
การอายัดเงินเดือนคืออะไร
อายัดเงินเดือน คืออะไร
ท่านอาจจะเคยได้ยินคำว่า “อายัดเงินเดือน” กันมาบ้าง ยกตัวอย่างเช่นหลายๆบทความที่ผ่านมาของเราก็คงสงสัยกันใช่ไหมคะว่าต้องทำอย่างไรและมีข้อจำกัดอย่างไรบ้าง ซึ่งการอายัดเงินเดือนนั้นเป็นหนึ่งในทางเลือกที่เจ้าหนี้หลายๆท่านใช้ในการเรียกเงินคืนจากลูกหนี้ มาดูกันดีกว่าค่ะว่า “การอายัดเงินเดือนคืออะไร”
การอายัดเงินเดือน
เมื่อศาลมีคำพิพากษาให้เจ้าหนี้ชนะคดี หากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษาภายใน 30 วัน เจ้าหนี้มีสิทธิอายัดสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ได้ โดยตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อออกหมายอายัดต่อไป
การอายัดเงินเดือน โบนัส ค่าตอบแทนต่างๆ หากเจ้าหนี้รายแรกขออายัดเงินเดือนแล้ว เจ้าหนี้รายอื่นจะทำเรื่องขออายัดซ้ำไม่ได้ ต้องรอคิวให้รายแรกอายัดครบก่อน หรืออาจจะขอหารส่วนแบ่งเงินที่ถูกอายัดจากเจ้าหนี้รายแรกก็ได้ ถ้ารอก็จะรอได้ไม่เกิน 10 ปี หากเกิน 10 ปีก็จะหมดอายุความ
หลักเกณฑ์ในการอายัดเงินเดือน
- เงินเดือน ค้าจ้าง บำเหน็จ บำนาญ ของ “ข้าราชการ” ไม่สามารอายัดได้
- ลูกหนี้ที่เป็นพนักงานสามรถยาอัดได้ แต่ต้องมีเงินเดือนมากกว่า 20,000 บาท จะสามารถยึดได้ทั้งหมดแต่ต้องเหลือไม่น้อยกว่า 20,000 บาท
- เงินโบนัส อายัดได้ไม่เกิน 50%
- เบี้ยขยัน, เงินโอที อายัดได้ไม่เกิน 30%
- เงินตอบแทนกรณีออกจากงาน บำเหน็จ ค่าชดเชย อายัดได้ แต่จำนวนต้องไม่เกิน 300,000 บาท หรือตามจำนวนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นสมควร
- บัญชีเงินฝากธนาคาร สามารถอายัดได้ทั้งหมด แต่ก็ต้องไม่เกินจำนวนหนี้ตามหมายบังคับคดี
- หุ้น สามารถอายัดได้ โดยสามารถยึดใบหุ้นเพื่อขายทอดตลาดได้ หรือถ้ามีเงินปันผล ก็จะทำเรื่องอายัดเงินปันผลได้
- ค่าเช่ารายเดือน เจ้าพนักงานบังคับคดีสามารถอายัดเงินค่าเช่าได้
เพียงเท่านี้หลายๆท่าน ก็คงจะหายสงสัยแล้วใช่ไหมคะว่าการอายัดเงินเดือนคืออะไร ถ้าหากท่านสนใจความรู้ดีๆแบบนี้ สามารถติดตามได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/dbcorpthailand
Facebook : https://www.facebook.com/profile.php?id=100094929334117
Youtibe : https://www.youtube.com/@dbcorporation635