
รู้หรือไม่ กรมบังคับคดีสามารถยึดที่ดินของลูกหนี้ที่ครอบครองร่วมกับผู้อื่นได้
ท่านเจ้าหนี้หลายๆ ท่านคงจะรู้กันแล้วใช่ไหมคะว่ากรมบังคับคดีสามารถยึดที่ดินที่ลูกหนี้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ได้ แต่ถ้าหากที่ดินฝืนนั้นมีผู้ถือครองหลายคนล่ะ สามารถทำอย่างไรได้บ้าง หาคำตอบได้จากบทความนี้เลยค่ะ
ขออนุญาตเท้าความก่อนนะคะว่าท่านเจ้าหนี้เมื่อมีคำพิพากษาแล้วสามารถยึดอะไรได้บ้าง
เบื่องต้นสามารถยึด
– ของมีค่า เครื่องประดับทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น เพชร พลอย นาฬิกาและของสะสมที่มีมูลค่า
– บ้าน ที่ดิน และถึงแม้ว่าจะยังติดจำนองอยู่ก็สามารถที่จะยึดได้เช่นกัน
– รถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของลูกหนี้ และไม่ได้เป็นเครื่องมือในการประกอบอาชีพ
– เงินในบัญชีเงินฝาก หรือเงินปันผลจากการลงทุน
– ทรัพย์สินที่เป็นการลงทุน อาทิ หุ้น ทองคำ เป็นต้น
การขอยึดที่ดินของลูกหนี้ที่ครอบครองร่วมกับผู้อื่น แบ่งออกได้เป็น 2 กรณี
กรณีที่ 1 ที่ดินของลูกหนี้ที่แบ่งเขตการครอบคครองกันอย่างชัดเจน สามารถพิสูจน์ได้
คำตอบคือ สามารถยึดเฉพาะส่วนของลูกหนี้ได้เลย แต่ถ้าหากลูกหนี้นั้น มีเจ้าหนี้ตามคำพิพากษารายอื่น ก็จะชำระให้เจ้าหนี้รายอื่นก่อนส่วนที่เหลือถึงจะนำมาชำระให้เราค่ะ
กรีณีที่ 2 ที่ดินของลูกหนี้ที่ไม่ได้แบ่งเขตการครอบคครองกันอย่างชัดเจน
คำตอบคือ สามารถยึดได้ค่ะ โดยการทำเรื่องให้เจ้าหน้าที่กรมบังคับคดียึดทั้งไร่ และนำไปขายทอกตลาด และจะแบ่งเงินออกเป็น 2 ส่วนเท่าๆ กัน (กรณีที่มีผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกัน 2 คน) และแบ่งเงินให้ผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ไม่ใช่ลูกหนี้ก่อน และเงินอีกส่วนก็จะนำมาชำระหนี้