตาม แต่การส่งข้อความทางเฟสบุ๊คจะปรากฏชื่อผู้ส่งด้วยและโจทก์ก็ยอมรับว่าได้ส่งข้อความถึงจำเลยจริง ข้อความการสนทนาดังกล่าวจึงรับฟังได้ว่า เป็นการแสดงเจตนาปลดหนี้ให้แก่จำเลยโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ. มาตรา 340 แล้ว หนี้ตามสัญญากู้ยืมย่อมระงับ จำเลยไม่ต้องรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงิน 731,850 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 12 ต่อปี ของต้นเงิน 595,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษากลับว่า ให้จำเลยชำระเงิน 595,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 12 ต่อปี นับตั้งแต่วันที่ 26 สิงหาคม 2556 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ โดยให้หักดอกเบี้ย 6,550 บาท ออกจากดอกเบี้ยที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์ ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลให้เป็นพับ
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2556 จำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์ 595,000 บาท ตกลงชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือน จำเลยได้รับเงินที่กู้ยืมครบถ้วนแล้ว หลังจากทำสัญญาจำเลยไม่ชำระต้นเงิน คงชำระดอกเบี้ย 4 ครั้ง รวมเป็นเงิน 6,550 บาท
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า จำเลยต้องรับผิดชำระเงินกู้ยืมพร้อมดอกเบี้ยตามฟ้องหรือไม่ เห็นว่า ข้อความที่โจทก์ส่งถึงจำเลยทางเฟสบุ๊ค มีใจความว่า เงินทั้งหมด 670,000 บาท ไม่ต้องส่งคืนให้แล้ว ยกให้หมดไม่ต้องส่งดอกอะไรมาให้ จะได้ไม่ต้องมีภาระหนี้สินติดตัว การส่งข้อมูลดังกล่าวเป็นการสนทนาผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ถือว่าเป็นการส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์จึงต้องนำพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 มาใช้บังคับด้วย ตามมาตรา 7 บัญญัติว่า ห้ามมิให้ปฏิเสธความมีผลผูกพันและการบังคับใช้ทางกฎหมายของข้อความใดเพียงเพราะเหตุที่ข้อความนั้นอยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และมาตรา 8 บัญญัติว่า ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งมาตรา 9 ในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้การใดต้องทำเป็นหนังสือ มีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือมีเอกสารมาแสดง ถ้าได้มีการจัดทำข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเข้าถึงและนำกลับมาใช้ได้โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลง ให้ถือว่าข้อความนั้นได้ทำเป็นหนังสือ มีหลักฐานเป็นหนังสือหรือมีเอกสารมาแสดงแล้ว ดังนั้นข้อความดังกล่าวที่โจทก์ส่งถึงจำเลยทางเฟสบุ๊ค แม้จะไม่มีการลงลายมือชื่อโจทก์ก็ตามแต่การส่งข้อความของโจทก์ทางเฟสบุ๊คจะปรากฏชื่อผู้ส่งด้วยและโจทก์ก็ยอมรับว่าได้ส่งข้อความดังกล่าวทางเฟสบุ๊คถึงจำเลยจริง ข้อความการสนทนาดังกล่าวจึงรับฟังได้ว่าเป็นการแสดงเจตนาปลดหนี้ให้แก่จำเลยโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 340 แล้ว หนี้ตามสัญญากู้ยืมย่อมระงับ ที่โจทก์อ้างว่า โจทก์ไม่มีเจตนาที่จะปลดหนี้ให้จำเลย แต่ทำไปเพราะความเครียดต้องการประชดประชันจำเลยนั้นโจทก์ไม่อาจยกเหตุดังกล่าวขึ้นอ้างเพื่อให้เจตนาที่แสดงออกไปนั้นตกเป็นโมฆะ เพราะไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยได้รู้ถึงเจตนาที่ซ่อนอยู่ภายในของโจทก์ พยานหลักฐานของจำเลยมีน้ำหนักให้รับฟังได้มากกว่าพยานหลักฐานของโจทก์ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าจำเลยได้รับการปลดหนี้จากการกู้ยืมเงินตามสัญญากู้ยืมเงินแล้ว จำเลยไม่ต้องรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษามานั้นไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยฟังขึ้น
พิพากษากลับ ให้ยกฟ้องโจทก์ ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลให้เป็นพับ
บริษัท ดี.บี.คอร์ปอร์เรชั่น จำกัด มีบริการติดตามทวงถาม ฟ้องคดี และ บังคับคดี ถ้าหากท่านไม่สามารถดำเนินการกับลูกหนี้ได้ เรายินดีให้คำปรึกษาฟรี!!! ไม่มีค่าใช้จ่าย
สนใจติดต่อ
Tel. : 066-117-1135
Line : @dbcorp
Facebook : สำนักงานประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ บริษัท ดี.บี.คอร์ปอร์เรชั่น จำกัด
ถ้าหากท่านมีความสนใจหรืออยากเรียนรู้หรืออยากประกอบอาชีพเกี่ยวกับการบังคับคดี ทางบริษัทเราเปิดคอร์สหลักสูตรนักบังคับคดี
สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่
Tel. : 066-117-1135
Line : @dbcorp
Facebook : ศูนย์ฝึกอบรมหลักสูตรวิชาชีพการบังคับคดี